[爆卦]ผู้ถูกกล่าวหา คือ是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇ผู้ถูกกล่าวหา คือ鄉民發文沒有被收入到精華區:在ผู้ถูกกล่าวหา คือ這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 ผู้ถูกกล่าวหา產品中有3篇Facebook貼文,粉絲數超過67萬的網紅Wannasingh Prasertkul (วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล),也在其Facebook貼文中提到, มีคนไม่หวังดี ตัดต่อรูป บิดเบือนข้อความ ป้ายที่มารีญา @marialynnehren ถือตอนไปประท้วงเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ที่ผ่านมาครับ รูปจริงคือรูปที่ป้ายเขียนว่า ...

  • ผู้ถูกกล่าวหา 在 Wannasingh Prasertkul (วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล) Facebook 的最佳貼文

    2020-11-09 12:59:36
    有 25,100 人按讚

    มีคนไม่หวังดี ตัดต่อรูป บิดเบือนข้อความ ป้ายที่มารีญา @marialynnehren ถือตอนไปประท้วงเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ที่ผ่านมาครับ รูปจริงคือรูปที่ป้ายเขียนว่า justice 4 all = ความยุติธรรมเท่าเทียมสำหรับทุกคน

    ตอนนี้ยังไม่ทราบ ว่าใครเป็นผู้เริ่มตัดต่อรูปนี้ แต่เห็นหลายเพจเริ่มกระจาย
    มีข้อมูล แจ้งมาทางผม ได้เลยครับ

    อันนี้ข้อมูลจากเวปตำรวจสันติบาล เกี่ยวกับพรบ.คอมพิวเตอร์ 2560

    "การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น มีกฏหมายอาญาอยู่แล้ว ไม่มีข้อมูลจริง หรือถูกตัดต่อ ผู้ถูกกล่าวหา เอาผิดผู้โพสต์ได้ และมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท"

    ช่วยกันกระจายข้อมูลที่ถูกต้องด้วยครับ ขอบคุณมากครับ

  • ผู้ถูกกล่าวหา 在 Joe Chonlawit : Eat • Talk • Travel Facebook 的精選貼文

    2020-04-13 10:02:53
    有 15 人按讚

    ตัวเลขลงชื่อถอดถอน ผอ. WHO ตอนนี้เกิน 908,250 แล้ว 🤨

  • ผู้ถูกกล่าวหา 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文

    2015-03-12 22:46:07
    有 34 人按讚

    "การอธิบายในเรื่อง "การสิ้นไปของรัฐธรรมนูญ 2550 มีผลต่อการลงมติของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือไม่" ที่ผิดตรรกะ"
    นายวิชัย วิวิตเสวี กรรมการ ป.ป.ช. ให้ความเห็นกรณีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติด้วยเสียงไม่ถึงสามในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่อยู่ของสภา ให้ถอดถอนอดีตสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 38 คน ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. น้อมรับมติดังกล่าว โดยชี้ว่า ตามพระราชบัญญัติ
    ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 65 บัญญัติให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีอิสระในการออกเสียง แม้ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จะมีมติด้วยเสียงไม่ถึงสามในห้าให้ถอดถอนอดีตสมาชิกวุฒิสภาทั้ง 38 คน ออกจากตำแหน่ง แต่กระบวนการขอให้ถอดถอนอดีตสมาชิกวุฒิสภาทั้ง 38 คน ออกจากตำแหน่ง ที่มีการดำเนินการมาแต่ต้น ก็เป็นประโยชน์ในการพัฒนาประชาธิปไตย คือ การยื่นคำร้องขอให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง การชี้มูลความผิดของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตลอดจนการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ถือเป็นการให้การเรียนรู้แก่ประชาชนที่จะได้ตระหนักถึงความสำคัญของกลไกการถ่วงดุลและคานอำนาจเสียงข้างมากทางการเมืองที่รัฐธรรมนูญออกแบบไว้
    นายวิชัย วิวิตเสวี กล่าวอีกว่า ประวัติศาสตร์การพัฒนาประชาธิปไตยตลอดแปดทศวรรษที่ผ่านมาแล้วคนไทยเข้าใจประชาธิปไตยด้านเดียว คือ ประชาธิปไตยแบบเลือกตั้งหรือเสียงข้างมาก ส่วนการเหนี่ยวรั้งเสียงข้างมากไม่ให้ใช้อำนาจบาตรใหญ่และการคุ้มครองเสียงข้างน้อยให้มีที่อยู่ที่ยืนพอสมควร ซึ่งเป็นองค์ประกอบ ส่วนที่เป็นหัวใจของประชาธิปไตยเช่นกัน เกือบไม่ได้เข้าสู่การรับรู้ของคนไทย กระบวนการถอดถอนอย่างการขอให้ถอดถอนอดีตสมาชิกวุฒิสภาออกจากตำแหน่งกรณีนี้จะให้การเรียนรู้แก่คนไทยในสิ่งที่เป็นแก่นแท้ของประชาธิปไตย
    ในประเด็นนี้ ผมเห็นด้วยกับท่านวิชัย วิวิตเสวี ว่าการใช้อำนาจในการปกครองระบอบประชาธิปไตย เสียงข้างมากโดยไม่รับฟังเสียงข้างน้อย ไม่ใช่ประชาธิปไตยที่แท้จริง
    ส่วนกระบวนการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองออกจากตำแหน่งตามกฎหมายปัจจุบันต้องแยกกันระหว่าง “เขตอำนาจพิจารณา” ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในฐานะวุฒิสภาอย่างหนึ่งกับเนื้อหาของกรณีกล่าวหาว่ามีการฝ่าฝืนบทบัญญัติรั ฐธรรมนูญโดยจงใจหรือไม่อีกอย่างหนึ่ง
    “ข้อที่ว่าเมื่อรัฐธรรมนูญ 2550 สิ้นผลไปแล้ว คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะมีอำนาจไต่สวนข้อเท็จจริงหรือไม่และสภานิติบัญญัติแห่งชาติในฐานะวุฒิสภาจะมีอำนาจพิจารณาหรือไม่ เมื่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติรับกรณีขอให้ถอดถอนทำนองนี้ไว้พิจารณาหลายกรณีแล้ว ปัญหาเรื่องเขตอำนาจพิจารณาจึงไม่มีอีกแล้ว การออกเสียงของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติว่าจะถอดถอนหรือไม่ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติต้องพิจารณาเพียงว่าอดีตสมาชิกวุฒิสภาที่ถูกกล่าวหากระทำผิดหรือไม่ โดยไม่ติดค้างอยู่กับเขตอำนาจพิจารณาซึ่งยุติไปแล้ว”
    มติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่ยืนยันถึงเขตอำนาจพิจารณาของสภาดังกล่าวนี้บัดนี้มีคำพิพากษาฎีกาสนับสนุน คือ ฎีกาที่ อม.30/2557 ระหว่าง อัยการสูงสุด ผู้ร้อง นางสาวนฤมล นนทะโชติ ผู้ถูกกล่าวหา เรื่อง ขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน ซึ่งวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตพ.ศ.2542 มีการดำรงอยู่เป็นอิสระจากกัน แม้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญสิ้นผลไปแล้ว อัยการสูงสุดผู้ร้องก็ยังสามารถอาศัยบทบัญญัติพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญร้องขอให้ทรัพย์สินของผู้ถูกกล่าวหาที่ได้มาจากการร่ำรวยผิดปกติ ตกเป็นของแผ่นดินได้ จากมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติและคำพิพากษาฎีกานี้ คณะกรรมการป.ป.ช. จะยกกรณีกล่าวหาทำนองนี้ที่ค้างอยู่มาดำเนินการต่อไป
    ในประเด็นนี้ผมเห็นว่าการนำเอาคำพิพากษา ฎีกาที่ อม.30/2557 ระหว่าง อัยการสูงสุด ผู้ร้อง นางสาวนฤมล นนทะโชติ ผู้ถูกกล่าวหา เรื่อง ขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน มาอธิบายการเทียบเคียงเรื่องของอำนาจการถอดถอนกับคดีข้างต้นมาเปรียบเทียบถือว่าผิดหลักตรรกะเป็นอย่างยิ่ง มันคนละเรื่องกัน การถอดถอนมันเป็นเรื่องของวุฒิสภาในทางการเมือง ส่วนการขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินในการกระทำความผิด มันเป็นความผิดในส่วนที่เป็นความผิดกฎหมาย สามารถที่จะดำเนินต่อไปได้ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย ปปช. เพราะกฎหมายดังกล่าวยังคงอยู่ ส่วนเรื่องการถอดถอน จะอยู่ในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ 50 เมื่อรัฐธรรมนูญ 50 ถูกยกเลิกไป การถอดถอนก็คงยุติ
    แต่ถ้ามีการอ้างการถอดถอนอ้างถึงมาตรา 5 รัฐธรรมนูญ 57 ได้บอกว่าให้ใช้จารีตประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และ ให้ สนช.ใช้อำนาจสภาผู้แทนราษฎรกับวุฒิสภา คือ อ้างอำนาจถอดถอนที่มีมาในรัฐธรรมนูญ 50 น่าจะมีเหตุผลที่จะรับฟังได้มากกว่า การอ้างคำพิพากษาฎีกาข้างต้น

你可能也想看看

搜尋相關網站