雖然這篇ผลผลิตทางการเกษตร鄉民發文沒有被收入到精華區:在ผลผลิตทางการเกษตร這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章
在 ผลผลิตทางการเกษตร產品中有9篇Facebook貼文,粉絲數超過329萬的網紅อายุน้อยร้อยล้าน,也在其Facebook貼文中提到, เพราะของสดใหม่ ไม่จำเป็นต้องอยู่ในตลาดสดอีกต่อไปแล้ว! เซเว่นฯ ร้านสะดวกซื้อชื่อดัง เขาได้ยก “ตลาดสด” ไปไว้ในร้านเรียบร้อยแล้ว มีทั้งผักและผลไม้สด เพื่...
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過41萬的網紅feelthai,也在其Youtube影片中提到,พามารู้จักดอกลำดวน สัญลักษณ์ของเมืองศรีสะเกษเป็นดอกตูมมีกลีบบานอยู่ 3 ด้านสวยมากครับเวลาที่ดอกลำดวนบานก็จะมีการจัดงานเทศกาลที่จังหวัดศรีสะเกษ คลิปนี้...
「ผลผลิตทางการเกษตร」的推薦目錄
- 關於ผลผลิตทางการเกษตร 在 Somphol Rungphanit Instagram 的精選貼文
- 關於ผลผลิตทางการเกษตร 在 Kiatisuk Senamuang Instagram 的精選貼文
- 關於ผลผลิตทางการเกษตร 在 Piya Sawetpikul Instagram 的最佳貼文
- 關於ผลผลิตทางการเกษตร 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的最佳貼文
- 關於ผลผลิตทางการเกษตร 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於ผลผลิตทางการเกษตร 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於ผลผลิตทางการเกษตร 在 feelthai Youtube 的最讚貼文
ผลผลิตทางการเกษตร 在 Somphol Rungphanit Instagram 的精選貼文
2020-05-11 08:08:26
ผลผลิตทางการเกษตร ...ไม่มากมาย ให้แค่มี ...🌱...
ผลผลิตทางการเกษตร 在 Kiatisuk Senamuang Instagram 的精選貼文
2020-05-09 16:53:32
ขอบคุณมากนะครับ ผลผลิตทางการเกษตร ทุเรียนหมอนทอง ที่ถูกลำเลียงผ่านถนนจิตอาสาพระราชทานร่วมใจ จากการบริจาคที่ดินของชาวบ้าน ส่งมาถึง กทม. เป็นทุเรียนที่ม...
ผลผลิตทางการเกษตร 在 Piya Sawetpikul Instagram 的最佳貼文
2020-05-10 16:40:14
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ เสด็จงานกิจกรรมประจำปี "ทุ่งทานตะวัน ณ บ้านระไซร์ ครั้งที่2" 14 - 28 ก.พ.60 ที่ศูนย์เรียนรู้การเกษตรอทิตยาท...
-
ผลผลิตทางการเกษตร 在 feelthai Youtube 的最讚貼文
2020-03-15 11:22:45พามารู้จักดอกลำดวน สัญลักษณ์ของเมืองศรีสะเกษเป็นดอกตูมมีกลีบบานอยู่ 3 ด้านสวยมากครับเวลาที่ดอกลำดวนบานก็จะมีการจัดงานเทศกาลที่จังหวัดศรีสะเกษ คลิปนี้ถ่ายจาก สวนสมเด็จที่เมืองศรีสะเกษครับ
ททท. ขอเชิญร่วมชื่นชมเทศกาลดอกลำดวนบานสืบสานประเพณีสี่เผ่า ไทศรีสะเกษ ประจำปี 2563
อารยธรรมแห่งศรัทธา มนตรา ศรีพฤทเธศวร" ตอน สืบราชมรรคา ศรีชยราชา ชัยวรมันที่ 7
จังหวัดศรีสะเกษ องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
ขอเชิญเที่ยวงาน "เทศกาลดอกลำดวนบาน สืบสานประเพณีสี่เผ่า ไทศรีสะเกษ ประจำปี 2563 ระหว่างวันที่ 11-15 มีนาคม 2563 ณ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า การจัดงานเทศกาลดอกลำดวนบาน สืบสาน
ประเพณีสี่เผ่า ไทศรีสะเกษ ประจำปี 2563 ซึ่งปีนี้ปีที่ 2 การจัดงานทั้งหมด 5วัน โดยไฮไลต์อยู่ในภาคกลางคืน
ชมการแสดง "จินตลีลา ประกอบการแสดง แสง สี เสียง เรื่องอารธรรมแห่งศรัทธา มนตรา ศรีพฤทเธศวร
ตอนสืบราชมรรค ศรีชยราชา ชัยวรมันที่ 7" ที่ยิ่งใหญ่อลังการในระบบ 3 มิติ แสดงโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
ผู้ชมจะได้สัมผัสอารยธรรมและประวัติควมเป็นมาของจังหวัดศรีสะเกษ ย้อนตำนานการสร้างเมืองศรีสะเกษ เริ่มการแสดงเวลา 19.00 น. วันที่ 13-15 มีนาคม 2563 ชมฟรีทั้ง 3 คืน ซึ่งถือเป็นโรงละครธรรมชาติที่สวยงามรายล้อมด้วยกลิ่นหอมดอกลำดวน ดอกไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษ
นายวิชิศ ไตสรณกุล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า ในการจัดงานครั้งนี้
โดยภาคกลางวัน วันที่ 11-15 มีนาคม 2563 เวลา 10.00น. เป็นต้นไป นักท่องเที่ยวจะได้เที่ยวชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระศรีนครินทร์ทราบรมราชชนนี การแสดงประเพณี ศิลปะ วัฒนธรรม วิถีชีวิตของชน 4 เผ่าไทศรีสะเกษ จำหน่ายและสาธิตอาหารพื้นเมือง นิทรรศการภาพเขียน งานศิลปะ ของศิลปินท้องถิ่น การประกวดผลิตภัณฑ์พื้นเมือง สินค้า OTOP ผลผลิตทางการเกษตร ถ่ายรูปติดแสตมป์ที่ระลึก และอื่นๆอีกมากมาย
ผลผลิตทางการเกษตร 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的最佳貼文
เพราะของสดใหม่ ไม่จำเป็นต้องอยู่ในตลาดสดอีกต่อไปแล้ว! เซเว่นฯ ร้านสะดวกซื้อชื่อดัง เขาได้ยก “ตลาดสด” ไปไว้ในร้านเรียบร้อยแล้ว มีทั้งผักและผลไม้สด เพื่อตอบโจทย์สำหรับคนเมืองที่อยากทำอาหารทานเอง แต่ชีวิตเต็มไปด้วยความเร่งรีบ ไม่มีเวลา ออกไปทำงานแต่เช้า กลับมาอีกทีก็มืดค่ำตลาดวายก่อน อย่างมากก็แค่ซื้อของสำเร็จรูปไปทานก็เท่านั้น
.
โดยผักและผลไม้สดที่ว่า ก็มีตั้งแต่ หอม พริก มะนาว กะหล่ำปลี ฟักทอง แครอท ผักชี ต้นหอม มะเขือเทศ กล้วย ข้าวโพด ฯลฯ แต่เป็นการแบ่งขายเป็นแพ็คขนาดเล็ก ที่ซื้อไปทำอาหารเป็นมื้อๆ ซึ่งช่วยลดปัญหาเวลาที่ซื้อผักทีละมากๆ แล้วมันเน่าเสียก่อนใช้หมด นอกจากนี้ ยังมีการจัดผักเป็นชุดเมนู เพื่อให้ผู้บริโภคไม่ต้องหาวัตถุดิบทีละอย่าง หยิบแค่เพียงแพ็คเดียวก็สามารถทำเมนูได้หนึ่งอย่าง แกงหนึ่งหม้อ เช่น ชุดเครื่องต้มยำ เป็นต้น ในส่วนของราคาจึงอาจสูงกว่าตามท้องตลาดเล็กน้อย เนื่องจากเป็นผักปลอดสารพิษ และมีตัวเลือกไม่หลากหลายเท่าท้องตลาด แต่จะเป็นผักผลไม้ที่ผู้บริโภคนิยมรับประทานเท่านั้น
.
ซึ่งทั้งหมดนี้ ล้วนส่งตรงมาจากสวนของเกษตรกรทั้งสิ้น เพื่อเพิ่มช่องทางการขายให้ผลผลิตของเกษตรกรไทย ขายได้และไม่เน่าเสียก่อน ทั้งยังเป็นการช่วยสนับสนุนให้เกษตรกรมีรายได้ ไม่ตกงาน รวมถึงคนเมืองเอง ก็ยังได้รับประทานผักและผลไม้ที่สดใหม่ มีคุณภาพ ปลอดภัย ไร้สารเคมี
.
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น จะเห็นว่า การจำหน่ายผักและผลไม้ของเซเว่นฯ จะเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2557 แต่จนถึงปัจจุบัน ก็ไม่ได้มีขายทุกสาขาของเซเว่นฯ แต่จะมีเพียงบางสาขาเท่านั้น เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายของเซเว่นฯ คือ เน้นผู้ที่พักอาศัยอยู่บนคอนโด ทำอาหารไม่บ่อย หรือถ้าทำก็เป็นเพียงมื้อเล็ก ๆ ส่งผลให้ส่วนใหญ่จะจำหน่ายในร้านสาขาที่ใกล้กับคอนโดเป็นหลัก
.
ซึ่งไม่แน่ ในอนาคตเซเว่นฯ อาจพัฒนาเพิ่มไปอีกขั้น โดยการส่งผักและผลไม้ไปจำหน่ายทั่วทุกสาขาในประเทศไทย หากเป็นเช่นนั้นจริงก็นับว่าเป็นเรื่องที่ดีสำหรับเกษตรกรไทย ที่จะมีช่องทางการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรของตนเองเพิ่มอีกหนึ่งช่องทาง ส่วนคนเมือง ชาวหอพัก คอนโด รวมถึงคนทำงานกลางคืน ก็จะมีอีกหนึ่งทางเลือกให้สามารถซื้อผักและผลไม้ได้ง่ายขึ้น
.
แต่ในอีกแง่หนึ่ง สำหรับเซเว่นฯ การนำผักและผลไม้สดมาจำหน่ายในร้าน นับว่าเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง เนื่องจากคนทั่วไปยังรู้สึกว่า ของสดใหม่ที่แท้จริง ต้องอยู่ในตลาดสดเท่านั้น อีกทั้งในตลาดยังมีความหลากหลายมากกว่า เพราะไม่ได้มีแค่ผัก ผลไม้เท่านั้น แต่ยังมีอาหารสด เช่น เนื้อสัตว์ อาหารทะเล รวมถึงอาหารสำเร็จรูปด้วย
.
ซึ่งเราต้องมารอดูกันว่า เซเว่นฯ จะขยายสาขาไปได้มากกว่านี้ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ ที่ไม่ใช่คนคอนโดได้หรือไม่? และที่สำคัญเซเว่นฯ จะทำอย่างไรเพื่อดึงผู้บริโภคให้มาซื้อของสดที่ร้านได้มากกว่าการไปตลาดสด
.
แล้วถ้าเป็นคุณล่ะ! หากเซเว่นฯ ใกล้บ้าน มีผักและผลไม้สดจำหน่ายเช่นเดียวกับตลาด คุณจะเลือกซื้อที่ไหน ระหว่าง เซเว่นฯ หรือ ตลาดสด ? เพราะอะไร ?
.
ที่มา : https://news.mthai.com/general-news/690815.html
https://cooking.kapook.com/view203283.html
.
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan #อายุน้อยร้อยล้านNEWS #ร้านเซเว่น #seveneleven #เซเว่นอีเลฟเว่น #ผักผลไม้ #เกษตรกรไทย #ผลผลิตทางการเกษตร #รีวิวเซเว่น #คนเมืองยุคใหม่
ผลผลิตทางการเกษตร 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
จุดอ่อน ของการชี้วัดเศรษฐกิจ ด้วย GDP /โดย ลงทุนแมน
ถ้าพูดถึงเรื่องเศรษฐกิจ คำแรกๆ ที่เราจะได้ยิน
คงหนีไม่พ้น คำว่า “GDP”
GDP ย่อมาจาก Gross Domestic Product
ซึ่งแปลเป็นไทยว่า “ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ”
คือ มูลค่าตลาดของสินค้า และบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตในประเทศในช่วงเวลาหนึ่งๆ
แม้ GDP จะถือเป็นตัวชี้วัดที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
ในการวัดขนาด และการเติบโตทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า วิธีวัดแบบนี้จะดี จนไม่มีจุดอ่อนเลย
แล้วจุดอ่อน ของการชี้วัดเศรษฐกิจ ด้วย GDP คืออะไร?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
แนวคิดเรื่อง GDP ถูกนำมาพัฒนาอย่างจริงจัง
ในปี 1934 โดย Simon Kuznets นักเศรษฐศาสตร์ชาวรัสเซียผู้อพยพไปยังสหรัฐอเมริกา
โดยหลักการคำนวณ GDP จะนับมูลค่าขั้นสุดท้ายของสินค้าหรือบริการที่เกิดขึ้นภายในประเทศทั้งหมด
ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือคนต่างด้าวที่มาทำงานในประเทศ ผลผลิตหรือรายได้ที่คนเหล่านั้นผลิตได้ จะถูกนำไปคำนวณใน GDP ด้วย
จริงๆ แล้ว GDP สามารถวัดได้จากทั้งด้านรายได้ และด้านของรายจ่าย
แต่เนื่องด้วยการวัดทางด้านรายจ่าย เป็นวิธีที่เป็นพื้นฐาน และทำได้ง่ายกว่า
เราจึงสามารถบอกได้ว่า รายจ่ายในด้านต่างๆ ที่มารวมเป็น GDP สามารถเขียนเป็นสมการได้คือ
GDP = C+I+G+(X-M)
C = Consumption
คือ รายจ่ายเพื่อบริโภค หรือ การจับจ่ายใช้สอยของประชาชน
I = Investment
คือ รายจ่ายเพื่อการลงทุน เช่น การลงทุนของบริษัทต่างๆ ในประเทศ
G = Government Spending
คือ รายจ่ายของรัฐบาล เช่น การลงทุนโครงการต่างๆ ของภาครัฐ
X-M = Exports – Imports หรือ การส่งออกสุทธิ
คือ มูลค่าการส่งออกของประเทศ หักด้วย มูลค่าการนำเข้าของประเทศ
โดยถ้าหากตัวเลข GDP ที่คำนวณออกมา
ของไตรมาสนั้นหรือปีนั้น สูงกว่าช่วงเวลาก่อนหน้าที่นำมาเปรียบเทียบ
ก็จะถือว่า เศรษฐกิจ เกิดการขยายตัว
แต่ถ้าหากน้อยกว่า ช่วงเวลาก่อนหน้าที่นำมาเปรียบเทียบ
ก็จะถือว่า เศรษฐกิจ เกิดการหดตัว นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม แม้การใช้ GDP วัดขนาดเศรษฐกิจ
หรือการเติบโตทางเศรษฐกิจ จะเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า การวัดแบบนี้ จะ Perfect ในทุกด้าน
แล้วอะไร ที่เป็นจุดอ่อนของการวัดเศรษฐกิจ ด้วย GDP?
1. GDP ไม่ได้คำนึงถึงเรื่องการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม
GDP เป็นการรวมรายได้ของทุกคนในประเทศ โดยไม่ได้สนใจว่า ใครมีรายได้มากน้อยแค่ไหน
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ
กรณีของประเทศไทย ที่มีมูลค่า GDP ประมาณ 16 ล้านล้านบาท ในปี 2019
ซึ่งมูลค่าประมาณ 48% จาก 16 ล้านล้านบาทนั้น กระจุกตัวอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
และถ้ายิ่งเจาะไปที่ 10 ตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศไทย ซึ่งมีทรัพย์สินรวมกันกว่า 3.3 ล้านล้านบาท
ก็จะคิดเป็นประมาณ 1 ใน 5 ของมูลค่า GDP ทั้งประเทศไทย เลยทีเดียว
2. GDP ไม่ได้คำนึงถึงเรื่อง คุณภาพของสภาพแวดล้อมและทรัพยากรที่เสื่อมโทรม
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในเรื่องนี้ คือ อินเดีย และจีน
2 ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 2 และ 6 ของโลก
โดยจีนมีมูลค่า GDP กว่า 444 ล้านล้านบาท ขณะที่อินเดียมีมูลค่า GDP กว่า 78 ล้านล้านบาท
ในช่วงระหว่างปี 2000-2019
จีนมี GDP เติบโตปีละ 9%
ขณะที่อินเดียมี GDP เติบโตปีละ 6.5%
ซึ่งเป็น 2 ประเทศที่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก
แต่รู้ไหมว่า ทั้งจีนและอินเดียคือ ประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มากที่สุดเป็นอันดับที่ 1 และ 3 ของโลก
ปริมาณที่เพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เพียงแต่ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้น แต่ยังกระทบต่อระบบนิเวศ ผลผลิตทางการเกษตร และสุขภาพของประชากรในประเทศอีกด้วย
3. GDP ไม่ได้คำนึงถึงเรื่องความสุขทางจิตใจ ของคนในประเทศ
กรณีศึกษาของประเด็นนี้ คือ ประเทศญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีมูลค่า GDP กว่า 147 ล้านล้านบาท
ใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของโลก
รายได้เฉลี่ยของคนญี่ปุ่นอยู่ที่คนละประมาณ 1.2 ล้านบาทต่อปี ทำให้ญี่ปุ่นถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ประชากรมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีมากเมื่อเทียบกับหลายประเทศ
แต่รู้ไหมว่า ในปี 2017 ญี่ปุ่นเป็นประเทศหนึ่งที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงมากเป็นอันดับที่ 7 ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว และปัญหาดังกล่าวก็ยังคงดำเนินต่อมาจนถึงปัจจุบัน
เฉพาะแค่เดือนตุลาคมปี 2020 ญี่ปุ่นมีจำนวนคนที่ฆ่าตัวตาย มากถึง 2,153 คน ซึ่งแทบไม่ต่างจากจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดของญี่ปุ่นจากโควิด 19
และอีกปัญหาทางสังคมของญี่ปุ่นอย่าง “ฮิคิโคโมริ ซินโดรม” หรือโรคกลัวการเข้าสังคม ซึ่งอาจเกิดมาจากการถูกกลั่นแกล้ง หรือแรงกดดันต่างๆ ทางสังคม ซึ่งมีการประเมินกันว่า มีคนญี่ปุ่นกว่า 2 ล้านคน ที่กำลังเผชิญกับโรคนี้
จากเรื่องทั้งหมดนี้
เราจะเห็นได้ว่า ถึงแม้ GDP ยังเป็นตัวชี้วัดการเติบโตเศรษฐกิจ และฐานะความเป็นอยู่ของประชากรแต่ละประเทศได้ดีกว่าตัวชี้วัดอีกหลายตัว
แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า GDP มันก็มี “จุดอ่อน” ในการนำมาใช้งาน เช่นกัน
การนำ GDP มาใช้เป็นเกณฑ์เพื่อพัฒนาประเทศเพียงมิติเดียว
มันก็อาจจะมีมุมมองด้านอื่นที่ เราอาจลืมนึกถึงไป
ถ้าให้เปรียบประเทศ เป็นครอบครัวก็คงเปรียบได้กับ
การใช้ตัววัดคือ “รายได้ของครอบครัว”
ถึงครอบครัวของเรามีรายได้มาก แต่มันไม่ได้บอกว่า การกระจายของรายได้ให้แต่ละคนในครอบครัวเป็นอย่างไร
รายได้ของครอบครัวมาก ไม่ได้แปลว่า สมาชิกทุกคนในครอบครัว ได้ทานอาหารที่ดี ได้ออกกำลังกาย ได้อยู่ร่วมกันพร้อมหน้า
และสุดท้าย รายได้ของครอบครัวที่มาก ไม่ได้หมายความว่า
เราจะมีความสุขมากตาม..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://www.pdmo.go.th/th
-https://en.wikipedia.org/wiki/Gross_domestic_product
- https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/Doc_Publication/Book_Economic2555.pdf
-https://www.pdmo.go.th/th/public-debt/debt-outstanding
-https://www.forbes.com/sites/forbespr/2019/05/08/thailands-top-50-richest-on-forbes-list-hit-speed-bump/?sh=42496f105030
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_GDP_(nominal)
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.MKTP.KD.ZG
-https://www.statista.com/statistics/271748/the-largest-emitters-of-co2-in-the-world/#:~:text=In%202018%2C%20China%20was%20the,biggest%20emitter%20the%20United%20States.
-https://edition.cnn.com/2020/11/28/asia/japan-suicide-women-covid-dst-intl-hnk/index.html
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_GDP_(nominal)_per_capita
-https://edition.cnn.com/2020/11/28/asia/japan-suicide-women-covid-dst-intl-hnk/index.html
ผลผลิตทางการเกษตร 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
เปรู ประเทศที่เคย “รวย” กว่าไทย /โดย ลงทุนแมน
เปรู ครั้งหนึ่งเคยเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิอินคา
มีอารยธรรมที่ก้าวหน้าในช่วงยุคกลาง
และอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งแร่เงินและแร่ทองแดง
แต่แล้ว ความร่ำรวยก็ทำให้อาณาจักรอินคามาพบกับจุดจบ
เมื่อมหาอำนาจตะวันตกในยุคกลางอย่าง “สเปน” เข้ายึดครองอาณาจักรแห่งนี้
ทั้งอาวุธและโรคร้ายอย่างไข้ทรพิษที่สเปนนำเข้ามา ทำให้ชาวพื้นเมืองลดลง
จนอาณาจักรล่มสลาย..
เปรูตกเป็นอาณานิคมของสเปนเป็นระยะเวลาเกือบ 300 ปี จนได้รับเอกราชในปี ค.ศ. 1821
แม้จะถูกเจ้าอาณานิคมกอบโกยทรัพยากรไปอย่างมหาศาล
แต่ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ
ทำให้สินค้าส่งออกหลักอย่างแร่เงินและแร่ทองแดง
ยังคงสร้างรายได้ให้กับชาวเปรูต่อมาอีกนาน
นอกจากแร่ธาตุแล้ว เปรูยังมีป่าไม้ ผลผลิตทางการเกษตร
และการประมงจากชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก
รู้หรือไม่ว่า เมื่อ 60 ปีที่แล้ว คนเปรูมี GDP ต่อหัวมากกว่าคนไทย 2.5 เท่า
ปี ค.ศ. 1960 GDP ต่อหัวของคนเปรูอยู่ที่ 5,340 บาทต่อปี
ในขณะที่ GDP ต่อหัวของคนไทยมีเพียง 2,140 บาทต่อปี
ปี ค.ศ. 2018 ในขณะที่ GDP ต่อหัวของคนไทยอยู่ที่ 221,100 บาทต่อปี
GDP ต่อหัวของคนเปรูอยู่ที่ 210,900 บาทต่อปี ซึ่งกลับน้อยกว่าคนไทย
อะไรที่ทำให้เศรษฐกิจของเปรูเกิดปัญหา
จนกลายเป็นประเทศที่มี GDP ต่อหัวน้อยกว่าคนไทยในที่สุด
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ ซีรีส์บทความ ประเทศที่เคย “รวย” กว่าไทย ตอนสุดท้าย เปรู
————
Blockdit แอปติดตามข่าวอันดับ 1 สำหรับคนไทย
Blockdit.com/download
————
ในช่วงทศวรรษ 1960 เปรูเป็นประเทศที่ส่งออกแร่เงินติดอันดับ Top 3 ของโลก
รวมถึงเป็นผู้นำในการส่งออกสินค้าเกษตรและประมง เช่น โกโก้ กาแฟ และปลาแอนโชวี
แต่รายได้มหาศาลกลับตกอยู่ในมือของชนชั้นนำเพียงไม่กี่กลุ่ม
ที่ดินกว่า 90% ตกอยู่ในมือคนเพียง 2%
ในปี ค.ศ. 1968 - 1975
เปรูอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหาร โดยมีผู้นำคือพลเอก Velasco Alvarado
ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ที่สูงทำให้รัฐบาลตัดสินใจดำเนินนโยบายที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ
นั่นคือ “การปฏิรูปที่ดิน”
รัฐบาลทำการยึดที่ดินจากเศรษฐีมาแจกจ่ายแก่ชาวไร่ชาวนา
แต่นโยบายนี้กลับส่งผลเสียทางเศรษฐกิจในระยะยาว
ชาวไร่ชาวนาขาดเทคโนโลยีและองค์ความรู้
ทำให้ไม่สามารถบริหารจัดการที่ดินที่ได้รับมาให้มีประสิทธิภาพได้
ผลที่ได้คือ ผลผลิตทางการเกษตรเริ่มลดลง..
รัฐบาลยังดำเนินนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมในประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้า
ด้วยการตั้งภาษีสินค้านำเข้าให้มีราคาสูง
ในช่วงแรกดูเหมือนจะประสบความสำเร็จ
เปรูเริ่มมีอุตสาหกรรมที่หลากหลายมากขึ้น อย่างสิ่งทอ
แต่ยังมีสินค้าอีกหลายอย่างที่ยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
เมื่อภาษีเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงตาม
เมื่อรวมกับวิกฤติน้ำมันในช่วงทศวรรษ 1970 ที่ทำให้ราคาน้ำมันพุ่งสูง
เปรูจึงเผชิญกับภาวะเงินเฟ้ออย่างหนัก
อัตราเงินเฟ้อปี ค.ศ. 1979 อยู่ที่ระดับ 66.7%
การใช้จ่ายเงินไปกับนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลทหาร
ทั้งการปฏิรูปที่ดิน การส่งเสริมอุตสาหกรรม และการซื้ออาวุธจากต่างประเทศในช่วงสงครามเย็น
ทำให้หนี้สาธารณะของเปรูพุ่งสูง
เศรษฐกิจที่ถดถอยนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี ค.ศ. 1980
เปรูมีการเลือกตั้ง และมีรัฐบาลพลเรือนเข้ามาบริหารประเทศ
แต่เหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัด
ปรากฏการณ์เอลนีโญในปี ค.ศ. 1982 - 1983
ทำให้พื้นที่เกษตรกรรมหลายแห่งถูกน้ำท่วมและดินถล่ม
อากาศในมหาสมุทรที่แปรปรวนทำให้อุตสาหกรรมประมงของเปรูได้รับผลกระทบ
เศรษฐกิจของเปรูถดถอยอย่างหนัก
และรัฐบาลไม่มีเงินไปใช้หนี้ สุดท้ายต้องหันไปกู้ยืม IMF
แต่ IMF ไม่ให้กู้ง่ายๆ IMF ย่อมต้องอยากได้เงินต้นคืน
ซึ่งต้องมีเงื่อนไขให้รัฐบาลที่กู้ปฏิบัติตาม
ดังนั้น รัฐบาลเปรู จึงจำเป็นต้องมีมาตรการปรับเปลี่ยนนโยบายทางเศรษฐกิจ
คือการควบคุมค่าใช้จ่าย
ลดการควบคุมราคา
และลดค่าเงินเพื่อสะท้อนกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
แต่รัฐบาลในขณะนั้น กลับละเลยมาตรการต่างๆ ของ IMF..
เพื่อพยุงเศรษฐกิจที่บอบช้ำ
รัฐบาลได้ดำเนินการตรึงราคาสินค้าจำเป็น ทั้งน้ำมัน สาธารณูปโภคและอาหาร รวมถึงตรึงค่าเงินให้คงที่
ซึ่งล้วนส่งผลเสียอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจของเปรู
ประเทศขาดแคลนเงินตราต่างประเทศอย่างหนัก
ทุนสำรองระหว่างประเทศระหว่างปี ค.ศ. 1986 - 1989 ลดลงเกือบ 4 เท่า
ท้ายที่สุด รัฐบาลก็ไม่สามารถยื้อไหว จำเป็นต้องปล่อยลอยตัวค่าเงินในที่สุด
และผลที่ตามมาก็คือ ภาวะเงินเฟ้ออย่างยิ่งยวด (Hyperinflation)
อัตราเงินเฟ้อปี ค.ศ. 1989 อยู่ที่ระดับ 3,399%
อัตราเงินเฟ้อปี ค.ศ. 1990 อยู่ที่ระดับ 7,482%
สกุลเงิน Inti ของเปรูด้อยค่าอย่างหนัก
สินค้านำเข้าราคาพุ่งสูงและขาดแคลน
ความล้มเหลวทางเศรษฐกิจทำให้กลุ่มกบฏต่อต้านรัฐบาล “Sendero Luminoso”
ออกมาก่อความวุ่นวายไปทั่วประเทศ
รัฐบาลของประธานาธิบดีเชื้อสายญี่ปุ่น Alberto Fujimori
ได้เข้ามาบริหารประเทศในช่วงปี ค.ศ. 1990
รัฐบาลได้ปรับเปลี่ยนนโยบายทางเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วน
ทั้งการขายรัฐวิสาหกิจให้เอกชนเพื่อนำเงินมาใช้หนี้
ปรับลดงบประมาณด้านต่างๆ ลดการตรึงราคาสินค้า
ดำเนินการปราบปรามกลุ่มกบฏ
ตั้งสกุลเงินใหม่ Sol แทนสกุลเงิน Inti
โดยกำหนดให้ 1 Sol = 1,000,000 Inti
และลอยตัวค่าเงินอย่างเสรี
ภาวะเงินเฟ้อจึงค่อยๆ ลดลง เศรษฐกิจของเปรูจึงเริ่มเดินหน้าต่อไปได้..
แต่อย่างไรก็ตาม การปรับลดงบประมาณด้านต่างๆ ของรัฐบาล
บวกกับรัฐบาลยังมีปัญหาในเรื่องการคอร์รัปชัน
ล้วนส่งผลให้โครงสร้างพื้นฐานของเปรูอ่อนแอ
ดึงดูดการลงทุนด้านอุตสาหกรรมจากต่างประเทศได้ไม่มากเท่าที่ควร
อุตสาหกรรมของเปรูจึงไม่หลากหลาย
จำกัดอยู่แต่เพียงอุตสาหกรรมเหมืองแร่ และอุตสาหกรรมสิ่งทอ
สินค้าส่งออกสำคัญของเปรู คือ แร่ธาตุ
คิดเป็นสัดส่วนกว่า 60% ของการส่งออกสินค้าและบริการทั้งหมด
ทำให้เศรษฐกิจเปรูต้องผันผวนไปตามราคาของสินค้าโภคภัณฑ์จำพวกแร่ธาตุต่างๆ
เมื่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ขึ้นสูง
GDP ต่อหัวของชาวเปรูก็เพิ่มขึ้น
แต่เมื่อราคาสินค้าเหล่านี้ลดลง โดยเฉพาะนับตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา
ก็ส่งผลให้ GDP ต่อหัวลดลงด้วยเช่นกัน
และในที่สุด เปรูจึงกลายเป็นประเทศที่มี GDP ต่อหัวน้อยกว่าไทย..
ตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมา
ความล้มเหลวทางเศรษฐกิจของทั้ง 8 ประเทศที่ได้กล่าวไว้ในซีรีส์บทความชุดนี้
เกิดจากปัจจัยที่แตกต่างกันออกไป
ทั้งการคอร์รัปชันอย่างหนักของผู้นำ
สงครามและความขัดแย้งภายในประเทศ
และการบริหารงานที่ผิดพลาดของผู้นำจนก่อให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจเรื้อรัง
เรื่องราวของประเทศเหล่านี้
ล้วนเป็นบทเรียนสำคัญ ให้เราได้รู้ถึงความผิดพลาดในอดีต
และวางแผนไม่ให้ประเทศไทยก้าวเดินซ้ำรอยนั้น
แต่อย่างไรก็ตาม ในห้วงเวลา 60 ปีที่ผ่านมา
บนโลกนี้ก็ยังมีอยู่ 3 ประเทศ ที่เคย “จน” กว่าไทย แล้วพัฒนาจนก้าวหน้าแซงไทยได้ที่สุด
ได้แก่ ประเทศจีน โอมาน และบอตสวานา
เรื่องราวของทั้ง 3 ประเทศจะเป็นอย่างไร
ติดตามได้ใน ซีรีส์บทความ ประเทศที่เคย “จน” กว่าไทย..
โหลดแอป Blockdit เพื่ออ่านซีรีส์ตอนก่อนหน้านี้ ได้ที่ Blockdit.com/download
————
Blockdit แอปติดตามข่าวอันดับ 1 สำหรับคนไทย
Blockdit.com/download
————
References
-https://international.ucla.edu/institute/article/19898
-https://www.worlddata.info/america/peru/inflation-rates.php
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.PCAP.CD…
-https://www.limaeasy.com/peru-info/peruvian-economy
-https://www.ceicdata.com/…/i…/peru/foreign-exchange-reserves