[爆卦]ปวดเมื่อย ภาษาจีน是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇ปวดเมื่อย ภาษาจีน鄉民發文沒有被收入到精華區:在ปวดเมื่อย ภาษาจีน這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 ปวดเมื่อย產品中有68篇Facebook貼文,粉絲數超過0的網紅,也在其Facebook貼文中提到, ฉีดยามาเมื่อวาน มีไข้ ปวดแขน ปวดเมื่อย เช้านี้ฝนตก อากาศดี น่านอนไปยาวๆ แต่… วันนี้มีสองงาน… 😅😅😅 เที่ยงครึ่ง ศูนย์ฉีดวัคซีนธรรมศาสตร์ รังสิต กับพอส ทุ...

 同時也有30部Youtube影片,追蹤數超過129萬的網紅Kan Kantathavorn,也在其Youtube影片中提到,คุณแม่มีเรื่องเล่า - คนท้องนวด เลเซอร์ โบท็อก ได้หรือไม่? คำถามที่คนท้องหลายคนสงสัย ปวดเมื่อย นวดก็อยากนวด สวยก็อยากทำแต่จะ ทำได้หรือไม่ ควรหรือไม่ค...

  • ปวดเมื่อย 在 Facebook 的精選貼文

    2021-09-25 10:28:59
    有 359 人按讚

    ฉีดยามาเมื่อวาน
    มีไข้ ปวดแขน ปวดเมื่อย
    เช้านี้ฝนตก อากาศดี น่านอนไปยาวๆ
    แต่…
    วันนี้มีสองงาน…
    😅😅😅
    เที่ยงครึ่ง ศูนย์ฉีดวัคซีนธรรมศาสตร์ รังสิต กับพอส
    ทุ่มกว่าๆ งานคอนเสิร์ตออนไลน์การกุศล กับจันทราบันเทิงศิลป์และเก้ง
    ฝากติดตามนะครับ

  • ปวดเมื่อย 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最佳貼文

    2021-09-07 08:53:33
    有 639 人按讚

    เป็นอีกข่าวดีหนึ่ง ที่ควรจะเป็นอย่างนี้ตั้งแต่แรกอยู่แล้วนะ ที่ไทยเราจะแก้ปัญหาการที่ไม่มีวัคซีน astrazeneca เพียงพอจะฉีด 2 เข็มได้ (ตามแผนที่ควรวางไว้ตั้งแต่ต้นปี) ด้วยการฉีดแอสตร้าเป็นเข็ม 1 แล้วใช้วัคซีน mRNA อย่างของ บ. ไฟเซอร์มาเป็นเข็ม 2

    ซึ่งสูตรการฉีด heterologous prime-boost แบบนี้ เป็นแบบที่นิยมทำในประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศนะครับ (สาเหตุจริงๆ มักจะเป็นจากการที่เขาพยายามหยุดใช้วัคซีน astrazeneca) โดยผ่านการศึกษา วิจัย ตีพิมพ์ และทดลองในอาสาสมัครจำนวนมากแล้ว ก่อนจะนำมาใช้เป็นนโยบายของชาติ

    รวมทั้ง สูตรวัคซีนไขว้ ไวรัลเวกเตอร์+mRNA นี้ ก็ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลกแล้ว ว่าให้สามารถทำได้ เมื่อเกิดสภาวะวัคซีนขาดแคลน

    ซึ่งคนละอย่างกับสูตรวัคซีนไขว้แบบไทยๆ ที่ทดลองทำกันเอง โดยไม่มีชาติอื่นเขาทำด้วย
    -------
    (รายงานข่าว)

    #ทำไมต้องไขว้AstraZeneca_Pfizer


    วัคซีนไขว้ (Heterologous prime-boost vaccination) หรือวัคซีน Mix & Match คือการฉีดวัคซีนต่างชนิดกันระหว่างวัคซีนเข็มที่ 1 (Primimg) และวัคซีนเข็มที่ 2 (Boosting) เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน โดยก่อนหน้านี้มีการวิจัยในโรคติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบ วัณโรค มาลาเรีย ถึงแม้ว่าจะวิจัยในระดับสัตว์ทดลอง ต่อมาในระยะหลังเริ่มมีการวิจัยวัคในโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี และอีโบลาในระดับมนุษย์

    สำหรับโควิด ไม่ได้มีจุดเริ่มต้นมาจากเหตุผลด้านไวรัสหรือภูมิคุ้มกัน แต่มาจาก 2 สาเหตุคือ หลายประเทศในยุโรปมีความกังวลต่อภาวะเกล็ดเลือดต่ำและหลอดเลือดอุดตันภายหลังได้รับวัคซีน (VITT) ซึ่งผลข้างเคียงรุนแรงของวัคซีน AstraZeneca ถึงแม้จะพบยากก็ตาม และอีกสาเหตุคือ บางประเทศประสบปัญหาความล่าช้าในการส่งมอบวัคซีน จึงอนุมัติการฉีดวัคซีนไขว้และการวิจัยไปพร้อมกัน

    ทั้งนี้ วัคซีนโควิดแบ่งตามเทคโนโลยีการผลิตเป็น 4 ชนิดหลัก ได้แก่ ชนิดสารพันธุกรรม (messenger RNA: mRNA) ชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Recombinant viral vector vaccine) ชนิดที่ทำจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อ (Protein subunit vaccine) และชนิดเชื้อตาย (Inactivated vaccine) ดังนั้น วัคซีนไขว้สูตรใหม่นี้เป็นการฉีดวัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ + ชนิดสารพันธุกรรม

    #ผลการวิจัยสูตรไขว้ในต่างประเทศ

    งานวิจัยหลักของวัคซีนไขว้ชื่อว่า Com-Cov (Comparing COVID-19 Vaccine Schedule Combination) ในสหราชอาณาจักร เป็นการศึกษาเชิงทดลองเปรียบเทียบการฉีดวัคซีน 4 สูตร ระหว่างการฉีดวัคซีน AstraZeneca หรือ Pfizer 2 เข็มตามปกติ และการฉีดวัคซีนสลับชนิด โดยฉีด AstraZeneca หรือ Pfizer ก่อน ในอาสาสมัครอายุ 50 ปีขึ้นไป เริ่มมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564

    ผลการวิจัยเบื้องต้นที่เผยแพร่ออกมาในขณะนี้เป็นการศึกษาด้านภูมิคุ้มกันและความปลอดภัย โดยการศึกษาด้านภูมิคุ้มกัน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1. ระดับภูมิคุ้มกันต่อโปรตีนหนาม (Anti-spike IgG) หลังฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ครบ 28 วัน ซึ่งคล้ายกับที่หลายคนไปเจาะเลือดตรวจระดับภูมิคุ้มกันที่โรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย และ 2. การตอบสนองของเม็ดเลือกขาวชนิด T (T cell response)


    ค่าเฉลี่ยเรขาคณิตของระดับภูมิคุ้มกันต่อโปรตีนหนามของสูตร AstraZeneca + Pfizer เท่ากับ 12,906 ELU/mL เทียบกับสูตร AstraZeneca ปกติ 1,392 ELU/mL หรือคิดเป็น 9.2 เท่า ในขณะที่สูตร Pfizer + AstraZeneca กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้น้อยกว่าสูตร Pfizer ปกติ (ค่าเฉลี่ยเรขาคณิตของระดับภูมิคุ้มกันเท่ากับ 7,133 เทียบกับ 14,080 ELU/mL หรือคิดเป็น 0.51 เท่า)


    ส่วนการตอบสนองของเม็ดเลือดขาวชนิด T ซึ่งมีบทบาทสำคัญในภูมิคุ้มกันระยะยาว สูตร AstraZeneca + Pfizer มีการตอบสนองสูงที่สุดเท่ากับ 185 SFC/106 PBMCs เปรีบเทียบกับ 50, 80 และ 99 SFC/106 PBMCs ของสูตร AstraZeneca ปกติ, Pfizer ปกติ และ Pfizer + AstraZeneca ตามลำดับ ผลการศึกษาทั้ง 2 ส่วนจึงแสดงให้เห็นว่าสูตร AstraZeneca + Pfizer สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี

    การศึกษาด้านความปลอดภัย หลังจากฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ในสูตรไขว้ พบว่ามีผลข้างเคียงมากกว่า เมื่อเทียบกับสูตรปกติของแต่ละชนิด ได้แก่ ไข้ หนาวสั่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดข้อ ปวดเมื่อย และปวดกล้ามเนื้อ แต่ไม่มีอาการรุนแรงจนต้องรักษาในโรงพยาบาล และส่วนใหญ่เกิดขึ้นภายใน 48 ชั่วโมงหลังการฉีดวัคซีน และเมื่อติดตามผลข้างเคียงต่อจนถึง 1 เดือน ไม่พบความแตกต่างกันในแต่ละกลุ่ม

    นอกจากนี้ยังมีอีกงานวิจัยชื่อ CombiVacS ในสเปน เป็นการศึกษาเชิงทดลอง แบ่งผู้ที่ได้รับวัคซีน AstraZeneca 1 เข็มเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกได้รับวัคซีน Pfizer เป็นเข็มที่ 2 ส่วนอีกกลุ่มไม่ได้รับวัคซีน เมื่อเดือนเมษายน 2564 พบว่าระดับภูมิคุ้มกันต่อโปรตีนหนามเพิ่มขึ้นจาก 71.5 เป็น 7,756.7 BAU/mL หลังฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 เป็นระยะเวลา 14 วัน แต่มีข้อจำกัดตรงที่ไม่มีสูตรปกติเปรียบเทียบ

    อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนสูตรไขว้นี้ยังมีน้อย ข้อมูลเบื้องต้นจากงานวิจัยในเดนมาร์ก เป็นการศึกษาเชิงสังเกตในประชากร 5,542,079 คน (97.6% ของประชากรในเดนมาร์ก) มีผู้ที่ได้รับวัคซีนสูตรไขว้ 136,551 คน พบว่าวัคซีนสูตรไขว้มีประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อ 88% และไม่พบอาการรุนแรงหรือเสียชีวิตจากโควิด แต่ในขณะนั้นสายพันธุ์อัลฟายังเป็นสายพันธุ์หลัก

    ปัจจุบันมีหลายประเทศที่ยอมรับวัคซีนไขว้สูตรนี้ เช่น เวียดนาม เกาหลีใต้ แคนาดา และอย่างน้อย 15 ประเทศในสหภาพยุโรป เช่น ฝรั่งเศส เยอรมนี รวมถึงสหราชอาณาจักร

    โดยสรุปวัคซีนไขว้สูตร AstraZeneca + Pfizer ที่จะเริ่มใช้ในประเทศไทยในเดือนตุลาคมนี้มีผลการวิจัยในต่างประเทศรองรับ และต่างประเทศให้การยอมรับ แต่ยังต้องมีการติดตามประสิทธิผลของวัคซีนต่อในอนาคต

  • ปวดเมื่อย 在 Facebook 的最佳貼文

    2021-08-23 21:58:51
    有 5,403 人按讚

    ผู้เป็น “โรคความดันโลหิตสูง” เสียชีวิตจากโควิดมากเป็น “อันดับ 1” รีบไปฉีดวัคซีนกันครับ …

    *ปัญหาคือ โรคความดันโลหิตสูง ไม่อยู่ใน 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง ที่ถูกกำหนดให้เป็นกลุ่มเสี่ยง ที่จะได้รับวัคซีนก่อน! 😳

    แล้วจะไปเร่ง ไปรีบ ฉีดกันยังไง!

    “ที่เป็นห่วง คือ ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งมีรายงานเสียชีวิตจากโรคโควิดมากเป็นอันดับ 1 เนื่องจากข้อมูลทางการแพทย์พบว่า เมื่อคนป่วยกลุ่มนี้ติดเชื้อโควิด 19 จะทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้ร้อยละ 17 ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบร้อยละ 7 ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลวร้อยละ 9 และทำให้เกิดภาวะหัวใจวายในที่สุด จึงจำเป็นต้องรับการฉีดวัคซีนโควิด 19 เพื่อให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรคเพียงพอ หากติดเชื้อก็จะช่วยลดความรุนแรงและป้องกันการเสียชีวิตได้ โดยผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จะสามารถฉีดวัคซีนได้จะต้องมีระดับความดันโลหิต ค่าตัวบนไม่เกิน 140 และค่าตัวล่างไม่เกิน 90 มิลลิเมตรปรอท”

    #ร่วมแรงร่วมใจฝ่ามหันตภัยโควิด

    กรมควบคุมโรค เตือน “กลุ่มเปราะบางและกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง” ให้รีบฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 โดยเฉพาะ “ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง”

    23 สค.64 นายแพทย์ปรีชา เปรมปรี รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ตลอดเดือนสิงหาคมนี้ กรมควบคุมโรคได้เร่งรัดฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 ให้แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายทั่วประเทศเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในระดับบุคคลและภูมิคุ้มกันหมู่ โดยต้องฉีดครอบคลุมประชากรให้ได้ร้อยละ 70 จึงจะสามารถลดการแพร่ระบาด ลดอัตราป่วยหนักและลดการเสียชีวิตจากโรคโควิด 19 ได้โดยเร็ว โดยเดือนนี้ตั้งเป้าฉีดให้ได้ 10 ล้านโดส ซึ่งขณะนี้ได้จัดส่งวัคซีนโควิดไปให้ทุกจังหวัดแล้ว จึงขอให้ประชาชนทุกพื้นที่อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเปราะบาง 3 กลุ่มคือ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป กลุ่มป่วยโรคเรื้อรัง 7 กลุ่ม ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคอ้วนน้ำหนักตัวมากกว่า 100 กิโลกรัม โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวาย และกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ให้รีบเข้ารับบริการได้ที่สถานพยาบาลใกล้บ้านทุกแห่งโดยเร็ว โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

    “ที่เป็นห่วง คือ ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งมีรายงานเสียชีวิตจากโรคโควิดมากเป็นอันดับ 1 เนื่องจากข้อมูลทางการแพทย์พบว่า เมื่อคนป่วยกลุ่มนี้ติดเชื้อโควิด 19 จะทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้ร้อยละ 17 ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบร้อยละ 7 ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลวร้อยละ 9 และทำให้เกิดภาวะหัวใจวายในที่สุด จึงจำเป็นต้องรับการฉีดวัคซีนโควิด 19 เพื่อให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรคเพียงพอ หากติดเชื้อก็จะช่วยลดความรุนแรงและป้องกันการเสียชีวิตได้ โดยผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จะสามารถฉีดวัคซีนได้จะต้องมีระดับความดันโลหิต ค่าตัวบนไม่เกิน 140 และค่าตัวล่างไม่เกิน 90 มิลลิเมตรปรอท” นายแพทย์ปรีชากล่าว

    นายแพทย์กฤษฎา หาญบรรเจิด ผู้อำนวยการกองโรคไม่ติดต่อ กล่าวว่า โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่ต้องดูแลตนเองอย่างสม่ำเสมอและควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ขณะนี้มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงขึ้นทะเบียนรักษาในสถานบริการสาธารณสุขทั่วประเทศไม่รวม กทม. กว่า 6 ล้านคน ในจำนวนนี้ร้อยละ 40 หรือประมาณ 2.4 ล้านคน พบว่าเป็นผู้ที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ ผู้ที่ควบคุมความดันโลหิตได้ไม่ดี นอกจากจะเป็นอันตรายต่อตนเองคือเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น โรคหลอดเลือดสมองแตกหรือตีบ เป็นอัมพฤกษ์อัมพาต โรคหัวใจ ไตวาย และหากติดเชื้อโควิด 19 จะมีความรุนแรงสูงกว่าคนทั่วไป และผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้ดี ดังนั้นจึงต้องมีวินัยในการดูแลตนเอง เพื่อให้เข้ารับบริการฉีดวัคซีนโควิด 19 ได้โดยเร็วที่สุด

    นายแพทย์กฤษฎา กล่าวต่อว่า วิธีปฏิบัติตัวเพื่อให้ควบคุมระดับความดันโลหิตเน้น 3 หลักการที่สำคัญคือ 1.กินยาตามที่แพทย์สั่งอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยาเอง และไปตรวจตามนัดทุกครั้ง 2.งดกินอาหารหวาน มัน เค็ม ควรปรุงอาหารกินเอง ลดการใช้เครื่องปรุงรส เพิ่มการกินผักและผลไม้ งดสูบบุหรี่และงดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 3.ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับร่างกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน ช่วยให้หัวใจทำงานดี และช่วยให้อารมณ์แจ่มใส ส่งผลให้ระดับความดันโลหิตลดลง

    สำหรับกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ขอให้เตรียมตัวให้พร้อม คือ พักผ่อนอย่างเพียงพอ ใส่หน้ากากอนามัย พกแอลกอฮอล์เจลเพื่อล้างมือขณะอยู่นอกบ้าน เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล ในรายที่กินยาละลายลิ่มเลือด หรือกินยาต้านเกล็ดเลือด ให้แจ้งแพทย์หรือพยาบาลที่จุดบริการฉีดทราบ เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนหลังฉีด เช่นเลือดออกที่รอยเข็มฉีด และหลังจากฉีดวัคซีนแล้ว 2-4 ชั่วโมง ไม่ควรออกกำลังกาย เนื่องจากอาจเกิดอาการข้างเคียง เช่น มีไข้ ปวดเมื่อย หรืออ่อนเพลีย และควรไปรับการฉีดให้ครบ 2 เข็มตามนัดของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422

  • ปวดเมื่อย 在 Kan Kantathavorn Youtube 的最讚貼文

    2021-03-17 20:00:17

    คุณแม่มีเรื่องเล่า - คนท้องนวด เลเซอร์ โบท็อก ได้หรือไม่?

    คำถามที่คนท้องหลายคนสงสัย ปวดเมื่อย นวดก็อยากนวด สวยก็อยากทำแต่จะ ทำได้หรือไม่ ควรหรือไม่ควร
    วันนี้ # คุณแม่มีเรื่องเล่า มีตำตอบมาให้จ้าาา

    ติดต่อโฆษณา
    คุณแจน 091-462-9515

  • ปวดเมื่อย 在 Breast milk.โค๊ชนมแม่ Youtube 的精選貼文

    2021-01-14 00:28:31

    สมุนไพรหลังคลอดที่เตรียมไว้สำหรับฟื้นฟูสภาพของคุณแม่หลังคลอด
    คุณแม่หลังคลอดได้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
    เป็นการใช้สมุนไพรประยุกต์ในยุคสมัย
    ที่จะทำให้คุณแม่ผ่อนคลายลดอาการเหนื่อยล้า
    ปวดเมื่อย เปรียบเสมือนการให้รางวัลแก่คุณแม่

  • ปวดเมื่อย 在 สาระดี byมล Youtube 的最佳解答

    2020-08-02 20:00:11

    สมุนไพรสูตรแก้ปวดหลังปวดเอวคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการตึงหลังตึงไหล่ตึงน่อง รักษาอาการเส้นเลือดขอดหาย

    วัตถุดิบ + วิธีทำ
    1.ต้นผักเสี้ยนผี จำนวนมากน้อยขึ้นกับปริมาณผู้ใช้กำหนดได้เลย
    2.เกลือ 1 หยิบมือ ช่วยเเร่งให้สมุนไพรออกฤทธิ์ดีขึ้น
    3.น้ำมันมะกอก 1-2 ช้อนชา ช่วยบำรุงผิวเพื่อให้ชุ่มชื้นไม่ลอก ไม่คุัน หลังการถูทานวด
    นำผักเสี้ยนผี+เกลือใส่ครกตำให้ละเอียด หลังจากนั้นเติมน้ำมันมะกอกลงในครก ตำพอเข้ากัน ถือว่าใช้ได้

    วิธีการใช้
    นำมาพอก ถูทา บริเวณที่ปวด บวม อักเสบได้เลย โดยเฉพาะแก้อาการเส้นเลือดขอดให้นำมาถูทานวดเน้นๆ เพื่อบรรเมาอาการเส้นเลือดขอด และอาการบวอปวม อักเสบให้หายไป

    ในปัจจุบันผู้สูงอายุมักเจอกับปัญหาสุขภาพ หลัง แขน ขา ตึง ปวดเมื่อย มลจึงอยากแนะนำสมุนไพรเพื่อใช้แทนยาที่แผนปัจจุบัน ที่ถ้าทานแก้ปวดประจำจะมีผลข้างเคียงและสะสมในร่างกาย

    ถ้าชอบคลิปนี้ และเห็นว่าเป็นประโยชน์ อย่าลืม
    กดติดตาม กดกระดิ่ง กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจ และไม่พลาดคลิปใหม่ๆ ของมลด้วยน่ะค่ะ

你可能也想看看

搜尋相關網站