[爆卦]ประชากรไทย 2566是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇ประชากรไทย 2566鄉民發文沒有被收入到精華區:在ประชากรไทย 2566這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 ประชากรไทย產品中有5篇Facebook貼文,粉絲數超過178萬的網紅ลงทุนแมน,也在其Facebook貼文中提到, ประชากรไทย จะเป็นอย่างไรในอนาคต? - เดาอนาคตอีก 100 ปี ด้วยการอ่านประวัติศาสตร์ 1,000 ปี “เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6” หนังสือเล่มนี้จะพูดถึง...

ประชากรไทย 在 ลงทุนแมน Instagram 的精選貼文

2020-06-16 11:29:58

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี X ลงทุนแมน กรณีศึกษา สิ่งที่ขาดหายไปในระบบเศรษฐกิจไทย ประชากรสิงคโปร์ มี GDP ต่อคนต่อเดือนอยู่ที่ 169,900 บาท ป...

  • ประชากรไทย 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文

    2020-07-17 15:14:00
    有 4,137 人按讚

    ประชากรไทย จะเป็นอย่างไรในอนาคต?
    - เดาอนาคตอีก 100 ปี ด้วยการอ่านประวัติศาสตร์ 1,000 ปี “เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6”

    หนังสือเล่มนี้จะพูดถึงประวัติเศรษฐกิจโลกตั้งแต่ปี ค.ศ.1100 ไล่ยาวไปจนถึง ค.ศ.2019

    สั่งซื้อได้ที่ (ซื้อตอนนี้มีส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)

    Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html

    Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161

  • ประชากรไทย 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文

    2020-06-05 18:59:57
    有 4,119 人按讚

    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี X ลงทุนแมน
    กรณีศึกษา สิ่งที่ขาดหายไปในระบบเศรษฐกิจไทย

    ประชากรสิงคโปร์ มี GDP ต่อคนต่อเดือนอยู่ที่ 169,900 บาท
    ประชากรสหรัฐอเมริกา มี GDP ต่อคนต่อเดือนอยู่ที่ 165,400 บาท
    ประชากรญี่ปุ่น มี GDP ต่อคนต่อเดือนอยู่ที่ 103,300 บาท
    ประชากรเกาหลีใต้ มี GDP ต่อคนต่อเดือนอยู่ที่ 82,500 บาท
    ประชากรไทย มี GDP ต่อคนต่อเดือนอยู่ที่ 19,100 บาท

    จะเห็นว่าตัวเลข GDP ของเรายังห่างไกลจากประเทศเหล่านี้รวมถึงประเทศอื่นๆ
    แล้วความห่างชั้นนี้เกิดจากอะไร?

    ต้องยอมรับว่าเรื่องนี้มีอยู่หลายปัจจัย หนึ่งในนั้นก็คือ
    ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยพึ่งพาการส่งออกด้วยสินค้าการเกษตร
    ต่างจากประเทศสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ที่คิดค้นเทคโนโลยี และเน้นการสร้างนวัตกรรม
    ทำให้มูลค่าสินค้าที่เราส่งออก ไม่สามารถเทียบได้กับประเทศที่พัฒนาแล้ว

    สมมติเราขายข้าวหอม 1 ตันราคา 16,000 บาท
    ขณะที่ราคา iPhone 11 Pro หนึ่งเครื่องราคาเริ่มต้น 35,900 บาท
    เราขายข้าวหอม 2 ตันยังไม่เท่ากับราคา iPhone 11 Pro เครื่องเดียว

    แล้วจะทำอย่างไร ให้ประเทศเรานอกจากจะโดดเด่นเรื่องสินค้าการเกษตรแล้ว
    ยังเป็นประเทศที่มีเทคโนโลยี พร้อมกับสร้างแบรนด์สินค้าเป็นของตัวเอง
    เพื่อให้ประเทศมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น
    ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง

    จริงๆ แล้วประเทศไทยก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมที่เป็นเทคโนโลยีมานานแล้ว
    เรามีทั้งโรงงานผลิตรถยนต์, โรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า, โรงงานผลิตชิ้นส่วน IT

    และหากถามต่อว่าโรงงานเหล่านี้ มีกี่โรงงานที่ผลิตสินค้าที่เจ้าของเป็นคนไทย
    ก็คงต้องตอบว่า น้อยมาก เพราะส่วนใหญ่เจ้าของโรงงานก็คือบริษัทต่างชาติ
    หรือไม่ก็เป็นโรงงานคนไทยที่มีสถานะเป็นเพียง OEM ผลิตสินค้าจนถึงอะไหล่ให้แก่แบรนด์สินค้าจากต่างประเทศ

    จริงอยู่ว่าเรื่องนี้ ผลดีก็คือการสร้างงานทำให้เศรษฐกิจไทยดีขึ้น
    แต่ผลเสียก็รุนแรงไม่น้อย เมื่อโมเดลโครงสร้างเศรษฐกิจแบบนี้
    ประเทศไทยจะเป็นเพียงแค่ลูกจ้างที่กินเงินเดือนจากบริษัทต่างชาติอยู่ร่ำไป

    คำถามต่อมาก็คือแล้วทำไมคนไทย ไม่คิดสร้างแบรนด์สินค้า จนถึงเทคโนโลยีทันสมัย
    ให้เทียบชั้นกับต่างประเทศ

    เรื่องนี้มีหลายปัญหาที่ฝังรากลึกมานาน
    หนึ่งในตัวอย่างที่เห็นชัดเจนสุด ก็คือบริษัทขนาดใหญ่ในบ้านเรา ส่วนใหญ่เลือกซื้อเทคโนโลยีจากต่างชาติ
    เพื่อมาผลิตสินค้า มากกว่าที่จะคิดค้นเทคโนโลยีขึ้นมาเอง

    แรงงานไทย จึงเป็นแค่ “ผู้ใช้” ไม่ใช่อยู่ในสถานะ “ผู้คิดค้น” เทคโนโลยีใหม่ๆ ขึ้นมา
    ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดอะไร เพราะหากบริษัทเสียเวลานั่งคิดเทคโนโลยีขึ้นมาเอง
    ก็จะเสียเวลา และเสียเปรียบในการแข่งขัน สุดท้ายก็ถูกบริษัทคู่แข่งแซงหน้า

    แต่ผลเสียที่ตามมาก็คือ แรงงานมีฝีมือ พนักงานมันสมองดีๆ
    ไม่มีโอกาสนำสิ่งที่เรียนรู้จากในรั้วมหาวิทยาลัย มาใช้กับการทำงานในบริษัทได้อย่างเต็มที่

    ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่นักศึกษาที่จบใหม่ทั้งสาย วิศวกรรม วิทยาศาสตร์ ก็รับรู้มาจากเพื่อนและรุ่นพี่
    ทำให้หลายคนเมื่อเรียนจบ จึงเลือกทำงานในอาชีพที่ไม่ตรงกับวุฒิการศึกษา
    เพราะมองว่าโอกาสก้าวหน้าของตัวเองถูกจำกัดด้วย วัฒนธรรมธุรกิจแบบสำเร็จรูป

    แล้วจะดีกว่าไหม หากคนที่เรียนจบปริญญาตรีคณะ วิศวกรรม วิทยาศาสตร์
    จะก้าวข้ามข้อจำกัดนี้ ด้วยการเป็นเจ้าของธุรกิจสร้างนวัตกรรมเป็นของตัวเอง ด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผนวกกับความรู้ด้านธุรกิจ

    เรื่องนี้ถือว่าสำคัญ เพราะหากคนที่มีพื้นฐานแข็งแรงในวิชาชีพ วิศวกรรม และวิทยาศาตร์
    เมื่อเขาได้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้ ก็จะทำให้กล้าที่จะออกจากกรอบเดิมๆ
    ทั้งการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ สร้างสรรค์เทคโนโลยีล้ำสมัย สร้างโมเดลธุรกิจที่มาตอบโจทย์ตลาด

    และถ้าหากประเทศเรามีประชากรที่คอยสร้างสรรค์เทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
    เราก็อาจจะหลุดพ้นจากการเป็นแค่ประเทศที่รับจ้างผลิต
    มาเป็นประเทศที่เป็นเจ้าของธุรกิจระดับโลกมากขึ้น เหมือนอย่าง ญี่ปุ่น หรือสหรัฐอเมริกา..

    เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มองเห็นปัญหานี้มานาน จึงได้มีการก่อตั้งบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (Graduate School of Management and Innovation) หรือ GMI เพื่อมาเติมองค์ความรู้ในด้านนี้

    ยกตัวอย่างเช่น สาขาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, สาขาการจัดการสำหรับการเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม
    บริหารจัดการองค์กร, การจัดการธุรกิจดิจิทัล, การจัดการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

    แล้วในภาพรวมหลักสูตร GMI สอนอะไรแก่คนที่มาเรียน?

    ยกตัวอย่าง หากเราทำงานในบริษัทไทยที่ซื้อเทคโนโลยีการทำงานมาจากต่างประเทศ
    หากเราเรียนหลักสูตรนี้ ก็จะสอนให้เราไม่ใช่แค่เป็น “ผู้ใช้” อย่างเดียว
    แต่จะสอนให้เราคิดต่อยอดพัฒนาเทคโนโลยีที่มีอยู่ตรงหน้า ให้เหนือชั้นกว่าเดิม
    ขณะเดียวกันก็ยังสอนให้เรามองโลกธุรกิจในมุมที่กว้างและลึกขึ้น ทั้งการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป
    จนถึงการคิดแบบผู้นำการเปลี่ยนแปลงขององค์กร

    สรุปแล้วหลักสูตรนี้ นอกจากเราจะได้ความรู้เชิงวิชาการแล้วนั้น ยังปลูกฝังให้ผู้ที่มาเรียนมีวิธีคิดนอกกรอบ
    และแค่คิดอย่างเดียวคงไร้ประโยชน์ แต่หลักสูตร GMI ยังสอนให้เราลงมือทำในสิ่งที่ใครหลายคนไม่ทำ

    ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมา ถ้ามหาวิทยาลัยต่างๆ ช่วยกันพัฒนาระบบการศึกษาให้ดีขึ้น ก็จะส่งผลให้ประเทศไทยมีเศรษฐกิจที่ดีขึ้นตามมาในอนาคตเช่นกัน..

    เว็บไซต์บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (Graduate School of Management and Innovation)
    http://www.gmi.kmutt.ac.th/

    Facebook https://www.facebook.com/gmikmutt/

    References
    -มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
    -IMF
    -World Bank
    -worldometer
    -https://www.finnomena.com/investment-reader/middle-income-trap/

  • ประชากรไทย 在 TAS19 คำนวณผลประโยชน์พนักงาน โดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ABS Facebook 的最讚貼文

    2020-04-23 08:33:27
    有 26 人按讚

    ทางออกของธุรกิจประกันหลังโควิด | ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 23-25 เมษายน 2563
    .
    ระหว่างที่ทุกประเทศเข้าสู่โหมด Lockdown หลายสำนักวิจัยทางเศรษฐกิจทั่วโลกต่างเผชิญโจทย์ยากต่อการประเมินสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด และผลกระทบจะลากยาวแค่ไหน แต่ส่วนใหญ่ประเมินเหมือนกันคือ โควิดจะเป็นบททดสอบผู้กำหนดนโยบายระดับประเทศที่จะควบคุมด้านสาธารณสุข และด้านเศรษฐกิจไม่ให้ถดถอยหรือลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เป็นผลพวงจากการชะงักงันของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ทว่า ธุรกิจประกันภัย จะเป็นกันชนหรือเครื่องมือทางเงินพื้นฐานในการบริหารความเสี่ยงสำหรับครัวเรือน!
    .
    “ฐานเศรษฐกิจ”มีโอกาสได้สัมภาษณ์พิเศษ อาจารย์ “พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน หรืออาจารย์ ทอมมี่” นายกสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย ซึ่งสะท้อนความเห็นถึงภาพรวมธุรกิจประกันภัยว่า ขึ้นอยู่กับบริษัทจะจับจังหวะบวกได้แค่ไหนและสามารถป้องกันปัจจัยลบได้เพียงไร โดยระบุถึง 3 ปัจจัยบวกของทั้งธุรกิจประกันวินาศภัยและประกันชีวิต ได้แก่ โรคโควิดที่แพร่ระบาดสร้างความตระหนักรู้ให้ประชาชนสนใจ ประกอบกับการเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งบลูมเบิร์ก ประเมินว่า อัตราการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุไทยที่มีอายุเกิน 60ปี วิ่งเข้าสู่อันดับ 3 ของโลก ซึ่งในอีก 15ปีข้างหน้า(ปี2575)ประชากรไทย 1ใน 4หรือจำนวน 25คนจาก 100คนจะมีอายุเกิน 60ปี และเรื่องค่ารักษาพยาบาลที่จะแพงมากขึ้นจนควักเงินจ่ายเองไม่ไหว เพราะจากสถิติของไทยนั้น ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นเฉลี่ย8%ต่อปี เช่น ถ้าเป็นไข้หวัด 1ครั้ง สมมติค่าต้นทุนค่ารักษาพยาบาลคือราคา 1,500บาท ในตอนนี้ แต่ในอีก 10 ปีข้างหน้าต้นทุนค่ารักษาพยาบาลจะเพิ่มเป็น 3,000บาท เป็นต้น
    .
    “ปีนี้โควิดเป็นปัจจัยเสริม มีทั้งปัจจัยบวกและลบ ในเชิงบวกคือ ความตื่นตัวของลูกค้าซื้อประกัน แต่ปัจจัยลบก็มี เพราะธุรกิจประกันภัยเป็นธุรกิจที่รับเบี้ยเข้ามาก่อน จึงมีความเสี่ยงโดยตรงหลายมิติเช่น โรคระบาดไม่ได้ใช้สถิติจำลองอนาคตอีกต่อไป แต่เกี่ยวข้องกับปัจจัยภายนอกมากซึ่งจะเกิดข้อพิพาทขึ้น ว่าคุ้มครองหรือไม่คุ้มครอง รวมถึงค่ายาหรืออัตราการตาย โดยเฉพาะบริษัทที่คุ้มครองถึง 12 เดือน ทั้งวิวัฒนาการของโควิดและทางการแพทย์ซึ่งวิ่งตลอดเวลา เหล่านี้เป็นความเสี่ยงที่ต้องเตรียมเงินหน้าตักและประเมินกรณีเลวร้ายที่สุด เพื่อบริหารจัดการการจ่ายเคลมซึ่งต้องวางแผน Stop Loss ให้ได้ แถมยังมีผลกระทบทั้งจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับลดเป็นขาลงอีกด้วย ขณะเดียวกันธุรกิจวินาศภัยปีนี้มีแนวโน้มเติบโตในแง่เบี้ยประกันจากโควิด และยังได้ปัจจัยบวกจากโซเชียลดิสเท็นต์ หรือ WFH เพราะ ยอดเคลมสินไหมรถยนต์น้อย”
    .
    ด้านปัจจัยลบอันดับแรก คือ เงินลงทุน เพราะทั้งธุรกิจวินาศภัยและประกันชีวิตรับเงินมาก่อนแล้วต้องใช้เงินทำงานโดยเฉพาะธุรกิจประกันชีวิตต้องสำรองเงินเพื่อจ่ายคืนผู้บริโภคในอนาคต ส่วนใหญ่ลงทุนในพันธบัตร หรือหุ้นกู้ ซึ่งรวมเงินหมุนเวียนลงทุนราว 2.5 ล้านล้านบาท เพราะทุกวันนี้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรได้ปรับลดลงอย่างมาก ซึ่งเหลือแค่ประมาณ 1.1-1.2% และหากย้อนไปเมื่อ 20ปี 10ปี 5ปีและ 3ปีจะอยู่ที่10% 5% และ 3%ตามลำดับ โดยเงินหมุนเวียนประมาณ 2.5 ล้านล้านบาทที่ลงทุนในพันธบัตรหรือหุ้นกู้คิดเป็น 80-90% ของสินทรัพย์ทั้งหมดที่บริษัทประกันมี ทำให้ต้องจับคู่ระหว่างเงินลงทุนในสินทรัพย์และหนี้สิน การบันทึกรายได้ต้องกระจายตามสัญญารับประกันที่มีผลคุ้มครองจำแนกตามมาตรฐานบัญชี จึงเป็นทิศทางของประกันสะสมทรัพย์ให้เข้าสู่การทำตลาดประกันควบการลงทุนหรือยูนิตลิ้งค์ซึ่งเป็นการปลดล็อคศักยภาพให้บริษัทประกันลงทุนนอกเหนือจากพันธบัตร แต่ยังเป็นเงินลงทุนของลูกค้า(เลือกลงทุนและรับความเสี่ยงเอง) เน้นวัตถุประสงค์การซื้อเพื่อความมั่นคง (ไม่ใช่ความมั่งคั่ง) โดยบริษัทประกันทำหน้าที่ให้คุ้มครองตามเหตุปัจจัยที่ตกลงไว้ในสัญญา ประกอบกับ กฎระเบียบข้อบังคับความมั่นคงทางการเงินที่ปีนี้มีการปรับสูตรการดำรงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง(RBC) เพื่อยกระดับมาตรฐานสากล
    .
    อาจารย์ทอมมี่ ระบุว่า โจทย์หลักของนักคณิตศาสตร์ต่อมุมมองโควิด คือ การสื่อสารกับบริษัทประกันเตรียมความพร้อมเงินกองทุนและเงินสำหรับจ่ายคืนลูกค้า ขณะเดียวกันต้องคิดเผื่อปัจจัยวิวัฒนาการทั้งการระบาดของโควิด วิวัฒนาการด้านยา หรือทางการแพทย์ ทั้งหมดนี้ต้องทำโมเดลแตกต่างจากแบบจำลองทั่วไป ถึงวันนี้ลูกค้ายังไม่มีการเคลมมากนัก แต่หากต่อไปเกิดข้อพิพาทจะต้องสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคต้องเชื่อมโยงเงื่อนไขเป็นตัวเลข
    .
    ส่วนหน้าที่ของนักคณิตศาสตร์ประกันภัยคือ ตอบโจทย์ผู้บริโภคทั้งคุ้มครองความเสี่ยงและเคลมง่ายเวลาเกิดเหตุไม่คาดฝัน และต้องป้องกันการหาประโยชน์เก็งกำไรจากกรมธรรม์เวลาออกแบบประกันต้องป้องกันคนที่จะเข้ามาทุจริตเคลม เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์เต็มๆ เพราะหากปล่อยให้คนไม่ควรจะเคลมเข้ามาเคลมสินไหนจะทำให้ค่าเบี้ยเฉลี่ยโดยรวมแพงขึ้น ซึ่งการดีไซน์แบบประกันและกระบวนการต้องไม่เอื้อต่อการทุจริตเคลม เช่น ประกันเจอปุ๊ปจ่ายปั๊บต้องตีเงื่อนไขเป็นตัวเลข ในทางปฎิบัติต้องมองภาพและป้องกันการทุจริตเคลม
    .
    #อาจารย์ทอมมี่ #พิเชฐเจียรมณีทวีสิน #นายกสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัย

你可能也想看看

搜尋相關網站