[爆卦]นามธรรม是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇นามธรรม鄉民發文沒有被收入到精華區:在นามธรรม這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 นามธรรม產品中有12篇Facebook貼文,粉絲數超過1萬的網紅sittikorn saksang,也在其Facebook貼文中提到, “คำสั่งทางปกครอง” เมื่อพิจารณาศึกษาจากคำนิยามของพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 5 “คำสั่งทางปกครอง หมายความ...

 同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過4,700的網紅atomkritkanok,也在其Youtube影片中提到,จ ะ ทำ เ ช่ น ไ ร เ มื่ อ รั ก ไ ด้ ต า ย ไ ป พ ร้ อ ม เ ธ อ :( มาช้าแต่มานาจา เจอกันเดือนละคลิป55 :) IG : https://www.instagram.com/atomkritkanok/ ...

นามธรรม 在 parnthanaporn Instagram 的最讚貼文

2021-08-02 07:37:51

"...รูปธรรม ก็พาหลงตัว นามธรรม ก็พาหลงใจ รูป นาม นี้ เป็นของไม่แน่นอน กำหนดรู้มาก จะเห็นต้นเหตุแห่งทุกข์ คือ ไม่รู้ ว่ามันทั้งคู่นี้ไม่ใช่เรา ตราบใดที...

  • นามธรรม 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文

    2020-09-28 07:42:50
    有 80 人按讚

    “คำสั่งทางปกครอง”

    เมื่อพิจารณาศึกษาจากคำนิยามของพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 5
    “คำสั่งทางปกครอง หมายความว่า การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล แต่ไม่หมายรวมถึงกฎ”

    ลักษณะของ “คำสั่งทางปกครอง”

    คำสั่งทางปกครอง เป็น การสั่งการซึ่งได้แก่ ข้อความที่บังคับให้บุคคลกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือห้ามมิให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง การอนุญาตให้กระทำการหรือละเว้นกระทำการ หรือการยืนยันสิทธิที่มีผลบังคับเฉพาะกรณีใดกรณีหนึ่งหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเฉพาะ
    จากลักษณะดังกล่าวจะเห็นได้ว่า คำสั่งทางปกครองมีลักษณะเช่นเดียวกับ “กฎ” แต่ขาดคุณลักษณะข้อใดข้อหนึ่งของกฎ คือ ไม่เป็น “การบังคับทั่วไป” แต่ใช้บังคับเฉพาะกรณี และไม่เป็นการบังคับแก่บุคคลทั่วไปที่เป็น”นามธรรม” แต่ใช้บังคับเฉพาะบุคคล

    คำสั่งทางปกครองที่ใช้กับบุคคลเฉพาะเรื่องและเฉพาะบุคคล แต่เป็นบุคคลหลายๆ คน ในคราวเดียวกัน เรียกว่า Collective Decision ถือว่า เป็นคำสั่งทางปกครองที่มีผล “เฉพาะเรื่อง” และเฉพาะบุคคล ถือว่าเป็นคำสั่งทางปกครองทั่วไป เพราะ คำว่า “เฉพาะบุคคล” ร่วมถึงกลุ่มบุคคลด้วย ซึ่งหมายถึง กลุ่มบุคคลที่ถูกบังคับตามคำสั่งทางปกครองในคราวเดียวกันหลายๆ คน แต่ออกคำสั่งทางปกครองครั้งเดียวกัน เช่น คำสั่งสลายการชุมชม สัญญาณไฟจราจร การประกาศผลสอบ การประกาศผลการเลือกตั้ง เป็นต้น

    องค์ประกอบของคำสั่งทางปกครอง

    เมื่อพจารณาจากคำนิยามความหมาย คำสั่งทางปกครอง ข้างต้น คำสั่งทางปกครองจะต้องมีองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ ดังนี้

    (1)องค์ประกอบในแง่ของผู้ออกคำสั่ง: “เจ้าหน้าที่”

    คำสั่งทางปกครองโดยหลักต้องกระทำโดยเจ้าหน้าที่ ไม่ใช่เอกชน เว้นแต่เอกชนนั้นจะได้รับมอบให้ใช้อำนาจทางปกครองของรัฐในการดำเนินการบางอย่าง การกระทำของเอกชนที่ได้รับมอบอำนาจจึงอาจเป็นคำสั่งทางปกครองได้

    (2) องค์ประกอบในแง่ของการใช้อำนาจรัฐ: “อำนาจปกครอง”

    มาตรการที่กระทำลงโดยเจ้าหน้าที่อันจะถือว่าเป็นคำสั่งทางปกครองนั้น จะต้องเป็นมาตรการที่เกิดจากการใช้อำนาจรัฐและต้องเป็นอำนาจมหาชนประเภทการใช้อำนาจทางปกครองของฝ่ายปกครอง

    (3) องค์ประกอบในแง่วัตถุประสงค์: “กฎเกณฑ์/นิติสัมพันธ์”

    คำสั่งทางปกครองเป็นการกระทำที่มุ่งผลในทางกฎหมายที่มีลักษณะเป็นการกำหนดกฎเกณฑ์หรือนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กล่าวคือ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางกฎหมาย ดังนั้น มาตรการใด ๆ ของฝ่ายปกครองซึ่งเกิดจากการใช้อำนาจปกครอง หากเป็นการตระเตรียมการเพื่อออกคำสั่งทางปกครองแล้ว แม้จะส่งผลกระทบต่อบุคคลที่อาจจะเป็นผู้รับคำสั่งทางปกครอง ก็ยังไม่ถือว่ามาตรการนั้นเป็นคำสั่งทางปกครอง

    (4) องค์ประกอบในแง่ของผลต่อผู้รับคำสั่ง: “ผลเฉพาะกรณี”

    เป็นองค์ประกอบที่เป็นเครื่องแบ่งแยกคำสั่งทางปกครองออกจากรูปแบบการกระทำทางปกครองอีกรูปแบบหนึ่ง คือ “กฎ” โดยคำสั่งทางปกครองเป็นการกำหนดกฎเกณฑ์หรือก่อนิติสัมพันธ์ในลักษณะที่มีผลเฉพาะกรณี หรือกับบุคคลคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่สามารถระบุตัวบุคคลได้ ในขณะที่ “กฎ” เป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่ใช้อำนาจปกครองกำหนดกฎเกณฑ์หรือก่อนิติสัมพันธ์ในลักษณะที่มีผลบังคับกับบุคคลทั่วไปไม่จำกัดจำนวน

    (5) องค์ประกอบในแง่การเกิดผลในระบบกฎหมาย : “ผลโดยตรงภายนอกฝ่ายปกครอง”

    คำสั่งทางปกครองเป็นกฎเกณฑ์ที่มีผลโดยตรงออกไปภายนอกฝ่ายปกครอง คือ มีผลเป็นการก่อตั้ง เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกสิทธิหน้าที่ของบุคคลที่มีสถานะอยู่ภายนอกฝ่ายปกครอง องค์ประกอบข้อนี้เป็นเครื่องแบ่งแยกคำสั่งทางปกครองออกจากคำสั่งภายในฝ่ายปกครอง คำสั่งที่ยังไม่มีผลออกไปภายนอกฝ่ายปกครอง ไม่มีผลเป็นการก่อตั้งนิติสัมพันธ์ระหว่างองค์กรฝ่ายปกครองกับบุคคล การมีผลออกไปภายนอกฝ่ายปกครองนี้ ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นกรณีที่เป็นการออกคำสั่งกับประชาชนทั่วไปเท่านั้น แต่อาจจะเป็นกรณีที่ฝ่ายปกครองออกคำสั่งกับผู้ใต้บังคับบัญชาก็ได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของคำสั่งเป็นสำคัญ ถ้าเป็นกรณีที่ฝ่ายปกครองที่เป็นผู้บังคับบัญชาออกคำสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติในฐานะที่ผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรแล้ว คำสั่งนั้นไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง แต่เป็นคำสั่งภายในฝ่ายปกครอง แต่ถ้าคำสั่งนั้นกระทบกับสถานะส่วนตัวหรือสิทธิหน้าที่ส่วนบุคคลของผู้ใต้บังคับบัญชาที่ไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยตรงแล้ว คำสั่งนั้นย่อมเป็นคำสั่งทางปกครอง

    กรณีที่ศาลปกครองวินิจฉัยว่าเป็นคำสั่งทางปกครอง

    คำสั่งของหน่วยงานที่ไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้ฟ้องคดี มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์อันมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิในการที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนของผู้ฟ้องคดี จึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539(คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.30/2550และคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 25/2550)

    คำสั่งลงโทษไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ เป็นคำสั่งที่มีผลกระทบต่อสิทธิและหน้าที่ของผู้ฟ้องคดี จึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539(คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.78/2550)

    คำ สั่งคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร เป็นการใช้อำนาจตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งพ.ศ. 2541ประกอบข้อ 6 และข้อ 23 ของประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งและคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลงโอน สงวน ระงับหรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล คำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้งดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539โดยถือเป็นกรณี “การให้พ้นจากตำแหน่ง” ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 อันเป็นเรื่องของการบริหารงานบุคคลของบุคลากรภาครัฐ โดยไม่จำเป็นต้องคำนึงว่าเป็นการพ้นจากตำแหน่งไปเป็นการถาวรและเด็ดขาด หรือเป็นการพ้นจากตำแหน่งหนึ่งไปสู่ตำแหน่งอื่นอย่างข้าราชการประจำ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.190/2550)

    คำสั่งอนุญาตให้ข้าราชการลาออกจากราชการเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ. 2539 (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 46/2550)

    คำสั่งให้ข้าราชการไปช่วยปฏิบัติราชการเป็นการชั่วคราวนับแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2549 เป็นต้นไป เป็นเวลาหกเดือน เป็นคำสั่งทางปกครองที่มีการกำหนดระยะเวลาในการบังคับตามคำสั่ง โดยสิ้นผลบังคับในวันที่ 21 มิถุนายน 2549(คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 108/2550)

    คำสั่งของอธิบดีกรมที่ดินที่ให้เพิกถอน น.ส.3 หรือโฉนดที่ดินของเอกชน เป็นคำสั่งที่กระทบสิทธิของเจ้าของที่ดินที่ถูกเพิกถอน จึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539(คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 151/2550และ ที่ 412/2550)

    คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเทศบาลที่ให้ผู้ฟ้องคดีรื้อถอนโรงเรือนเนื่องจากก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาต และการกระทำนั้นไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 347/2550)

    คำสั่งของหน่วยงานทางปกครองที่แจ้งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นอาศัยโอกาสดังกล่าวกระทำทุจริตต่อหน่วยงานทางปกครองนั้น เป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 370/2550)

    คำสั่งแต่งตั้งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ ระดับ 11 สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำ นักนายกรัฐมนตรี เป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แม้ตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขประกอบกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 นายกรัฐมนตรีจะต้องนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอีกชั้นหนึ่ง ก็ไม่ทำให้คำสั่งดังกล่าวไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 518/2550)

    คำสั่งออกโฉนดที่ดินของเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดอันเป็นการใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายที่ดิน เป็นคำสั่งทางปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๕๘๙/๒๕๕๐)

    คำสั่งของอธิบดีกรมศุลกากรที่อาศัยอำนาจตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ประกอบกับข้อ ๑๘ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ที่เรียกให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดของกรมศุลการกรชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทางราชการตามความเห็นของกระทรวงการคลัง เป็นคำสั่งทางปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๖๙๒/๒๕๕๐

    การที่ผู้ถูกฟ้องคดี (นายอำเภอสารภี) ใช้อำนาจตามมาตรา 122 แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 สั่งให้ผู้ฟ้องคดีรื้อถอนรั้วและสิ่งปลูกสร้างออกไปจากบริเวณทางสาธารณประโยชน์ ย่อมมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิของผู้ฟ้องคดี คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539(คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 438/2550)

    หนังสือของนายอำเภอที่สั่งให้ผู้ฟ้องคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่สาธารณประโยชน์เป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539(คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.81/2550)

    การที่นายกเทศมนตรีมีหนังสือแจ้งผู้ยื่นซองประกวดราคาในการจ้างเหมาก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็กป้องกันตลิ่งพังพร้อมทางเท้าว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเนื่องจากยื่นเสนอราคาผิดหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ซึ่งเป็นการไม่รับคำเสนอราคาของบุคคลนั้น ถือเป็นคำสั่งทางปกครองตามข้อ ๑ (๑) ของกฎกระทรวงฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ. ๒๕๓๙ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๓๑/๒๕๕๐)

    หนังสือของหน่วยงานทางปกครองที่ให้ยึดหลักประกันซองของผู้ฟ้องคดีซึ่งผ่านการพิจารณาด้านเทคนิคแล้วแต่ไม่สามารถยื่นซองเสนอราคาได้ทันเวลาที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกำหนด และให้ผู้ฟ้องคดีนำเงินมาชำระภายใน ๗ วัน เป็นคำสั่งที่มีผลกระทบต่อสิทธิและหน้าที่ของผู้ฟ้องคดี จึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๒๓๗/๒๕๕๐)

    หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ และ น.ส. ๓ ก.) เป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ. ๒๕๓๙ ที่รับรองว่าผู้มีชื่อในเอกสารดังกล่าว เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามรูปที่ดินและเขตติดต่อดังที่ระบุไว้ในเอกสาร (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๕๐๓/๒๕๕๐)

    มติที่ประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ที่ให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิของผู้ฟ้องคดี จึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๒๐๙/๒๕๕๐)

    มติของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีที่ให้ดำเนินการสรรหาบุคคลผู้มีความเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งคณบดีคณะวิทยาการจัดการใหม่มีผลเป็นการยกเลิกผลการสรรหาคณบดีคณะวิทยาการจัดการที่คณะกรรมการสรรหาคณบดีชุดเดิมได้ดำเนินการสรรหาและเสนอชื่อบุคคลให้สภาพิจารณาเลือกและแต่งตั้ง เท่ากับเป็นการปฏิเสธไม่พิจารณาเลือกและแต่งตั้งบุคคลที่มีการเสนอชื่อดังกล่าวเป็นคณบดีโดยปริยาย มติดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ. ๒๕๓๙ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๑๑๔/๒๕๕๐)

    มติของคณะกรรมการที่ปรึกษาของสภามหาวิทยาลัยรามคำแหงที่ไม่อนุมัติปริญญาเกียรตินิยมให้แก่ผู้ฟ้องคดี เป็นคำสั่งทางปกครองที่ออกในรูปของคณะกรรมการตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๕๔๖/๒๕๕๐)

    มติให้ยุติการจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งเภสัชกรของคณะกรรมการพิจารณาการเบิกจ่ายเงินเพิ่มพิเศษสำหรับแพทย์ทันตแพทย์ และเภสัชกร และคณะกรรมการการพิจารณาค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นคำสั่งทางปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๕๗๖/๒๕๕๐)

    มติของคณะกรรมการการประปาส่วนภูมิภาคที่อนุมัติให้การประปาส่วนภูมิภาคลงนามทำสัญญากับบริษัทเอกชนในการผลิตน้ำประปาจำหน่ายให้กับการประปาส่วนภูมิภาค เป็นลักษณะของการใช้อำนาจทางปกครองของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวกับการอนุมัติจ้าง จึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามข้อ ๑ (๒) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๕๘๖/๒๕๕๐)

    ใบอนุญาตให้ทำการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้าที่นายอำเภอออกให้แก่ผู้ประกอบกิจการร้านน้ำชาเพื่อจัดให้มีการเล่นดนตรี ร้องเพลงหรือใช้เครื่องขยายเสียง มีลักษณะเป็นการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. ๒๔๙๓ กระทำการที่มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหน้าที่ของผู้ฟ้องคดีซึ่งพักอาศัยในบริเวณใกล้เคียง มีลักษณะเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๔๒๖/๒๕๕๐)

    ใบอนุญาตให้รื้อถอนอาคารที่ผู้อำนวยการเขตสาทรออกให้แก่วัดยานนาวา เป็นใบอนุญาตที่ออกโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้รับใบอนุญาตในการรื้อถอนอาคาร จึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๔๙๔/๒๕๕๐)

    การที่ผู้ถูกฟ้องคดีได้อนุมัติให้ผู้ฟ้องคดีเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดิน และออกเอกสาร ส.ป.ก. ๔-๐๑ ให้แก่ผู้ฟ้องคดี ถือเป็นการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ ของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อให้เกิดสิทธิในการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๓๖๔/๒๕๕๐)

    คำวินิจฉัยอุทธรณ์เงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนของรัฐมนตรี แม้จะเป็นการวินิจฉัยหลังจากพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ก็ตามเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๑๙๗/๒๕๕๐)

    ประกาศอนุกรรมการข้าราชการครูสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง แก้ไขประกาศการขึ้นบัญชีและการยกเลิกบัญชีผู้ได้รับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งหรือเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียน และอาจารย์ใหญ่ สังกัดกองการมัธยมศึกษา ลงวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๔๕ เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของอนุกรรมการข้าราชการครูสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐอันมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือก จึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ และเข้าลักษณะเป็นการแจ้งผลการสอบหรือวัดผลความรู้ หรือความสามารถของบุคคลตาม (๒) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๓๙/๒๕๕๐)

    ประกาศผลการสอบคัดเลือกลูกจ้างชั่วคราวตำแหน่งครูผู้ดูแลเด็กขององค์การบริหารส่วนตำบล ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้ารับการคัดเลือกกับองค์การบริหารส่วนตำบลเกี่ยวกับการคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นคู่สัญญาในอัตราลูกจ้างชั่วคราวตำแหน่งดังกล่าว ประกาศผลการสอบคัดเลือกดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๘๘/๒๕๕๐)

    ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ถอนสัญชาติไทยของผู้ฟ้องคดีทั้งสองตามมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘ มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ถือเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๒-๓/๒๕๕๐)

    ประกาศคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดเรื่องยกเลิกผลการคัดเลือกที่ให้สิทธิผู้ฟ้องคดีเข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน และประกาศสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดเรื่องเพิกถอนหนังสืออนุญาต (ส.ป.ก. ๔ - ๐๑ ก.) ที่ออกให้แก่ผู้ฟ้องคดี มีผลทำให้ผู้ฟ้องคดีถูกตัดสิทธิมิให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว ประกาศทั้งสองฉบับจึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๔๗๙/๒๕๕๐)

    ประกาศผลการสอบภาคทฤษฎีของวิชาอายุรศาสตร์ ๒ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นการแจ้งผลการสอบหรือการวัดผลความรู้หรือความสามารถของบุคคล จึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๖๑๓/๒๕๕๐)

    ประกาศผลการประกวดราคาจ้างเหมาพัฒนาพื้นที่และปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ชุมชนเมืองปายของนายกเทศมนตรีตำบลปายซึ่งให้ผู้เสนอราคารายอื่นเป็นผู้ชนะทั้งที่ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด เป็นการ ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหาหรือให้สิทธิประโยชน์ มีผลเป็นการสั่งไม่รับคำเสนอราคาของผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นผู้ยื่นซองเสนอราคา อันกระทบต่อสิทธิและหน้าที่ของผู้ฟ้องคดี ประกาศดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามข้อ ๑ (๑) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๖๒๕/๒๕๕๐)

    คำสั่งของเจ้าพนักงานที่ดินที่ให้จำหน่ายส.ค.๑ ของบุคคลใดออกจากทะเบียนการครอบครอง เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการกระทบต่อสถานภาพของสิทธิของผู้แจ้ง ส.ค.๑ หรือผู้ครอบครองต่อเนื่องในที่ดินตาม ส.ค.๑ แปลงดังกล่าวที่ไม่อาจนำไปใช้เป็นหลักฐานในการขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือโฉนดที่ดินต่อไปได้ จึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๒๖๙/๒๕๕๑)

    คำสั่งของตำรวจภูธรภาค ๓ ที่สั่งไม่รับผู้ฟ้องคดีกลับเข้ารับราชการตามคำร้องของผู้ฟ้องคดี เป็นการที่ตำรวจภูธรภาค ๓ ใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ. ๒๕๒๑ และประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิ หรือหน้าที่ของบุคคล จึงมีลักษณะเป็นคำสั่งทางปกครอง (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๓๐๑/๒๕๕๑)

    คำสั่งของประธานกรรมการมรรยาททนายความที่ไม่รับข้อกล่าวหาของผู้ฟ้องคดีซึ่งกล่าวหาว่าทนายความที่รับว่าความให้ผู้ฟ้องคดีประพฤติผิดจรรยาบรรณ มีลักษณะเป็นคำสั่งทางปกครอง (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๔๓๘/๒๕๕๑)

    คำสั่งกระทรวงการคลังที่สั่งให้ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ทิ้งงานตามข้อ ๑๔๕ ทวิ (๒) ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ ในงานจ้างก่อสร้างอาคารอำนวยการผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุ ๗ ชั้น โรงพยาบาลร้อยเอ็ด เป็นคำสั่งทางปกครองตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๕๔๖/๒๕๕๑)

    การที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดได้สอบสวนเปรียบเทียบเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีคัดค้านการขอออกโฉนดที่ดินของนาย ส. แล้วมีคำสั่งว่า นาย ส. มีสิทธิในที่ดินดีกว่าผู้ฟ้องคดีจึงสามารถออกโฉนดที่ดินให้แก่นาย ส. ได้ นั้นเป็นคำสั่งที่เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจตามกฎหมายที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างเจ้าพนักงานที่ดินกับผู้ฟ้องคดีในอันที่จะมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิในการเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาท คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งทางปกครอง และแม้ว่าก่อนที่ศาลจะวินิจฉัยว่าคำสั่งดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความก่อนว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตามที่กล่าวอ้างหรือไม่ แต่เมื่อประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นเกี่ยวพันที่ศาลปกครองมีอำนาจที่จะวินิจฉัยก่อนได้เพื่อที่จะสามารถวินิจฉัยประเด็นความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีอันเป็นประเด็นหลักแห่งคดีต่อไป ทั้งนี้ ตามข้อ ๔๑ วรรคสอง ของระเบียบฯ ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครองฯ ศาลปกครองจึงมีอำนาจรับคำฟ้องในคดีนี้ไว้พิจารณาได้ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๒๙๕/๒๕๕๑)

    คำสั่งปฏิเสธการออกโฉนดที่ดินของเจ้าพนักงานที่ดินเป็นคำสั่งทางปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๓๘๔/๒๕๕๑)

    คำสั่งออกโฉนดที่ดินเป็นการใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายที่ดินที่มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิของบุคคล จึงเป็นคำสั่งทางปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๓๖๒/๒๕๕๑)

    คำสั่งของอธิบดีกรมที่ดินที่ให้เพิกถอนโฉนดที่ดินของผู้ฟ้องคดี เป็นการใช้อำนาจตามมาตรา ๖๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดินที่มีผลกระทบต่อสิทธิในการครอบครองที่ดินพิพาทของผู้ฟ้องคดี จึงเป็นคำสั่งทางปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๔๓๓/๒๕๕๑)

    คำสั่งของรองผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการฯ ที่อาศัยอำนาจตามมาตรา ๓๐ และมาตรา ๓๒ แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๘ สั่งให้เจ้าหน้าที่พ้นจากตำแหน่ง เป็นคำสั่งทางปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๔๕๔/๒๕๕๑)

    คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคาร ห้ามมิให้บุคคลใดใช้หรือเข้าไปในส่วนใดๆ ของอาคารหรือบริเวณก่อสร้าง และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จังหวัดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นคำสั่งทางปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๔๖๑/๒๕๕๑)

    การที่กรมที่ดินมีคำสั่งเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ ก.) ของผู้ฟ้องคดี โดยให้เหตุผลว่า เป็น น.ส.๓ ก. ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากออกโดยอาศัยหลักฐาน ส.ค.๑ ซึ่งเป็นหลักฐานสำหรับที่ดินแปลงอื่นและออกทับที่สาธารณประโยชน์ทั้งแปลง เป็นคำสั่งทางปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๖๑๑/๒๕๕๑)

    หนังสือของหน่วยงานทางปกครองที่เรียกให้เจ้าหน้าที่ของรัฐชำระค่าเสียหายจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ราชการเสียหาย เป็นการใช้อำนาจออกคำสั่งทางปกครองเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงเป็นคำสั่งทางปกครองซึ่งมีผลกระทบต่อสิทธิหรือหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิด (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๓๐๐/๒๕๕๑)

    หนังสือของอธิบดีกรมบัญชีกลางที่แจ้งการคำนวณบำนาญและจำนวนเงินบำนาญของผู้มีสิทธิจะได้รับเงินบำนาญ เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการที่มีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ในการได้รับบำเหน็จบำนาญของผู้ฟ้องคดี จึงมีลักษณะเป็นคำสั่งทางปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๔๓๗/๒๕๕๑)

    หนังสือของผู้อำนวยการเขตวังทองหลางที่แจ้งให้ผู้ฟ้องคดีทราบว่า ไม่อนุญาตให้ผู้ฟ้องคดีสร้างสะพานไม้ข้ามคลองเพื่อเชื่อมต่อกับทางสาธารณประโยชน์ เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของผู้ถูกฟ้องคดีที่มีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ฟ้องคดี จึงมีสภาพเป็นคำสั่งทางปกครองตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๕๒๒/๒๕๕๑)

    หนังสือบันทึกข้อความที่แจ้งให้ผู้ฟ้องคดีทราบว่า ผู้ฟ้องคดีขาดคุณสมบัติตามข้อ ๖ (๒) ของระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๘ เนื่องจากเป็นผู้มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ และเป็นผู้มีรายได้จากการประกอบการค้าหรือบ้านเช่า จึงขอถอนสิทธิการรับเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของผู้ฟ้องคดี มีผลเท่ากับระงับสิทธิการรับเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของผู้ฟ้องคดี จึงเป็นคำสั่งทางปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๖๓๑/๒๕๕๑)

    การออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงของอธิบดีกรมที่ดิน เป็นการใช้อำนาจตามมาตรา ๘ ตรี แห่งประมวลกฎหมายที่ดินของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างอธิบดีกรมที่ดินและผู้ฟ้องคดีทั้งเจ็ดในอันที่จะเปลี่ยนแปลง สงวน หรือระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิของผู้ฟ้องคดีทั้งเจ็ด ซึ่งครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว การออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งทางปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๖๖๑/๒๕๕๑)

    การที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลชัยพฤกษ์มีหนังสือทัณฑ์บนผู้ฟ้องคดีเนื่องจากเห็นว่าผู้ฟ้องคดีกระทำผิดเล็กน้อยจึงงดโทษให้ตามข้อ ๖๙ วรรคสาม ของประกาศคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดเลย เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ การทำทัณฑ์บนผู้ฟ้องคดีย่อมแสดงว่าผู้ฟ้องคดีกระทำผิดวินัยแล้ว หนังสือทัณฑ์บนฉบับดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งทางปกครองที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดี (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๗๓๑/๒๕๕๑)

    มติและคำสั่งของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ให้กรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดกาญจนบุรีพ้นจากตำแหน่ง เป็นการใช้อำนาจตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งพ.ศ. ๒๕๔๑ และข้อ ๑๐ (๕) ของระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดและผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งเป็นการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติและระเบียบ มิใช่เป็นการใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งทางปกครอง (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๓๔๓/๒๕๕๑)

    มติของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่กำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าโดยสารรถโดยสารประจำทางหมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียงที่มีเส้นทางต่อเนื่องและหมวด ๔ กรุงเทพมหานครเป็นการใช้อำนาจตามมาตรา ๑๙ วรรคหนึ่ง (๖) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ทำให้ผู้ประกอบการปรับอัตราค่าโดยสารรถประจำทางตามอัตราที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกำหนดมติดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งทางปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๕๐๕/๒๕๕๑)

    มติของคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ให้นักศึกษาไม่ผ่านการสอบวิทยานิพนธ์โครงการปริญญาเอกเป็นคำสั่งทางปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๕๑๐/๒๕๕๑)

    การที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาโดยเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาประกาศผลการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลางทางอินเตอร์เน็ตว่าผู้ฟ้องคดีไม่ผ่านการคัดเลือกเนื่องจากคะแนน O-NET ของผู้ฟ้องคดีไม่ตรงกับปีที่จบการศึกษา จึงขาดคุณสมบัติที่จะสมัครเข้ารับการคัดเลือกตามมติของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยถือเป็นคำสั่งทางปกครองตามนัยมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๙๑๐/๒๕๕๑)

    การอนุมัติสั่งจ้างผู้เสนอราคาลำดับถัดจากผู้ฟ้องคดีซึ่งเสนอราคาต่ำสุดในการประกวดราคา มีผลเป็นคำสั่งไม่รับราคาของผู้ฟ้องคดีไปด้วยในตัว จึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๔๒๖/๒๕๕๑)

    การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมซึ่งเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ได้วินิจฉัยอุทธรณ์เงินค่าทดแทนเมื่อพ้นกำหนดเวลาหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์เงินค่าทดแทนตามมาตรา ๒๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๐ถือเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล จึงเป็นคำสั่งทางปกครอง (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๕๔๗/๒๕๕๑)

    การรับจดทะเบียนการให้ที่ดินของเจ้าพนักงานที่ดินเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล จึงเป็นคำสั่งทางปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๓๐๐/๒๕๕๑)

    การที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธรไม่อนุมัติให้ขยายระยะเวลาการศึกษาชั้นปริญญาเอกโครงการหลักสูตรปริญญาโท – เอกควบ ออกไปอีก ๖ เดือน นับแต่วันสิ้นภาคการศึกษาให้แก่ผู้ฟ้องคดีตามคำขอ เป็นคำสั่งทางปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๓๐๘/๒๕๕๑)

    ผลการพิจารณาของคณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่พิจารณาให้ผู้ฟ้องคดีไม่ผ่านการคัดเลือกให้เป็นผู้มีสิทธิเข้าเสนอราคาในการประกวดราคาโครงการติดตั้งสัญญาณไฟจราจรในเขตเทศบาลตำบลสูงเนิน ซึ่งผลการพิจารณาดังกล่าวเป็นการสั่งรับหรือไม่รับคำเสนอรับจ้าง จึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๗๑๒/๒๕๕๑)

    การที่คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) มีมติให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีที่อุทธรณ์คำสั่งลงโทษไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้ ถือเป็นคำสั่งทางปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ ๙๑๗/๒๕๕๑)

    กรณีที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีในฐานะรักษาการในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายการเงินบัญชีและจัดเก็บผลประโยชน์ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบงานบัญชีและการเงิน ควบคุมดูแล กำกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินและจัดเก็บผลประโยชน์ ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องไม่ควบคุมดูแล และไม่ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชาปล่อยให้มีการทุจริตยักยอกเงินของทางราชการ อันถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๒๔๙/๒๕๕๒)

    คำสั่งจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร เป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๓๗๓/๒๕๕๒)

    การที่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครมีคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมผู้เป็นหุ้นส่วน หุ้นส่วนผู้จัดการและข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. เนื่องจากเห็นว่าสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวไม่ได้รับความยินยอมจากผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนตามมาตรา ๑๐๓๒ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นั้น เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลหรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ฟ้องคดี คำสั่งเพิกถอนดังกล่าว จึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๓๓๓/๒๕๕๒)

    คำสั่งของนายอำเภอพญาเม็งรายที่ไม่รับคำขอให้จดทะเบียนชื่อบิดาของผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. เนื่องจากบิดาของผู้ฟ้องคดีไม่สามารถแสดงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) หรือคำสั่งศาลที่ปรากฏว่าบิดาของผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินดังกล่าว เป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ ๓๔๗/๒๕๕๒)

    การที่อุตสาหกรรมจังหวัดแพร่มีคำ สั่งจ้างลูกจ้างชั่วคราวรายเดือนในตำแหน่งนักวิชาการมาตรฐานแทนผู้ฟ้องคดี เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการเงินและการคลังที่กระทรวงการคลังกำหนด จึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๕๐๒/๒๕๕๒)

    การที่อธิบดีกรมที่ดินมีคำสั่งให้แก้ไขรูปแผนที่ในโฉนดที่ดินของผู้ฟ้องคดีโดยแก้ไขเนื้อที่ในโฉนดที่ดินให้ลดลง เนื่องจากเป็นโฉนดที่ออกโดยคลาดเคลื่อนทับที่สาธารณประโยชน์บางส่วน คำสั่งของอธิบดีกรมที่ดินมีสถานะเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๕๒๙/๒๕๕๒)

    การที่เจ้าพนักงานที่ดินอาศัยอำนาจตามข้อ ๒(๑) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๔๙๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ มีคำสั่งปฏิเสธไม่จดทะเบียนไถ่ถอนการขายฝากที่ดินพิพาทและคำสั่งปฏิเสธไม่ลงชื่อผู้ฟ้องคดีในฐานะผู้จัดการมรดกของนาง พ. ลงในโฉนดที่ดินพิพาทเนื่องจากคำพิพากษาศาลฎีกามิได้พิพากษาให้ที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ใด คำสั่งของเจ้าพนักงานที่ดินเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๕๓๐/๒๕๕๒)

    คำสั่งของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลป่าป้อง ที่ให้ยกเลิกการเลื่อนระดับผู้ฟ้องคดีจากระดับ ๕ เป็นระดับ ๖ ตามมติของคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดเชียงใหม่เป็นคำสั่งที่กระทบสิทธิของผู้ฟ้องคดี ถือเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๕๖๕/๒๕๕๒)

    คำสั่งอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามมาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง มาตรการที่ ๑ มาตรการสนับสนุนผู้ประสงค์จะเริ่มอาชีพใหม่นอกระบบราชการ เป็นคำสั่งที่กระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ฟ้องคดีทำให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ราชการ จึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ ๕๘๔/๒๕๕๒)

    การที่ผู้อำนวยการแขวงการทางนครสวรรค์มีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากเขตทางหลวง มีลักษณะเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อเปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ฟ้องคดีอันเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๖๐๖/๒๕๕๒)

    คำสั่งของสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือที่แต่งตั้งให้บุคคลดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมวัสดุและเทคโนโลยีการผลิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มีผลเป็นการปฏิเสธไม่พิจารณาเลือกและแต่งตั้งผู้ฟ้องคดีเป็นหัวหน้าภาควิชาดังกล่าวโดยปริยาย จึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๖๔๖/๒๕๕๒)

    คำสั่งของปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เรียกให้ผู้ฟ้องคดีรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากกรณีที่ผู้ฟ้องคดีขับรถยนต์ประจำตำแหน่งประสบอุบัติเหตุเป็นเหตุให้รถได้รับความเสียหาย เป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ ๖๘๕/๒๕๕๒)

    กรณีที่นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกอบกับเทศบัญญัติเทศบาลนครเชียงใหม่เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๙ ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งออกใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้แก่บริษัท ด. เพื่อประกอบกิจการโรงแรม มีผลทำให้บริษัท ด. สามารถประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ตามที่ร้องขอคำสั่งดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๗๒๒/๒๕๕๒)

    คำสั่งของอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ที่ไม่บรรจุผู้ฟ้องคดีกลับเข้ารับราชการตามคำขอของผู้ฟ้องคดี เป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๗๒๗/๒๕๕๒)

    หนังสือของอธิบดีกรมการจัดหางานในฐานะนายทะเบียนจัดหางานกลางที่แจ้งให้บริษัทจัดหางาน ซึ่งประกอบกิจการจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศทราบถึงการหักหลักประกันของบริษัท เพื่อคืนเป็นค่าบริการและค่าใช้จ่ายให้แก่คนหางานตามมาตรา ๔๖ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นคำสั่งที่มีผลกระทบต่อสิทธิและหน้าที่ของบริษัทดังกล่าว จึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๒๖๑/๒๕๕๒)

    หนังสือของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่แจ้งยกเลิกการประกวดราคาตามประกาศประกวดราคาซื้อระบบสารสนเทศการประชุมคณะรัฐมนตรีแบบอิเล็กทรอนิกส์ (CABNET) อันเป็นการสั่งยกเลิกกระบวนการพิจารณาคำเสนอเป็นคำสั่งทางปกครองตามข้อ ๑ (๓) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๓๖๗/๒๕๕๒)

    กรณีที่ผู้อำนวยการไฟฟ้าเขตบางกะปิมีหนังสือปฏิเสธว่าไม่สามารถต่อกลับเครื่องวัดไฟฟ้าที่ทำการตัดฝากมิเตอร์ไว้ได้ เนื่องจากเกินกำหนดระยะเวลา ๑ ปี ที่จะขอต่อกลับเครื่องวัดไฟฟ้า ตามข้อ ๔๙ (๓) และ (๔) ของข้อบังคับการไฟฟ้านครหลวงว่าด้วยการใช้ไฟฟ้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นการใช้อำนาจตามข้อบังคับการไฟฟ้านครหลวง ว่าด้วยการใช้ไฟฟ้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๓๕ หนังสือดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ ๖๒๔/๒๕๕๒)

    กรณีที่ผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างสี่พระยาได้มีหนังสือ ที่ ศธ ๐๖๗๐.๐๙/๐๑๔๓ ลงวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๑ แจ้งระงับการจ่ายเงินวิทยฐานะของผู้ฟ้องคดี เมื่อคำสั่งดังกล่าวกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ฟ้องคดีทำให้ไม่ได้รับเงินวิทยฐานะ จึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๗๑๒/๒๕๕๒)

    การที่ผู้อำนวยการเขตบางกอกน้อยใช้อำนาจตามกฎหมายเพื่อรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง เพื่อการอนามัยสิ่งแวดล้อม และควบคุมดูแลที่สาธารณะตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครภายในเขตพื้นที่รับผิดชอบของตนเอง ประกาศยกเลิกสิทธิของผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ในอันที่จะทำการค้าขายบริเวณทางเท้าพิพาทในจุดผ่อนผัน ซึ่งประกาศดังกล่าวมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิของผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ ทำให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ไม่สามารถค้าขายในที่พิพาทได้ต่อไปเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๓๓๘/๒๕๕๒)

    ประกาศผลการสอบคัดเลือกเข้าเป็นพนักงานขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย เป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๔๑๐/๒๕๕๒)

    คำสั่งของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ให้ผู้ฟ้องคดีออกจากงานด้วยเหตุกระทำผิดวินัยเนื่องจากมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ แอบอ้างเรียกรับเงินหรือสิ่งของจากนักการเมืองท้องถิ่น ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๓๓ มาตรา ๓๕ และมาตรา ๔๗ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๕๐ และข้อ ๙ ข้อ ๗๕ ข้อ ๘๓และข้อ ๙๙ ของระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะระงับหรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ฟ้องคดีจึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ฟ.๒๘/๒๕๕๓)

    คำสั่งกรุงเทพมหานครที่เรียกให้เจ้าหน้าที่ในสังกัดรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนการกระทำละเมิดจากการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ตามมาตรา ๘ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นคำสั่งทางปกครอง (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๒๒/๒๕๕๓)

    กรณีที่นายอำเภอปงสอบสวนและมีคำวินิจฉัยว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยเป็นคู่สัญญากับองค์การบริหารส่วนตำบลออย เป็นเหตุให้สมาชิกภาพในการเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลออยของผู้ฟ้องคดีสิ้นสุดลง นับแต่วันได้รับเลือกตั้ง นั้น คำวินิจฉัยของนายอำเภอปงเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายที่มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิและหน้าที่ของผู้ฟ้องคดี จึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๗๘/๒๕๕๓)

    คำสั่งของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ที่เพิกถอนสถานภาพนักศึกษาของผู้ฟ้องคดี ย่อมกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ฟ้องคดี จึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๑๑๗/๒๕๕๓)

    คำสั่งของผู้อำนวยการเขตพญาไทที่สั่งให้รื้อถอนป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ทั้งหมดที่ติดตั้งอยู่บนอาคารของผู้ฟ้องคดี เป็นคำสั่งทางปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๑๖๑/๒๕๕๓)

    คำสั่งของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสีกายที่ไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนให้ผู้ฟ้องคดี เป็นคำสั่งที่มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ฟ้องคดี จึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๑๗๑/๒๕๕๓)

    ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบสามคนซึ่งเป็นผู้สูงอายุและเดิมเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพจากเทศบาลเมืองท่าช้างฟ้องขอเพิกถอนคำสั่งของนายกเทศมนตรีเมืองท่าช้างที่เพิกถอนสิทธิรับเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพของผู้ฟ้องคดีทั้งสิบสามคน เนื่องจากเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรม เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งทางปกครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๑๘๑/๒๕๕๓)

    หนังสือของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่แจ้งให้ผู้ฟ้องคดีทราบว่า สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาประกาศให้ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ไม่มีสิทธิเข้าสอบข้อเขียนตามหลักสูตรการพัฒนานักกฎหมายภาครัฐระดับกลาง เป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๕๗/๒๕๕๓)

    ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่ประกาศพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ถอดยศผู้ฟ้องคดี เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ฟ้องคดี เป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๑๕๙/๒๕๕๓)

  • นามธรรม 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文

    2020-05-16 08:33:24
    有 9 人按讚

    บทสรุปผู้บริหาร

    งานวิจัยเรื่อง ปัญหาสถานะและลำดับชั้นทางกฎหมายของกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ภายใค้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 : กรณีศึกษาพระราชกฤษฎีกา

    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้วางหลักคิดเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันในสังคมมนุษย์เกิดขึ้นเมื่อมีมนุษย์ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ซึ่งการอยู่ร่วมกันในสังคมนั้นต้องมี “กติกา” ในการอยู่ร่วมกัน แต่กติกา ที่สำคัญและมีความแน่นอนเหล่านั้นก็คือ “กฎหมาย” โดยกฎหมายที่ใช้บังคับคนในสังคมนั้นจะประกอบด้วยกฎหมายลายลักษณ์อักษรและกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ดังนั้นผู้ที่มีอำนาจในการกำหนดกติกาที่เป็นกฎหมายใช้บังคับคนในสังคมจะต้องมีที่มาและการวางกฎกติกาที่ได้รับความยินยอมและรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ และพบว่า การได้ให้คำนิยามความหมายของกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ตามกฎหมายระดับกฎหมายบัญญัติพบว่า มีกฎหมายอยู่ 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 5 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 3 วรรค 8 ให้นิยามถึง กระบวนการและแบบกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” หมายถึง พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบข้อบังคับอื่นใดที่เป็นการทั่วไปไม่เฉพาะเจาะจง ซึ่งพระราชกฤษฎีกา คือ กฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 5 วรรค 5 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 3 วรรค 8 ได้นิยามความหมายของกฎไว้เช่นเดียวกันว่า “กฎ” หมายถึง พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติทั้งถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใด หรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ” จะเห็นได้ว่ากฎหมายทั้ง 2 ฉบับให้นิยามความหมายของ กระบวนการและแบบกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” โดยยกตัวอย่างชนิดของ กระบวนการและแบบกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ขึ้นกล่าวนำว่า “...พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติทั้งถิ่น.ระเบียบข้อบังคับหรือบทบัญญัติอื่นที่มีผลเป็นการทั่วไป” นั้นแสดงให้เห็นว่า กระบวนการและแบบกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” เป็นกระบวนการและแบบกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” หรือบรรทัดฐานทางกฎหมายที่เป็นการแสดงเจตนาในทางมหาชนฝ่ายเดียว กำหนดสิทธิหน้าที่ให้แก่ผู้อยู่ภายใต้บังคับของกระบวนการและแบบกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ในส่วนท้ายที่กล่าวว่า “โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใด หรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ” แสดงให้เห็นถึงลักษณะที่เป็นการใช้บังคับทั่วไปของ “กฎ” ฉะนั้นกระบวนการและแบบกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” จึงมีลักษณะเป็นการกำหนดกฎเกณฑ์ในลักษณะเป็น “นามธรรม” เพื่อให้ใช้บังคับครอบคลุมข้อเท็จจริงจำนวนมาก

    แต่อย่างไรก็ตามปัญหาพระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญที่ยังคงมีความสับสนอยู่ว่ามีสถานะทางกฎหมายอยู่ในลำดับชั้นทางกฎหมายในระดับใดระหว่าง “กฎหมายบัญญัติ” กับ “กฎหมายลำดับรอง” หรือ “กฎ” ซึ่งเมื่อพิจารณาศึกษาตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ให้ความหมายของ “กฎ” ว่า รวมทั้งคำพิพากษาศาลปกครองได้ให้พิพากษาว่า พระราชกฤษฎีกาอภัยโทษมีฐานะเป็น “กฎ” แต่ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญกำหนดให้คำวินิจฉัยผูกพันทุกองค์กร ได้วินิจฉัยพระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญ คือ พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรให้มีการเลือกตั้งใหม่มีสถานะทางกฎหมายเป็น “กฎหมาย” อยู่ในลำดับชั้นกฎหมายบัญญัติ นับเป็นเรื่องที่จะศึกษาปัญหาสถานะทางกฎหมายและลำดับชั้นทางกฎหมายอยู่ 3 ประการ คือ

    ปัญหาประการที่ 1 พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรที่ออกโดยอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญในลักษณะใดบ้างมีสถานะทางกฎหมายและมีลำดับชั้นของกฎหมายใดระหว่างกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” กับ “กฎหมาย”

    ปัญหาประการที่ 2 พระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ ศาลปกครองได้พิพากษาศาลว่า มีสถานะกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” แต่ไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง

    ปัญหาประการที่ 3 พระราชกฤษฎีกาพระราชกฤษฎีกาที่มีลักษณะเป็นการใช้พระราชอำนาจตามอัธยาศัยของพระมหากษัตริย์นี้จะไม่อยู่ในฐานะฝ่ายปกครองศาลจะมีอำนาจเข้าตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายได้หรือไม่

    ดังนั้นงานวิจัยนี้ผู้วิจัยมีความมุ่งมั่นเพื่อจะศึกษาถึงการนำรูปแบบการกระทำของฝ่ายบริหารขนิดที่เรียกชื่อว่า “พระราชกฤษฎีกา” มาใช้ในระบบกฎหมายไทย มีประเภทใดบ้าง มีสถานะและลำดับชั้นทางกฎหมายอย่างไร สมควรที่จะใช้รูปแบบนี้หรือไม่ หรือมีทางเลือกอื่นและเกี่ยวข้องกับประเด็นการคุ้มครองสิทธิการควบคุมตรวจสอบได้หรือไม่เพียงใด

    จากศึกษาพบว่าการที่ประเทศไทยได้นำรูปแบบการกระทำของฝ่ายบริหารชนิดที่เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกา” มาใช้พบว่า มีปัญหาว่าพระราชกฤษฎีกาแต่ละฉบับปัญหาในเรื่องมีสถานะและลำดับชั้นทางกฎหมายในระดับใด ระหว่าง “กฎหมายในระกับกฎหมายบัญญัติ” หรือ กฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” หรือเป็น “การกระทำของประมุขของรัฐ” ที่เป็นการกระทำตามทฤษฎีว่าด้วย “การกระทำของรัฐบาล” และศาลสามารถเข้ามาตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและความชอบด้วยกฎหมายหรือได้หรือไม่ เมื่อพิจารณาศึกษาด้วยการวิเคราะห์พบว่ามีแนวทางแก้ไขปัญหาของพระราชกฤษฎีกา ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 25560 พบว่า สามารถแยกมีสถานะทางกฎหมายพระราชกฤษฎีกามี อยู่ 4 ประเภท ดังนี้

    ประเภทที่ 1 พระราชกฤษฎีกาที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยการให้พระราชอำนาจในฐานะประมุขของรัฐเป็นไปตามพระราชอัธยาศัยซึ่งบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญโดยตรง คือ พระราชราชกฤษฎีกาการจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 อาศัยอำนาจมาตรา 15 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีสถานะทางกฎหมายเป็นกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ตามแบบพิธี แต่ไม่เป็นกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” เชิงเนื้อหาที่อยู่ภายใต้การบังคับมาตรา 11 (2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และเป็นการกระทำเป็นการกระทำในฐานะประมุขของรัฐ หลักทฤษฎีว่าด้วย “การกระทำทางรัฐบาล” ปัญหาต่อมา พระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวสามารถตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและชอบด้วยกฎหมายได้หรือไม่ จากการสุมภาษณ์เชิงเจาะลึก ตุลการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง พบว่าภายใต้บทบัญญัติมาตรา 15 ให้ตราพระราชกฤษฎีกาตามอัธยาศัย เป็นพระราชอำนาจให้พระมหากษัตริย์ใช้ตราพระราชกฤษฎีกาตามลำพังพระองค์เอง ถือเป็นการกระทำในฐานะประมุขของรัฐ ตามหลักทฤษฎีว่าด้วย “การกระทำทางรัฐบาล” จะไม่อยู่ภายใต้การตรวจสอบของศาลแต่อย่างไร

    ประเภทที่ 2 พระราชกฤษฎีกาที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยการให้พระราชอำนาจในฐานะประมุขของรัฐไม่เป็นไปตามพระราชอัธยาศัยซึ่งบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญโดยตรง จะพบว่ามีอยู่ 3 ลักษณะ ดังนี้
    ลักษณะที่ 1 พระราชกฤษฎีกาที่มีลักษณะเป็นการกระทำทางการเมือง เช่น พระราชกฤษฎีกาปิดเปิดสมัยประชุมรัฐสภา พระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกฎหมายตามแบบเนื้อความ แต่มีลักษณะเป็น “กฎหมายตามแบบพิธี” เช่น พระราชกฤษฎีกาเปิดปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น พระราชกฤษฎีกาเหล่านี้เป็นการกระทำทางการเมือง หรือเรียกว่า “การกระทำทางรัฐบาล” โดยหลักการแล้วจะไม่อยู่ภายใต้การควบคุมตรวจความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและชอบด้วยกฎหมายขององค์กรตุลาการ
    ลักษณะที่ 2 พระราชกฤษฎีกาที่มีลักษณะเกี่ยวพันกับการกระทำทางการเมืองกับการกระทำทางปกครอง เช่น พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรในส่วนการจัดการเลือกตั้ง ไม่ถือว่า เป็น “กฎหมายในระดับกฎหมายบัญญัติ” กับ กฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” กล่าวคือ ไม่ถือว่าเป็น กฎหมายในระดับกฎหมายบัญญัติเพราะมีชื่อในรูปแบบของพระราชกฤษฎีกา ตาม “แบบพิธี” ไม่ถือว่าเป็นกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ตาม “แบบเนื้อหา” เพราะว่าไม่เข้าข่ายข้อพิจารณาของคำว่า “กฎ” ที่เป็น “นามธรรม” และ “เป็นการทั่วไป” ตามมาตรา 9 (1) และตามมาตรา 11 (2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
    ลักษณะที่ 3 พระราชกฤษฎีกาที่มีลักษณะเป็นการใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ นี้จะไม่อยู่ในฐานะฝ่ายปกครอง แต่มีสถานะทางกฎหมายเป็น “กฎ” กล่าวคือ พระราชกฤษฎีกาที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยการใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในสถานะทางประมุขของรัฐ ซึ่งบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญโดยตรง และการใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์นี้จะไม่อยู่ในสถานะทางฝ่ายปกครองและมิใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐตาม มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 เช่น พระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ ซึ่งศาลปกครองสูงสุดที่ ได้วินิจฉัยว่าไม่อยู่ในเขตอำนาจปกครอง

    ประเภทที่ 3 พระราชกฤษฎีกาที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญโดยตรงประกอบกับกฎหมายในระดับกฎหมายบัญญัติที่ให้อำนาจไว้เป็นการเฉพาะ มีออยู่ 2 ลักษณะ คือ
    ลักษณะที่ 1 พระราชกฤษฎีกาที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญประกอบกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ พระราชกฤษฎีกาที่เป็นการใช้อำนาจของรัฐบาล ร่วมกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง เสนอให้พระมหาพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นเพื่อให้มีการจัดกการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ไม่ถือว่า เป็น “กฎหมายระดับกฎหมายบัญญัติ” กับ กฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” กล่าวคือ ไม่ถือว่าเป็น กฎหมายในระดับกฎหมายบัญญัติเพราะมีชื่อในรูปแบบของพระราชกฤษฎีกา “ตามแบบพิธี” ไม่ถือว่าเป็นกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” “ตามแบบเนื้อหา” เพราะว่าไม่เข้าข่ายข้อพิจารณาของคำว่า “กฎ” ที่เป็น “นามธรรม” และ “เป็นการทั่วไป” แต่อยู่ภายใต้การตรวจสอบของศาลปกครองตามมาตรา 231 (2) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นการกระทำอื่นใดการกระทำอื่นใดของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายให้เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลปกครองให้ศาลปกครองพิจารณาวินิจฉัยโดยไม่ชักช้าตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
    ลักษณะที่ 2 พระราชกฤษฎีกาที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญประกอบกับพระราชบัญญัติหรือกฎหมายเทียบเท่าพระราชบัญญัติ กล่าวคือ พระราชกฤษฎีกาที่เป็นการใช้อำนาจของรัฐบาลในสถานะทางที่เป็นฝ่ายปกครอง มีสถานะทางกฎหมายเป็น “กฎ” เช่น พระราชกฤษฎีกาเกี่ยวกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ พระราชกฤษฎีกาการเวนคือที่ดิน หรือพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตอุทยาน พระราชกฤษฎีกายุบรวมหรือโอนส่วนราชการ มีสถานะทางกฎหมายเป็นกฎหมายลำดับรองที่มีฐานะเป็น “กฎ” ตามเจตนารมณ์ของคำนิยามความหมายของพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 5 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 3 วรรค 8 เป็นต้น อยู่ภายใต้การตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกาอยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง ภายใต้บทบัญญัติมาตรา 11 (2) พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

    ประเภทที่ 4 พระราชกฤษฎีกาที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นเพื่อบังคับใช้ในราชการฝ่ายบริหารสำหรับเรื่องสำคัญบางเรื่อง ตามมาตรา 175 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ตราพระราชกฤษฎีกาโดยไม่ขัดต่อกฎหมายในระดับกฎหมายบัญญัติ เช่นพระราชกฤษฎีกาที่ออกมาเพื่อใช้กับฝ่ายบริหารเพียงอย่างเดียวไม่บังคับใช้กับประชาชนทั่วไป ซึ่งเป็นกรณีที่รัฐบาลเห็นสมควรตราข้อบังคับใช้ในการบริหารงานทั่วไป ในกิจการของฝ่ายบริหาร เช่น พระราชกฤษฎีกาว่าด้วย เบี้ยประชุมกรรมการ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเบิกค่าเช่าบ้านของข้าราชการ พระราชกฤษฎีกาว่ด้วยการร้องทุกข์ในพระราชสำนัก เป็นต้น ถ้ากรณีดังกล่าวมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและชอบด้วยกฎหมายกฎหมายจากถูกตรวจสอบโดยศาลปกครอง ภายใต้บทบัญญัติมาตรา 11 (2) พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

  • นามธรรม 在 เทรด Forex สบาย ๆ ยังไงให้ยั่งยืน Facebook 的最佳解答

    2020-04-13 17:34:37
    有 81 人按讚

    สงกรานต์นี้ ร่วมรดน้ำใจ (นามธรรม)
    ------------------------------------------------
    #แจก AudioBook
    "ล้างพอร์ตทำไม ไม่จำเป็น"
    .
    .
    ผมขอแบ่งปันคำสอนพระอาจารย์ชยสาโร
    .
    "สงกรานต์ปีนี้
    เราคงต้องเปลี่ยนการรดน้ำ
    ด้วยรูปธรรมคือน้ำธรรมดา
    ให้เป็นนามธรรมคือน้ำใจ"
    .
    ขอให้เราทุกคนเริ่มปีใหม่ของไทย
    ด้วยการแสดงน้ำใจไมตรีต่อกัน
    .
    ขอให้รดน้ำคนรอบข้าง ด้วยการกระทำ
    และการพูดที่สะท้อนความรัก ความเคารพ
    การสำนึกในสิ่งที่ดีที่เราได้รับและได้ให้
    .
    ขอให้แสดงน้ำใจและความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ
    ทางโทรศัพท์หรือสื่อออนไลน์
    การระลึกถึงกันด้วยใจบริสุทธิ์
    .
    สิ่งแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรต่อไป
    ไม่มีใครทราบได้ แต่สิ่งที่เรามั่นใจได้คือ:
    .
    .
    ตราบใดที่เรามีน้ำใจต่อกันและกัน
    สังคมเรายังคงมีความหวัง
    .
    .
    *******************************
    ผมขอแบ่งปัน รดน้ำใจให้กับเพื่อนๆ
    download Audiobook ได้ที่นี่
    https://bit.ly/34HO8db
    *******************************
    .
    .
    #Share ให้ถึงเพื่อนๆ ที่เรารัก
    #Download เก็บไว้ฟังกัน
    #สุขสันต์วันสงกรานต์
    .
    .
    เบญศพล #traderathome

你可能也想看看

搜尋相關網站