[爆卦]ท้องฟ้าครึ้ม是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇ท้องฟ้าครึ้ม鄉民發文沒有被收入到精華區:在ท้องฟ้าครึ้ม這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 ท้องฟ้าครึ้ม產品中有1篇Facebook貼文,粉絲數超過67萬的網紅Wannasingh Prasertkul (วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล),也在其Facebook貼文中提到, #ทีมEstonia มะครับ ลองดู ขอนำเสนอบ้างครับ ไม่เคยไปอยู่ แต่เคยไปถ่ายรายการมาค่อนข้างประทับใจ ใครมีข้อมูลเพิ่มก็มาแชร์กัน Estonia ประเทศเล็กๆ อดีตสหภา...

  • ท้องฟ้าครึ้ม 在 Wannasingh Prasertkul (วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล) Facebook 的最讚貼文

    2021-05-06 11:18:11
    有 8,114 人按讚

    #ทีมEstonia มะครับ

    ลองดู ขอนำเสนอบ้างครับ ไม่เคยไปอยู่ แต่เคยไปถ่ายรายการมาค่อนข้างประทับใจ ใครมีข้อมูลเพิ่มก็มาแชร์กัน

    Estonia ประเทศเล็กๆ อดีตสหภาพโซเวียต ซึ่งตอนนี้ไฮเทคมาก จุดเด่นอยู่ที่ระบบดิจิดอลที่ดีเกือบที่สุดในโลก และมีรัฐบาลแบบ E-Government (อันนี้ข้อมูลที่ได้มาเมื่อปี 2019 นะครับ ไปมาปีนั้น) เขียนไว้ครั้งแรกที่
    https://web.facebook.com/wannasingh/posts/2069733896397754

    ข้อเสีย หน้าหนาวอากาศแย่ฮะ (บางคนอาจจะชอบ) ท้องฟ้าครึ้ม ชวนหดหู่มาก ธงชาติเขาสามสี สีขาวคือพื้นหิมะ สีดำคือต้นไม้ที่ไม่มีใบในหน้าหนาว สีฟ้าคือท้องฟ้าครับ
    -------------------------------------------------
    E Government คือ?

    - 99% ของการใช้บริการของภาครัฐ สามารถทำออนไลน์ได้ ตั้งแต่เลือกตั้งออนไลน์ จ่ายภาษี จดทะเบียนรถ จดทะเบียนบริษัท ทำHealthCare เช็คเกรดลูกที่โรงเรียน ไปจนถึงเช็คกรุ๊ปเลือดของผู้ประสบอุบัติเหตุบนท้องถนน ฯลฯ (มีแค่สามสิ่งที่กฏหมายจงใจให้ทำออนไลน์ไม่ได้คือ แต่งงาน หย่าร้าง และซื้อขายที่ดิน เพราะถือว่าเป็นเรื่องความเสี่ยงสูง ต้องมายืนยันด้วยตัวเอง)

    -ทุกอย่างนี้ทำผ่าน one stop portal คือเวปไซต์กลางแห่งเดียวของรัฐบาล ที่ทำการเชื่อมต่อ ฐานข้อมูลทุกชนิดจากทุกหน่วยงานเข้าด้วยกันผ่านระบบส่วนกลางที่ชื่อว่า X Road

    -รัฐธรรมนูญของเอสโทเนียระบุเอาไว้ว่าการเข้าถึง Free Internet เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนทุกคน เพราะฉะนั้น ไปไหนก็มี Free Wifi ให้ใช้แทบทุกหย่อมหญ้า ใช้ได้แทบทุกที่

    -ประชาชนทุกคนมีบัตรประชาชนที่สามารถเอาไว้ใช้ยืนยันตัวตนของตัวเองในโลกออนไลน์ได้ (ใช้พร้อมกับรหัสส่วนตัว) + คอมพิวเตอร์แทบทุกเครื่องใน Estonia จะมีเครื่องอ่าน Smart Card แบบที่มีชิปฝังอยู่ในตัว

    - ข้อมูลแทบจะทุกอย่างของประชาชนทุกคนจะถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูลออนไลน์ตั้งแต่เกิดยันตาย ภายใต้รหัสประจำตัวประชาชน

    - การใช้ลายเซ็นดิจิตอลโดยใช้บัตรประชาชนและรหัสส่วนตัว ถือว่ามีผลบังคับใช้ทางกฏหมายเหมือนลายเซ็นจริงๆ

    -ตัวรัฐบาลเองก็พยายามลดการใช้เอกสารกระดาษให้เหลือ 0% ลดขั้นตอนเชิงราชการลงให้น้อยที่สุด แม้แต่ตัวรัฐบาลเองก็มีการทำงานแบบ e carbinet ซึ่งเน้นการประหยัดเวลาด้วยเครื่องมือออนไลน์ เช่น ประชุมออนไลน์เป็นหลัก และก่อนประชุมจะมีการส่งหัวข้อที่จะโหวตให้ก่อน ถ้าเกิดว่าทุกคนเห็นพ้องต้องกันตั้งแต่ก่อนประชุมแล้ว เวลาประชุมจริงก็ข้ามเรื่องนั้นไปเลย เอาเวลาไปคุยเรื่องอื่นๆแทน

    -ระบบนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่บริการของภาครัฐ ID เดียวกันนี้สามารถใช้บริการธนาคารเอกชน ขึ้นรถเมล์รถแท็กซี่ หรือแม้กระทั่งสะสมแต้มในร้านค้าต่างๆ เพราะมีการเชื่อมระบบฐานข้อมูลของทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชนเข้าหากัน ทำให้บัตรประชาชนใบเดียวสามารถทำหน้าที่แทนบัตรจำนวนมากที่คนประเทศอื่นๆต้องพกได้

    นอกจากนี้ยังมีโปรเจคล้ำๆอื่นๆอีกมากมายที่กำลังพัฒนาอยู่เช่น ให้พ่อแม่กดเลือกตั้งแต่ตอนลูกเกิดเลยว่าจะเข้าเรียนโรงเรียนไหน เพื่อที่จะสามารถวางแผนพัฒนาโรงเรียนให้เพียงพอต่อความต้องการของสังคมเมื่อเด็กโตขึ้นมาถึงวัยเรียนจริงๆ

    โดยไอเดียทั้งหมดก็เพื่อให้ทุกอย่างที่มักจะกินเวลาเยอะ กลายเป็นเรื่องง่ายและสะดวกที่สุด เพื่อที่ทุกคนจะได้เอาเวลาไปทำสิ่งที่มีประโยชน์และอยากทำแทน

    แต่แน่นอนว่าในระบบที่ทุกคนมีฐานข้อมูลออนไลน์ละเอียดยิบขนาดนี้ ก็ย่อมมีความเสี่ยงในหลายๆรูปแบบตามมา ซึ่งในระยะเวลาสามสิบปีที่เอสโทเนียพัฒนาระบบนี้มา ก็ทำให้มีมาตรการรับมือแต่ละข้ออย่างชัดเจน
    รัฐหรือบริษัทไหนจะเอาข้อมูลส่วนตัวเราไปทำอะไรไหม?

    - แนวคิดที่เจ๋งมากๆของระบบ E government นี้ก็คือว่า มันไม่ได้มีรากฐานมาจากแนวคิดว่ารัฐเป็นเจ้าของข้อมูลของประชาชน หรือรัฐมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลทุกอย่างของเราเพื่อรักษาความมั่นคงหรืออะไรก็ตามแต่ แต่ในทางกลับกัน ระบบนี้มองว่าประชาชนทุกคนยังเป็นเจ้าของข้อมูลของตัวเองอยู่ และรัฐเปรียบเสมือนเป็นเพียงผู้ให้บริการเชิงฐานข้อมูล ส่วนเราจะเลือกเปิดเผยข้อมูลส่วนไหนให้ใครบ้างก็เป็นสิทธิของเรา ถ้าให้เปรียบก็คงจะเหมือนกับธนาคาร ที่ถึงแม้ธนาคารจะเป็นผู้เก็บเงินไว้ แต่ความเป็นเจ้าของก็ยังเป็นของเราอยู่ดี ซึ่งในเชิงปฏิบัติแปลว่า

    - เราสามารถเลือก block ข้อมูลบางส่วนที่เราไม่อยากให้ใครรู้เลยได้

    - ทุกครั้งที่มีคนเข้ามาดูข้อมูลของเรา ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ แพทย์ หรือว่าทนาย เราจะได้รับการเตือนจากระบบทันที ทั้งชื่อของคนที่มาดู วันเวลาที่เข้ามา และจำนวนข้อมูลที่ถูกเปิดเผยไป ซึ่งประชาชนทุกคนมีสิทธิ์ตามกฏหมายที่จะเรียกร้องขอคำอธิบายจากเจ้าหน้าที่ ถึงเหตุที่ต้องเข้ามาดูข้อมูล และหากไม่พอใจคำอธิบาย สามารถนำไปฟ้องต่อในชั้นศาลได้

    - ทุกหน่วยงานจะมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลบนพื้นฐานของสิ่งที่ "ต้องรู้" เท่านั้น (Need to know Basis) เช่นไปรษณีย์อาจจะเข้าถึงที่อยู่ของเราได้ แต่ไม่มีสิทธิดูข้อมูลสุขภาพเรา เพราะไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับบริการของหน่วยงาน และตัวระบบได้ออกแบบไว้ให้เจ้าหน้าที่รัฐทุกคนเข้าถึงข้อมูลได้ตามหน่วยงานที่ตัวเองสังกัดเท่านั้น และต้องอธิบายได้ทุกครั้งว่าเข้าไปดูข้อมูลเหล่านั้นทำไม ไม่เช่นนั้นอาจถูกไล่ออกหรือทำโทษได้

    ทุกอย่างเป็นดิจิตอลไม่เสี่ยงไปหน่อยเหรอ ? ถ้ารัฐโดน Hack จะทำไง
    จริงๆ Estonia เคยโดน Cyber Attack ครั้งใหญ่มาแล้วหนหนึ่งในปี 2008 ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับประเทศเป็นอย่างมาก ซึ่งหลังจากนั้นก็ได้พัฒนาระบบไปในทิศทางที่ Decentralized มากๆคือ

    - ไม่ได้เก็บฐานข้อมูลไว้ในที่ใดที่เดียว แต่เก็บไว้อย่างกระจายมากๆ ทำให้การ Hack ส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบไม่สามารถสร้างความเสียให้กับระบบโดยรวมได้

    - มีการนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ คือไม่ได้เก็บข้อมูลใน Server เดียว แต่กระจายระบบไปยัง Network ของคอมพิวเตอร์จำนวนมากที่ช่วยกันสอดส่องและสนับสนุนระบบพร้อมๆกัน (แบบBitCoin) ทำให้ hack ยากมาก

    - มีการตั้งหน่วย Cyber Defense ขึ้นมาอย่างจริงจัง มีการTrainและRecruit hackerทั้งหลายเข้าไปช่วยทำงาน และรับอาสาสมัคร Cyber Defense Unit จำนวนมากมาช่วยงาน

    ****** และอีกด้านนึงที่น่าสนใจมากๆคือ Estonia ได้เปิดโครงการชื่อ e-Residency ที่ให้คนจากที่ไหนก็ได้บนโลก สมัครเข้ามาเป็น "ประชากรออนไลน์" ของประเทศ ซึ่งไม่ได้แปลว่าให้วีซ่ามาอาศัยอยู่ในEstonia แต่หมายความว่าสมาชิกจะสามารถจดทะเบียนธุรกิจ เปิดบัญชี จ่ายภาษี ฯลฯ ทำทุกอย่างออนไลน์ได้ราวกับว่าเขาเป็นคนEstonia โดยที่ไม่จำเป็นต้องเคยมาเยือน Estonia เลยก็ได้ โดยทุกอย่างสามารถทำผ่านบัตร ID Card ไม่ต่างอะไรกับที่ชาวเอสโทเนียใช้

    มุมมองนี้น่าสนใจมากๆคือ เขามองประเทศและรัฐบาลขของเขาเป็น "Service" ที่กำลังแข่งขันกับรัฐบาลอื่นๆทั่วโลกเพื่อดึงดูดให้คนมาทำธุรกิจในประเทศเขา ซึ่งจุดขายสำคัญของเขาก็ระบบที่โคตรจะมีประสิทธิภาพ และการที่ทุกอย่างสามารถทำ Online ได้ ซึ่งสิ่งนี้ได้ดึงดูดให้บริษัท Startup ทั้งหลายจากทั่วทุกมุมโลกไปเริ่มธุรกิจของตัวเองที่ Estonia (หลายคนอาจะไม่รู้ว่า Skype จริงๆก็มาจาก Estonia) และตัวรัฐบาลเองก็มีแนวคิดชัดเจนที่ไม่ยึดติดกับการแบ่งชนชาติ แบ่งชายแดน แต่กลับตัวเองให้น่าดึงดูดที่สุดสำหรับประชากรโลกมากที่สุด และเขาตั้งใจจะเป็น The world biggest virtual country ในขณะที่ในเชิงกายภาพเขามีขนาดเล็กนิดเดียว

    ซึ่งนี่อาจจะเป็นหน้าต่างที่เราจะสามารถเห็นโลกในอีก50-100ปีข้างหน้าก็ได้ โลกที่มนุษย์ทกคนไม่ได้ถูกจำกัดให้ต้องเป็นสมาชิกของสังคมตามพื้นที่ที่เราเกิด แต่เราสามารถเลือกได้ว่าเราอยากจะเป็นสมาชิกของสังคมไหนตามมุมมอง วัฒนธรรม ค่านิยม และวิถีชีวิตของเรา ทำให้ผมเฃื่อว่าแนวคิดที่กำลังนำการพัฒนาของ Estonia อยู่ในตอนนี้เป็นสิ่งที่มองการไกลเป็นอย่างมา

你可能也想看看

搜尋相關網站