[爆卦]ทฤษฎีหมวก 6 ใบ pdf是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇ทฤษฎีหมวก 6 ใบ pdf鄉民發文沒有被收入到精華區:在ทฤษฎีหมวก 6 ใบ pdf這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 ทฤษฎีหมวก產品中有3篇Facebook貼文,粉絲數超過329萬的網紅อายุน้อยร้อยล้าน,也在其Facebook貼文中提到, เคล็ดลับการทำธุรกิจ "ให้เชื่อมั่นในตัวเองและเข้าใจผู้อื่น " จาก Kong Story . การทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้ ไม่มีสูตรสำเร็จที่ตายตัว แต่ก็ขึ้นอยู่กั...

  • ทฤษฎีหมวก 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的最佳解答

    2021-04-28 11:00:00
    有 245 人按讚

    เคล็ดลับการทำธุรกิจ "ให้เชื่อมั่นในตัวเองและเข้าใจผู้อื่น " จาก Kong Story
    .
    การทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้ ไม่มีสูตรสำเร็จที่ตายตัว แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่า คุณมีความเชื่อมั่นในตัวเองมากน้อยแค่ไหน กล้าที่จะก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวเองให้ได้มากกว่าครอื่นได้หรือไม่ และการทำธุรกิจก็ต้องรู้จักตัวเองและเข้าใจผู้อื่นให้มากได้อีกด้วย ถึงจะทำให้ธุรกิจของคุณได้เปรียบมากกว่าธุรกิจอื่นใด ๆ วันนี้ขอมอบ 4 เคล็ดลับที่ไม่ใช่สูตรตายตัว แต่สามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจได้กับทุกคน
    .
    1.ก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวเอง แค่เชื่อก็สำเร็จได้
    ความเชื่อ เป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อความสำเร็จ ที่ถ้าทุกคนรู้เท่าทันความคิดตัวเอง ก็มีโอกาสชนะมากกว่าคนอื่น ๆ ความเชื่อคนเราเปลี่ยนได้ และสามารถก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวเอง
    .
    ถ้าเชื่อว่าทำได้ เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์จากจิตใต้สำนึก ก็สามารถทำอะไร ๆ ในชีวิตได้มากกว่าเดิม ทำไมถึงเป็นแบบนั้น ?
    .
    ยกตัวอย่าง ในสมัยก่อนมีคณะละครสัตว์ในอเมริกา ฝึกเห็บม้าด้วยการให้กระโดดในขวดโหลที่ปิดฝา เมื่อเห็บกระโดดไปชนฝาก็จะตกลงมา และปรากฎว่าเมื่อเอาไปโชว์งานแสดงละครสัตว์ เขาจะเปิดฝาโหล แล้วเห็บตัวนี้ก็จะกระโดดอยู่แค่ในขวดโหล เพราะมันเชื่อว่ากระโดดได้อยู่นี้นั่นเอง
    .
    ดังนั้นถ้าหากอยากจะพัฒนาศักยภาพ ข้ามขีดจำกัดของตัวเอง ต้องพัฒนาที่ 'ความเชื่อ' ซึ่งสามารถทำได้ด้วยตัวเองง่าย ๆ 3 วิธี
    .
    1. ถามตัวเอง หรือหาที่ปรึกษา (Coaching)เพื่อตั้งคำถามให้กับตัวคุณเองว่า คุณทำสิ่งนั้นได้หรือไม่ แล้วสร้างความเชื่อมั่นให้ตัวเอง เช่น ธุรกิจที่กำลังทำอยู่จะประสบความสำเร็จได้ไหม? ธุรกิจนี้สำคัญกับคุณอย่างไร? จะเป็นไปได้ไหมถ้าคุณจะทุ่มเทกับธุรกิจแล้วทำมันให้สำเร็จ?
    .
    2. หาแรงบันดาลใจดีๆ อยู่กับสิ่งที่ดี ๆ สร้างความเชื่อไปในทางที่เป็นบวก เช่น ฟังเพลง ดูยูทูปเกี่ยวกับการพัฒนาตัวเอง หรือพัฒนาธุรกิจ ยกตัวอย่าง ดูรายการอายุน้อยร้อยล้าน 😁
    .
    3. สิ่งที่ห้ามทำ ควรเลิกคิดหรือมีความเชื่อทางด้านลบ ๆ ว่าตัวเองนั้นทำไม่ได้
    -ฉันอ่อนแอเกินไป
    -ฉันไม่สามารถตื่นเช้าได้
    -ฉันไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้
    -ฉันค้าขายไม่เก่ง
    -ฉันไม่เก่งเรื่องดิจิตอล
    -ฉันไม่สามารถทำธุรกิจนี้ได้
    .
    การสร้างความเชื่อมั่นในตัวเองได้ ต้องมีความเชื่อจากตัวของเราเองก่อนว่า "ฉันทำได้" เพราะถ้าเราไม่เชื่อว่าเราทำได้ ก็ไม่มีใครสามารถบอกว่าเราทำได้เช่นกัน ดังนั่นหมั่นบอกตัวเองซ้ำๆ และให้กำลังใจตัวเอง ถึงแม้ว่าคุณจะพบกับปัญหามากมายเพียงใด คุณท้อได้แต่ต้องกลับมาเติมพลังใจให้ตัวเอง แล้วเผชิญปัญหาหรือก้าวขีดจำกัดของตัวคุณเองให้ได้

    ชมเนื้อหาฉบับเต็ม :https://youtu.be/dtCYQQ4Oaqg
    .
    2.ทฤษฎีหมวก 6 ใบกับการทำธุรกิจ
    การประชุมของทีมผู้บริหาร หรือแม้แต่การประชุมกับพนักงานในธุรกิจ เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจและให้ความสำคัญที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจ ความขัดแย้งกับความคิดเห็นไม่ตรงกันถือเป็นเรื่องปกติของการประชุม แต่ถ้าเป็นอยู่บ่อยครั้งจนทำให้บรรยากาศของการประชุมไม่ดี ก็เป็นปัญหาได้เช่นกัน
    .
    Six Thinking Hats เป็นทฤษฎีหมวก 6 ใบ ของ Dr. Edward de Bono ที่เราสามารถนำมาใช้กับสถานการณ์นี้ได้ เพราะช่วยสร้างบรรยากาศการประชุมที่ดี ลดปัญหาความขัดแย้งในที่ประชุม และสร้างความสัมพันธ์ให้ทุกคนช่วยแก้ปัญหาธุรกิจไปได้
    .
    หมวก 6 ใบ จะประกอบไปด้วย
    1. หมวกสีฟ้า เหตุและผล (Thinking)
    2. หมวกสีขาว ข้อมูล (Information)
    3. หมวกสีแดง ความรูู้สึก (Feeling)
    4. หมวกสีเขียว ความคิดสร้างสรรค์ (Creative)
    5. หมวกสีเหลือง ผลประโยชน์ (Benefits)
    6. หมวกสีดำ การตัดสิน (Judgement)
    .
    จะเห็นได้ว่าหมวกทั้ง 6 ใบ แบ่งออกเป็น 6 บทบาทที่มีความแตกต่างกัน หากนัดประชุมกันโดยที่มีความคิดแยกกันไปคนละทาง ก็สามารถทำให้เกิดความขัดแย้ง บรรยากาศในที่ประชุมก็ไม่ดี
    .
    ยกตัวอย่าง เหตุการณ์จำลอง
    หมวกสีเขียว (Creative): เราจะทำรายการออนไลน์สำหรับ SMEs เพื่อช่วยเหลือคนทำธุรกิจเป็นประโยชน์กับสังคม

    หมวกสีเหลือง (Benefits): รายการนี้ทำแล้วจะคุ้มมั้ย แล้วทำรายการกี่วัน คิดว่าจะต้องใช้งบเท่าไหร่

    หมวกสีเขียว (Creative): คุ้มแน่นอน จะผลิตรายการทุกวัน เพราะรายการนี้ดี ช่วยเหลือ SMEs ใช้งบเยอะหน่อยเพราะต้องใช้ทีมงานหลายคน

    หมวกสีแดง (Feeling) : ทำรายการทุกวันเลยเหรอ ไม่มีวันหยุดทำไม่ไหวนะ มันเหนื่อยเกินไป

    หมวกสีขาว (Information) : รายการนี้มีคนทำหรือยัง มีข้อมูลให้ดูบ้างหรือป่าว

    หมวกสีฟ้า (Thinking) : ช่วงนี้สถานการณ์โควิด หากช่วยคนทำธุรกิจได้เป็นเรื่องที่ดีนะ แต่จะออกไปถ่ายรายการได้หรือป่าว

    หมวกสีดำ (Judgement) : ช่วยบอกหน่อย ทำไมถึงต้องทำรายการนี้ ข้อดีข้อเสียอย่างไหนมากกว่ากัน ถ้าทำแล้วคนจะดูไหม
    .
    จากเหตุการณ์จำลองสังเกตได้ว่า ถ้าการประชุมครั้งนี้คุยกันคนละแกนความคิด ขัดแย้งกันได้แน่นอน การแก้ไขปัญหาคือ การให้ทุกคนสวมหมวกเป็นบทบาทเดียวกันทุกคน แล้วพูดแต่ในสิ่งที่ได้รับบทบาทนั้น แล้วค่อยสลับหมวกเปลี่ยนรอบเป็นบทบาทอื่น ๆ
    .
    วิธีนี้จะช่วยให้การประชุมสามารถสื่อสารในทิศทางเดียวกัน เข้าใจความคิดเห็นของผู้อื่นได้มากขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถช่วยกันระดมสมอง แก้ปัญหาธุรกิจไปด้วยกันและรักกันมากยิ่งขึ้น

    ชมเนื้อหาฉบับเต็ม :https://youtu.be/yDPA9eUjebM
    .
    3.Enneagram คน 9 ประเภท
    Enneagram ทฤษฎีคน 9 ประเภทที่ใช้ได้กับทุกคน สู่นักธุรกิจที่รู้ใจพนักงานและเข้าใจความต้องการของลูกค้า ให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ
    .
    ถ้าเราเข้าใจคนเยอะขึ้น ก็สามารถทำธุรกิจได้ง่ายขึ้น ดังนั้นเรามารู้จัก คน 9 ประเภท ที่ทำให้นักธุรกิจทุกคนได้รู้จักทีมงานของเรา และเข้าใจความต้องการของลูกค้าเราได้
    .
    1.คนสมบูรณ์แบบ (The Perfectionist) เป็นกลุ่มคนที่ติดความเพอร์เฟค ผิดไม่ได้เลย ชอบความเนี้ยบความสมบูรณ์แบบ หากมีพนักงานที่เป็นคนประเภทนี้ ต้องใช้งานที่เป็นงานรายละเอียด งานที่มีความประณีต เขาจะใช้เวลาไปความความสมบูรณ์ของงาน แต่ถ้าเป็นลูกค้าให้แนะนำหรือช่วยเหลือในสิ่งที่เขากังวลใจ
    .
    2.ผู้ช่วยเหลือ (Helper) เป็นกลุ่มคนที่ชอบช่วยเหลือคน โดยเฉพาะแคร์ความรู้สึกของคนใกล้ตัว ถ้าทำงานกับคนประเภทนี้ เขาต้องการคำชมเพื่อเป็นพลังสำหรับพวกเขา แต่ถ้าหากเป็นลูกค้าให้คุยด้วยความรู้สึกห่วงใย ทำธุรกิจต้องเป็นผู้ให้กับลูกค้าก่อน ห้ามขายของแบบตรง ๆ
    .
    3. ผู้ชอบความสำเร็จ (Achiever) เป็นกลุ่มคนที่มีเป้าหมายเป็นหลัก ถ้าได้ผู้บริหารจะเติบโตได้เร็ว หากมีพนักงานประเภทนี้ คุณโชคดีเพราะเขาคือยอดนักรบที่จะมาช่วยคุณในการทำธุรกิจ แต่ถ้ามีลูกค้าแบบนี้อย่าไปสู้กับเขา เน้นการเอาใจ บริการเขาดี ๆ ต้องให้พื้นที่ลูกค้าในการแสดงตัวตน
    .
    4.อารมณ์ศิลปิน (Artist) เป็นกลุ่มคนที่มีความสุขกับอารมณ์ อารมณ์ขึ้นลงได้ง่าย ถ้าต้องทำงานกับคนประเภทนี้ อย่าไปกดดันเขามาก และเขาจะเป็นคนสนับสนุนที่ดี ถ้ามีลูกค้าประเภทนี้อย่าไปเร่งเขา ให้ดูอารมณ์เขาเป็นหลัก ลูกค้าแบบนี้ต่อให้เราไม่ขายเขาก็จะซื้ออยู่ดี
    .
    5. นักคิด (Thinker) เป็นกลุ่มที่ชอบใช้ความคิด ถ้ามีพนักงานแบบนี้ ให้บอกงานเขาโดยการสรุปมาเลยว่า อยากได้งานอะไร ผลลัพธ์แบบไหน แล้วจะคุยกันรู้เรื่อง แต่ถ้ามีลูกค้าประเภทนี้ เอาข้อสรุปให้เขาก่อน ส่งข้อมูลแนะนำให้เขาเลือกและตัดสินใจด้วยตัวเอง เขาชอบคิดถึงคุ้มค่าในการซื้อ
    .
    6. ผู้ภักดี (Loyalist) เป็นกลุ่มคนที่มีความซื่อสัตย์ ภักดีสูง ไว้ใจได้ แต่เป็นคนขี้ระแวง ทำให้เป็นคนรอบคอบมาก ถ้าทำงานกับคนประเภทนี้ ควรให้โอกาสให้เขาได้ตัดสินใจอย่าไปเร่งเขามาก แต่ถ้ามีลูกค้าประเภทนี้ ต้องให้ข้อมูลเยอะ ๆ เพราะเขาขี้ระแวง
    .
    7. ผู้เสพสุข (Adventurer) เป็นกลุ่มคนที่ต้องการความสุข ชอบความลัลลา หลีกหนีความทุกข์ ถ้าทำงานกับคนประเภทนี้ อย่ามอบหมายงานบางเรื่องที่เราคาดหวังเยอะ ๆ แต่ถ้ามีลูกค้าประเภทนี้ ให้คุยภาษาดอกไม้ พูดถึงความสุขที่เขาจะได้รับสินค้าจากเรา อย่าคุยเรื่องความทุกข์กับเขาเด็ดขาด
    .
    8. ผู้นำ (Maverick) กลุ่มคนประเภทนี้มักจะเป็น CEO หรือผู้บริหารเป็นจำนวนมาก เป็นคนชอบความท้าทาย มีความดุดันและมุ่งมั่นสูง ถ้าทำงานกับคนประเภทนี้ต้องท้าทายเขากลับ เพราะเขาไม่ชอบคนที่แสดงความอ่อนแอ และถ้ามีลูกค้าแบบนี้ แสดงความเจ๋ง ความเก่งเข้าสู้ให้เขาเห็นค่า
    .
    9. ผู้รักสงบ (Peacemaker) เป็นกลุ่มคนที่รักความสงบ ไม่ชอบทะเลากับใคร หลีกหนีความวุ่นวาย ถ้าต้องทำงานกับคนประเภทนี้ ต้องให้เขารู้ว่าความขัดแย้งมันเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้ามีลูกค้าประเภทนี้ ควรแนะนำสินค้าที่ดีต่อใจ หรือสินค้าเพื่อสังคม เช่น สินค้าจากชุมชนชาวบ้าน เขาจะชอบเป็นพิเศษ

    ชมเนื้อหาฉบับเต็ม :https://youtu.be/TPp5tfWHyus
    .
    4.ทำไปทำไม เหตุผลของการทำธุรกิจ
    คนทำธุรกิจต้องตอบให้ได้ เหตุของการทำธุรกิจ ทำทุกอย่างนี้ไปทำไม? ทำไปเพื่ออะไรกัน? จะได้รู้ว่าธุรกิจของคุณรอดหรือร่วง
    .
    นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ไม่ใช่เพราะยอดขายร้อยล้าน หรือเขามีกำไร แต่เป็นเพราะเขา "อึด" อดทนในการทำธุรกิจก็่ทำให้มีโอกาสในความสำเร็จมากกว่า
    .
    อะไรทำเขาอึดและประสบความสำเร็จ? จนทำธุรกิจให้ไปต่อได้ไม่ร่วง
    ก็เพราะว่าเขารู้ว่าสิ่งที่เขาทำอยู่ ทำไปทำไม แล้วทำไปเพื่ออะไร ? (Start with Why) หากตอบคำถามนี้ได้จะทำให้มีพลัง อัด ถึก ทนในการทำธุรกิจ
    .
    ขอยกตัวอย่างคำถามกับ เหตุการณ์สร้างเจดีย์ของ คน 3 ประเภท
    คำถาม : ทำอะไรอยู่?
    คำตอบ :
    นาย A : ผมกำลังก่ออิฐ
    นาย B : ผมกำลังก่ออิฐเพื่อสร้างกำแพง
    นาย C : ผมกำลังก่ออิฐเพื่อสร้างกำแพงมาทำเป็นเจดีย์ ให้คนมาสักการะ เป็นศูนย์รวมจิตใจของคน
    .
    จากคำตอบของทั้ง 3 คน จะบ่งบอกได้ถึงความมุ่งมั่น และพฤติกรรมที่แตกต่างกันได้อย่างชัดเจน คนที่คิดว่าจะพยายามทำได้เต็มที่ ยอมอดทนทำเพื่อที่จะให้งานสำเร็จได้มากที่สุด คือนาย C นั่นเอง
    .
    ดังนั้นการทำธุรกิจ เราควรจะมีคำถามและรู้คำตอบตั้งแต่ที่เริ่มทำธุรกิจเพื่อให้เราอึดและประสบความสำเร็จได้มากยิ่งขึ้น เช่น
    -เราทำธุรกิจนี้ไปทำไม
    -เราทำธุรกิจไปเพื่อใคร เพื่อตัวเองหรือคนที่เรารัก
    -มันเติมเต็มกับชีวิตเราอย่างไร
    -มันมีผลดีต่อคนอื่นอย่างไรบ้าง
    .
    บางครั้งธุรกิจของคุณจะรอดหรือร่วง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัญหาที่เจอ แต่ขึ้นอยู่กับเหตุผลของคุณในการทำธุรกิจ ถ้าหากคุณมีคำตอบที่ชัดเจนมากเท่าไหร่ โอกาสที่ธุรกิจของคุณจะไปต่อและประสบความสำเร็จได้ก็มีมากขึ้นเท่านั้น

    ชมเนื้อหาฉบับเต็ม : https://youtu.be/QTKrZBmx124

    #อายุน้อยร้อยล้านNEWS #อายุน้อยร้อยล้าน #Kongstory #Business #การพัฒนาตัวเอง #100NEWS

  • ทฤษฎีหมวก 在 สาระศาสตร์ Facebook 的最讚貼文

    2020-01-29 10:29:57
    有 31 人按讚


    เพราะทุกการเริ่มต้นล้วนมาจากความคิด จึงมาสู่กระบวนการลงมือทำ

    แต่ความคิดหรือไอเดียของเรานั้นส่วนใหญ่มักจะใช้ไม่เป็นระบบ ด้วยปัญหาการคิดที่ไม่เป็นระบบนี้ ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน ( Edward de Bono ) จึงได้คิด รูปแบบการคิดที่เป็นระบบที่ชื่อ Six Thinking Hats หรือ ทฤษฎีหมวก 6 ใบ ขึ้นมา

    ทฤษฎีหมวก 6 ใบ เป็นวิธีที่ใช้เพื่อช่วยจัดระเบียบการคิด ทำให้การคิดมี ประสิทธิภาพมากขึ้น วิธีการดังกล่าวได้มีการนำไปใช้อย่างกว้างขวาง บริษัทยักษ์ใหญ่อย่างบริษัท ไอบีเอ็ม หรือ เซลส์ ก็นำทฤษฎีหมวก 6 ใบนี้ไปใช้เช่นกัน

    Six Thinking Hats สูตรบริหารความคิดของ ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน ประกอบด้วยหมวก 6 ใบ ที่แทนความคิด 6 แบบ

    #หมวกสีขาว แทนข้อเท็จจริง

    #หมวกสีแดง แทนความรู้สึกด้านอารมณ์

    #หมวกสีดำ แทนทรรศนะด้านลบ

    #หมวกสีเหลือง แทนทรรศนะด้านบวก

    #หมวกสีเขียว แทนวิธีคิดแบบใหม่

    #หมวกสีฟ้า แทนการขบคิด หรือ กระบวนการขบคิด

    วิธีการใช้ ทฤษฎีหมวก 6 ใบ แบบเข้าใจง่าย มีรูปแบบดังนี้ครับ

    ในตอนแรกเราอาจสวมหมวกสีแดงก่อนเพื่อพิจารณาว่า ณ ตอนนั้น เรามีความรู้สึกต่อเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดยังไง

    ต่อมาสวมหมวกสีเหลืองเพื่อดูว่าเรามีความคิดในแง่บวกต่อเหตุการณ์นี้ยังไง

    จากนั้นใส่หมวกสีดำเพื่อดูแนวคิดด้านลบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

    เมื่อสวมหมวกด้านอารมณ์ทั้งสามใบแล้ว คราวนี้ก็ถึงเวลาใส่หมวกสีเขียว เพื่อทำการวิเคราะห์ดูว่าจะปรับปรุงแก้ไขเหตุการณ์นี้ยังไง

    จากนั้นใส่หมวกสีขาวเพื่อค้นหาข้อมูลที่เป็นจริงมาสนับสนุนแนวคิดของเราว่าถูกต้องหรือไม่

    สุดท้ายสวมหมวกสีฟ้าแล้วจัดการวิเคราะห์ เพื่อพิจราณาดูว่าท่ามกลางกระบวนการคิดที่เพิ่งผ่านมามีอะไรผิดพลาดหรือเปล่า

    ทฤษฎีหมวก 6 ใบ สามารถเอาไปประยุกต์ใช้ได้กับหลายอย่าง หลายสถานะการณ์ ยิ่งเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญด้วยแล้ว การคิดให้รอบด้านเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้เลย ดั้งนั้นก่อนตัดสินใจอะไรก็อย่าลืมพกหมวก 6 ใบนี้ติดตัวกันไว้นะครับ

  • ทฤษฎีหมวก 在 สาระศาสตร์ Facebook 的最佳貼文

    2020-01-29 10:29:57
    有 30 人按讚

    เพราะทุกการเริ่มต้นล้วนมาจากความคิด จึงมาสู่กระบวนการลงมือทำ

    แต่ความคิดหรือไอเดียของเรานั้นส่วนใหญ่มักจะใช้ไม่เป็นระบบ ด้วยปัญหาการคิดที่ไม่เป็นระบบนี้ ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน ( Edward de Bono ) จึงได้คิด รูปแบบการคิดที่เป็นระบบที่ชื่อ Six Thinking Hats หรือ ทฤษฎีหมวก 6 ใบ ขึ้นมา

    ทฤษฎีหมวก 6 ใบ เป็นวิธีที่ใช้เพื่อช่วยจัดระเบียบการคิด ทำให้การคิดมี ประสิทธิภาพมากขึ้น วิธีการดังกล่าวได้มีการนำไปใช้อย่างกว้างขวาง บริษัทยักษ์ใหญ่อย่างบริษัท ไอบีเอ็ม หรือ เซลส์ ก็นำทฤษฎีหมวก 6 ใบนี้ไปใช้เช่นกัน

    Six Thinking Hats สูตรบริหารความคิดของ ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน ประกอบด้วยหมวก 6 ใบ ที่แทนความคิด 6 แบบ

    #หมวกสีขาว แทนข้อเท็จจริง

    #หมวกสีแดง แทนความรู้สึกด้านอารมณ์

    #หมวกสีดำ แทนทรรศนะด้านลบ

    #หมวกสีเหลือง แทนทรรศนะด้านบวก

    #หมวกสีเขียว แทนวิธีคิดแบบใหม่

    #หมวกสีฟ้า แทนการขบคิด หรือ กระบวนการขบคิด

    วิธีการใช้ ทฤษฎีหมวก 6 ใบ แบบเข้าใจง่าย มีรูปแบบดังนี้ครับ

    ในตอนแรกเราอาจสวมหมวกสีแดงก่อนเพื่อพิจารณาว่า ณ ตอนนั้น เรามีความรู้สึกต่อเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดยังไง

    ต่อมาสวมหมวกสีเหลืองเพื่อดูว่าเรามีความคิดในแง่บวกต่อเหตุการณ์นี้ยังไง

    จากนั้นใส่หมวกสีดำเพื่อดูแนวคิดด้านลบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

    เมื่อสวมหมวกด้านอารมณ์ทั้งสามใบแล้ว คราวนี้ก็ถึงเวลาใส่หมวกสีเขียว เพื่อทำการวิเคราะห์ดูว่าจะปรับปรุงแก้ไขเหตุการณ์นี้ยังไง

    จากนั้นใส่หมวกสีขาวเพื่อค้นหาข้อมูลที่เป็นจริงมาสนับสนุนแนวคิดของเราว่าถูกต้องหรือไม่

    สุดท้ายสวมหมวกสีฟ้าแล้วจัดการวิเคราะห์ เพื่อพิจราณาดูว่าท่ามกลางกระบวนการคิดที่เพิ่งผ่านมามีอะไรผิดพลาดหรือเปล่า

    ทฤษฎีหมวก 6 ใบ สามารถเอาไปประยุกต์ใช้ได้กับหลายอย่าง หลายสถานะการณ์ ยิ่งเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญด้วยแล้ว การคิดให้รอบด้านเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้เลย ดั้งนั้นก่อนตัดสินใจอะไรก็อย่าลืมพกหมวก 6 ใบนี้ติดตัวกันไว้นะครับ

你可能也想看看

搜尋相關網站