[爆卦]ตื้นเขิน是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇ตื้นเขิน鄉民發文沒有被收入到精華區:在ตื้นเขิน這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 ตื้นเขิน產品中有6篇Facebook貼文,粉絲數超過15萬的網紅Mospatiparn,也在其Facebook貼文中提到, แม่น้ำโขง ตื้นเขิน ภาษาลาวเรียกแม่น้ำ ของ #moskinzaพาเที่ยว...

  • ตื้นเขิน 在 Mospatiparn Facebook 的精選貼文

    2019-12-28 18:16:09
    有 694 人按讚

    แม่น้ำโขง ตื้นเขิน ภาษาลาวเรียกแม่น้ำ ของ #moskinzaพาเที่ยว

  • ตื้นเขิน 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的最讚貼文

    2019-07-02 21:43:21
    有 769 人按讚


    สรุปใจความสำคัญ #รอให้ถึงอนุบาล_ก็สายเสียแล้ว
    .
    เป็นหนังสือที่เขียนขึ้นโดย มาซารุ อิบุกะ ตั้งแต่ 48 ปีที่แล้ว
    หมอเขียนรีวิวไว้ตั้งแต่เปิดเพจใหม่ๆ
    ตอนนี้ สำนักพิมพ์แพรวเพื่อนเด็ก นำมาพิมพ์ใหม่
    เลยได้โอกาส rewrite ถึงหนังสือเล่มนี้ซะเลย😅
    (เอาของเก่ามาเล่าใหม่แบบเนียนๆ)
    .
    บางคนอาจเคยได้ยินชื่อ บางคนอาจเคยได้อ่าน
    หรือบางคนอาจจะกำลังจะรู้จักหนังสือเล่มนี้ (ผ่านเพจนี้)
    มาซารุ อิบุกะ ผู้แต่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทโซนี่
    ซึ่งท่านเขียนหนังสือเล่มนี้ตั้งแต่ปี 1971
    โดยท่านสนใจในการเรียนรู้ของปฐมวัย
    เนื่องจากท่านมีลูกที่บกพร่องทางสติปัญหาอยู่ 1 คน
    วันหนึ่งไปได้ยินคำพูดที่ว่า

    "ไม่ว่าเด็กคนไหนก็ดีขึ้นได้ ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดู"

    ทำให้ มาซารุ อิบุกะ สนใจในการศึกษาปฐมวัย
    ก่อตั้งสมาคมเพื่อการพัฒนาเด็กเล็กในประเทศญี่ปุ่นเมื่อ 1969
    .
    หนังสือเล่มนี้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง
    ทำให้เกิดปรากฏการณ์เปลี่ยนแปลงแบบสะเทือนเลื่อนลั่น
    ในวงการศึกษาระดับปฐมวัยทั้งในญี่ปุ่น และทั่วโลก
    Glenn Doman ถึงกับเขียนคำนิยมเอาไว้ว่า
    เค้ารู้สึกเกลียด อิบุกะมาก เพราะเป้าหมายในชีวิตเค้า
    คือการเขียนหนังสือเกี่ยวกับการเรียนรู้อันเหลือเชื่อของเด็กเล็ก
    แต่หนังสือเล่มนี้ทำให้เค้าไม่มีอะไรจะเขียนอีก
    .
    หนังสือเล่มนี้เป็น เป็นหนึ่งในหนังสือเล่มโปรดตลอดกาล
    และเป็นหนังสือที่ถูกแปลความทั้งในแง่บวก และในแง่ลบ
    อาจจะเป็นเพราะชื่อของหนังสือ
    ไม่ถูกกับทัศนะคติของนักการศึกษา หรือคนบางกลุ่ม
    แต่หมออยากจะบอกว่าหัวใจของหนังสือเล่มนี้
    #ไม่ใช่การนำเสนอว่าให้เด็กเล็กเรียนหนังสือก่อนวัยอนุบาล
    แต่เป็นการเสนอข้อเท็จจริง
    และกรณีศึกษาของเด็กที่ได้รับการเรียนรู้ในช่วงเวลาที่ถูกต้องเหมาะสม
    .
    คำว่าการศึกษานั้น
    หากเราตีความถึงต้องพาเด็กออกไปเรียนหนังสือ
    มันจะเป็นการตีความที่ "แคบ" และ "ตื้นเขิน"
    แม่และพ่อ ก็คือครูคนแรกและดีที่สุดของลูก
    มีการศึกษามากมายยืนยันทฤษฏีนี้
    ตอนที่หมอเรียนเพื่อเป็นกุมารแพทย์ตอนนั้น
    มีคำที่ฝังอยู่ในใจหมอมาตลอด คือคำว่า

    "window of opportunity"

    หน้าต่างแห่งโอกาส ความหมายของมันก็คือ
    การเรียนรู้ของสมองมนุษย์
    มีช่วงเวลาที่ดีที่สุดในแต่ละเรื่อง
    หากผ่านช่วงนั้นไปแล้ว
    การเรียนรู้จะทำได้ยากกว่ามาก
    .
    หมอไม่เชื่อว่าเด็กไทยโง่ลง
    แต่หมอเชื่อว่าพลังของพ่อแม่ยุคใหม่ทำให้อนาคตของชาติเปลี่ยนแปลงได้จริง
    .
    หมอแพม
    ชวนมาอ่านหนังสือดีดีกันค่ะ

  • ตื้นเขิน 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的最佳解答

    2017-08-28 10:10:05
    有 201 人按讚


    รีโพสต์
    หนังสือเล่มนี้ รีวิวไว้ตั้งแต่เปิดเพจ
    เป็นหนังสือที่เขียนมา 40 กว่าปีแล้ว
    ก็ยังอมตะจนทุกวันนี้
    แต่การอ่าน ก็ต้องอ่านอย่างวิเคราะห์ ตรึกตรอง
    อย่าอ่านแค่จั่วหัว...เพราะจะทำให้หลงประเด็น

    ****รอให้ถึงอนุบาล..ก็สายเสียแล้ว***
    แม่มือใหม่ หรือคนกำลังจะเป็นแม่ คงเคยจะได้ยินชื่อหนังสือเล่มนี้นะคะ
    .
    บางคนอาจเคยได้ยินชื่อ บางคนอาจเคยได้อ่าน หรือบางคนอาจจะกำลังจะรู้จักหนังสือเล่มนี้ (ผ่านเพจนี้)
    แต่จะเล่าให้ฟังนะคะ หนังสือเล่มนี้แต่งโดย มาซารุ อิบุกะ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทโซนี่ ซึ่งท่านเขียนหนังสือเล่มนี้ตั้งแต่ปี 1971 โดยท่านสนใจในการเรียนรู้ของปฐมวัย เนื่องจากท่านมีลูกที่บกพร่องทางสติปัญหาอยู่ 1 คน วันนึงไปได้ยินคำพูดที่ว่า "ไม่ว่าเด็กคนไหนก็ดีขึ้นได้ ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดู" ทำให้ มาซารุ อิบุกะ สนใจในการศึกษาปฐมวัย และท่านก่อตั้งสมาคมเพื่อการพัฒนาเด็กเล็กในประเทศญี่ปุ่นเมื่อ 1969
    หนังสือเล่มนี้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ทำให้เกิดปรากฏการณ์เปลี่ยนแปลงแบบสะเทือนเลื่อนลั่นในวงการศึกษาระดับปฐมวัยทั้งในญี่ปุ่น และทั่วโลก Glenn Doman ถึงกับเขียนคำนิยมเอาไว้ว่าเค้ารู้สึกเกลียด อิบุกะมาก เพราะเป้าหมายในชีวิตเค้า คือการเขียนหนังสือเกี่ยวกับการเรียนรู้อันเหลือเชื่อของเด็กเล็ก แต่หนังสือเล่มนี้ทำให้เค้าไม่มีอะไรจะเขียนอีก
    .
    และที่หมออยากจะรีวิวหนังสือเล่มนี้เป็นเล่มแรก ก็เพราะว่า เป็นหนึ่งในหนังสือเล่มโปรดตลอดกาล...และเป็นหนังสือที่ถูกแปลความทั้งในแง่บวก และในแง่ลบ อาจจะเป็นเพราะชื่อของหนังสือ ไม่ถูกกับทัศนะคติของนักการศึกษา หรือคนบางกลุ่ม แต่หมออยากจะบอกว่าหัวใจของหนังสือเล่มนี้ "ไม่ใช่การนำเสนอว่าให้เด็กเล็กเรียนหนังสือก่อนวัยอนุบาล" แต่เป็นการเสนอข้อเท็จจริง และกรณีศึกษาของเด็กที่ได้รับการเรียนรู้ในช่วงเวลาที่ถูกต้องเหมาะสม
    .
    คำว่าการศึกษานั้น หากเราตีความถึงต้องพาเด็กออกไปเรียน หรือให้อ่านหนังสือ มันจะเป็นการตีความที่ "แคบ" และ "ตื้นเขิน" มากเลยค่ะ อย่าลืมนะคะ ว่าแม่ และพ่อ ก็คือครูคนแรก และดีที่สุดของลูก มีการศึกษามากมายยืนยันทฤษฏีนี้ ตอนที่หมอเรียนเพื่อเป็นกุมารแพทย์ตอนนั้น มีคำที่ฝังอยู่ในใจหมอมาตลอด (ตั้งแต่ยังไม่แต่งงานนะคะ) คือคำว่า "window of opportunity" หน้าต่างแห่งโอกาส ความหมายของมันก็คือ การเรียนรู้ของสมองมนุษย์ มีช่วงเวลาที่ดีที่สุดในแต่ละเรื่อง หากผ่านช่วงนั้นไปแล้ว การเรียนรู้จะทำได้ยากกว่ามาก...พิสูจน์ได้จากหมอที่ได้เรียนภาษาอังกฤษตอน ป.5 ค่ะ การจะพูดให้คล่อง เข้าใจได้ดี มันยากกว่าเพื่อนสนิทของหมอที่มีโอกาสได้เรียนตั้งแต่อนุบาลมากๆเลย
    .
    นอกจากรีวิวหนังสือเล่มนี้ หมออยากจะตอกย้ำความสำคัญของเรื่องนี้ด้วย VDO จาก youtube

    https://www.youtube.com/watch?v=hjgoPPZwP80

    ประเด็นที่อยากให้ดูคือ เวลา 9.01-14.40 เรื่องราวของจีนี่ ที่ทำให้ตอกย้ำเรื่อง window of opportunity
    และ เวลา 17.40-20.00 เรื่องการทดลอง ABECECARIAN project (ซึ่งสามารถไปอ่านรายละเอียดโครงการเพิ่มเติมได้จากการค้น google เลยค่ะ) ที่ตอกย้ำว่า การกระตุ้น หรือการให้ความรู้ในปฐมวัย จะเปลี่ยนชีวิตเด็กคนหนึ่งเลยนะคะ....ในการทดลองนี้ ทำโดยนักวิจัย การกระตุ้นการเรียนรู้ของเด็กไม่ได้ทำทุกวัน....แล้วลูกเราล่ะคะ ถ้าได้รับการสั่งสอน ได้รับการเล่นที่เหมาะสมผ่านคนที่เค้ารัก มันจะดีกว่าเด็กในโครงการนี้หลายเท่าเลยค่ะ...มาช่วยกันค่ะ
    หมอไม่เชื่อว่าเด็กไทยโง่ลง...และหมอเชื่อว่าพลังของพ่อแม่ยุคใหม่ทำให้อนาคตของชาติเปลี่ยนแปลงได้จริง

你可能也想看看

搜尋相關網站