วันวชิราวุธ ตรงกับวันที่ 25 พฤศจิกายน วันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ซึ่งทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่เป็นประโยชน์อย่...
วันวชิราวุธ ตรงกับวันที่ 25 พฤศจิกายน วันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ซึ่งทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่เป็นประโยชน์อย่างมากมายมหาศาลต่อประเทศชาติ ทั้งในด้านการคมนาคม การปกครอง กิจการเสือป่าและลูกเสือ รวมทั้งด้านศิลปวัฒนธรรมและด้านวรรณคดี
ด้านการศึกษา พ.ศ. 2459 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะโรงเรียนข้าราชการพลเรือนในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็น "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย
พ.ศ. 2464 ทรงตราพระราชบัญญัติประถมศึกษาเป็นครั้งแรก โดยกำหนดการศึกษาภาคบังคับให้เด็กทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 7 ปีบริบูรณ์ ต้องเรียนหนังสือในโรงเรียนจนกระทั่งอายุครบ 14 ปี
ด้านการแพทย์สาธารณสุข
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งวชิรพยาบาลและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ขึ้น อีกทั้งทรงเปิดสถานเสาวภา เพื่อรักษาคนที่ถูกสัตว์ร้ายกัด
ด้านการปกครอง
มีพระราชดำริให้ทำการทดลองระบอบประชาธิปไตย โดยจัดตั้งเมืองจำลอง "ดุสิตธานี" ปูพื้นฐานระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยให้ประชาชน
ด้านการคมนาคม
ในปี พ.ศ. 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รวมกรมรถไฟที่เคยแยกกัน เป็น "กรมรถไฟหลวง" และเริ่มเปิดการเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่ อีกทั้งรถด่วนระหว่างประเทศจากธนบุรี เชื่อมไปถึงปีนังและสิงคโปร์ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานพระราม 6 เพื่อเชื่อมทางรถไฟไปยังภูมิภาคอื่น
ด้านเศรษฐกิจ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติคลังออมสินพุทธศักราช 2456 ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักการออม จนเมื่อปี พ.ศ. 2458 จึงจัดตั้งธนาคารออมสิน
ด้านกิจการลูกเสือ
ก็ได้ทรงก่อตั้งกองเเสือลูกเสือขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง เพื่อฝึกให้เยาวชนมีความเข้มแข็ง อดทน เสียสละ สามัคคี ดังที่ได้พระราชทานคติพจน์ให้แก่คณะลูกเสือว่า "เสียชีพอย่าเสียสัตย์"
ด้านการต่างประเทศ
ในสมัยของพระองค์ ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้นในทวีปยุโรป ประเทศไทยได้เข้าร่วมกับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร เพื่อรักษาสิทธิของประเทศ จนเมื่อสงครามสิ้นสุดด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ประเทศไทยจึงมีโอกาสเจรจากับประเทศมหาอำนาจหลายประเทศเพื่อแก้สนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม จนเป็นผลสำเร็จในปี พ.ศ. 2469 ทำให้ไทยได้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตกลับคืนมา และกำเนิดธงชาติไทยคือธงไตรรงค์จนทุกวันนี้ และมีการใช้คำนำหน้า นาย นาง นางสาวแบบทุกวันนี้#น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ 🙏
ด้านการคมนาคม 在 นุสบา Facebook 的精選貼文
วันวชิราวุธ ตรงกับวันที่ 25 พฤศจิกายน วันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ซึ่งทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่เป็นประโยชน์อย่างมากมายมหาศาลต่อประเทศชาติ ทั้งในด้านการคมนาคม การปกครอง กิจการเสือป่าและลูกเสือ รวมทั้งด้านศิลปวัฒนธรรมและด้านวรรณคดี
ด้านการศึกษา พ.ศ. 2459 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะโรงเรียนข้าราชการพลเรือนในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็น "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย
พ.ศ. 2464 ทรงตราพระราชบัญญัติประถมศึกษาเป็นครั้งแรก โดยกำหนดการศึกษาภาคบังคับให้เด็กทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 7 ปีบริบูรณ์ ต้องเรียนหนังสือในโรงเรียนจนกระทั่งอายุครบ 14 ปี
ด้านการแพทย์สาธารณสุข
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งวชิรพยาบาลและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ขึ้น อีกทั้งทรงเปิดสถานเสาวภา เพื่อรักษาคนที่ถูกสัตว์ร้ายกัด
ด้านการปกครอง
มีพระราชดำริให้ทำการทดลองระบอบประชาธิปไตย โดยจัดตั้งเมืองจำลอง "ดุสิตธานี" ปูพื้นฐานระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยให้ประชาชน
ด้านการคมนาคม
ในปี พ.ศ. 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รวมกรมรถไฟที่เคยแยกกัน เป็น "กรมรถไฟหลวง" และเริ่มเปิดการเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่ อีกทั้งรถด่วนระหว่างประเทศจากธนบุรี เชื่อมไปถึงปีนังและสิงคโปร์ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานพระราม 6 เพื่อเชื่อมทางรถไฟไปยังภูมิภาคอื่น
ด้านเศรษฐกิจ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติคลังออมสินพุทธศักราช 2456 ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักการออม จนเมื่อปี พ.ศ. 2458 จึงจัดตั้งธนาคารออมสิน
ด้านกิจการลูกเสือ
ก็ได้ทรงก่อตั้งกองเเสือลูกเสือขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง เพื่อฝึกให้เยาวชนมีความเข้มแข็ง อดทน เสียสละ สามัคคี ดังที่ได้พระราชทานคติพจน์ให้แก่คณะลูกเสือว่า "เสียชีพอย่าเสียสัตย์"
ด้านการต่างประเทศ
ในสมัยของพระองค์ ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้นในทวีปยุโรป ประเทศไทยได้เข้าร่วมกับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร เพื่อรักษาสิทธิของประเทศ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ส่งทหารไทยอาสาสมัครไปร่วมรบในสมรภูมิในยุโรปด้วย จนเมื่อสงครามสิ้นสุดด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ประเทศไทยจึงมีโอกาสเจรจากับประเทศมหาอำนาจหลายประเทศเพื่อแก้สนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม จนเป็นผลสำเร็จในปี พ.ศ. 2469 ทำให้ไทยได้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตกลับคืนมา และกำเนิดธงชาติไทยคือธงไตรรงค์จนทุกวันนี้ และมีการใช้คำนำหน้า นาย นาง นางสาวแบบทุกวันนี้ #น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ