雖然這篇ชุ่ย ภาษาจีน แปลว่า鄉民發文沒有被收入到精華區:在ชุ่ย ภาษาจีน แปลว่า這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章
在 ชุ่ย產品中有15篇Facebook貼文,粉絲數超過178萬的網紅ลงทุนแมน,也在其Facebook貼文中提到, ข่าวประชาสัมพันธ์.. เปิดแนวคิด Converse To Convert ทำไมการสร้างบทสนทนาใน Twitter ถึงช่วยสร้างยอดขาย เวลาที่เราเปิดร้านขายของ เป้าหมายที่สำคัญที่สุด คื...
同時也有3部Youtube影片,追蹤數超過8,200的網紅Nasi-Chan,也在其Youtube影片中提到,タイ語ペラペラ日本人男子パーユさんとコラボしました! 話しが盛り上がりすぎたので今回のコラボ動画は 前後編に分けてあります。 คนญี่ปุ่นพูดภาษาไทยเก่งมากๆได้ร่วมคลิปด้วยกันค่ะ ครั้งนี้คุยกันยาวเลยแบ่งเป็นสองคลิปนะค...
「ชุ่ย」的推薦目錄
- 關於ชุ่ย 在 nanarybena Instagram 的最佳解答
- 關於ชุ่ย 在 Aey Phornthip Instagram 的精選貼文
- 關於ชุ่ย 在 Sunterry Yeeha Instagram 的最佳貼文
- 關於ชุ่ย 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於ชุ่ย 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於ชุ่ย 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於ชุ่ย 在 Nasi-Chan Youtube 的最讚貼文
- 關於ชุ่ย 在 Adam Bradshaw Youtube 的最佳解答
- 關於ชุ่ย 在 Adam Bradshaw Youtube 的最讚貼文
ชุ่ย 在 nanarybena Instagram 的最佳解答
2021-01-05 16:10:27
กำลังชอบชานมไต้หวันอันนี้มากๆ ทรงกระบอกสุดฮิต ฉุน ชุ่ย เฮอ หรือ จัสท์ดริ๊งค์ (Just Drink) ที่ใครได้ไปไต้หวัน ต้องตามหาและซื้อกลับมาทุกครั้ง จำหน่ายแ...
ชุ่ย 在 Aey Phornthip Instagram 的精選貼文
2020-12-15 15:03:58
หัวเราะมีความสุข ตามล่าชาไต้หวัน สุดฮิต ฉุน ชุ่ย เฮอ (Just Drink) ได้1 ขวดถ้วน หอม อร่อยมากกก ราคาก็ดี๊ดี รออะไรจ๊ะ ไปเซเว่นเลยจ้า...
ชุ่ย 在 Sunterry Yeeha Instagram 的最佳貼文
2020-08-11 22:29:58
จั๋ว ยื่อ เชี่ยง น่า ตง เลี่ยว สุ่ย หลี่ หว่อ ยวน ชุ่ย ปู เคอ เหลี่ยว จิน ยื่อ รวน หว่อ ซิน ตั่ว ฝาน โยว #เกิดทันก็คือเพื่อนกัน...
-
ชุ่ย 在 Nasi-Chan Youtube 的最讚貼文
2019-08-25 17:21:21タイ語ペラペラ日本人男子パーユさんとコラボしました!
話しが盛り上がりすぎたので今回のコラボ動画は
前後編に分けてあります。
คนญี่ปุ่นพูดภาษาไทยเก่งมากๆได้ร่วมคลิปด้วยกันค่ะ
ครั้งนี้คุยกันยาวเลยแบ่งเป็นสองคลิปนะคะ
◆前編はこちら↓
https://youtu.be/mVT5NWadu-I
パーユさんのチャンネルにも出演させてもらっているので
そちらもぜひチェックして見て下さい!
ร่วมกับคลิปทางคุณพายุด้วยค่าาาา
☆パーユのタイ語《Nasi コラボ》
https://youtu.be/ABV51c-4V24
☆パーユさんのyoutubeチャンネル↓
『ภาษาไทยของพายุパーユのタイ語』
https://www.youtube.com/channel/UCbQYhQCpp5dWwoxuf66cv_w
===========================================================
束縛/ジャオチーウィ(ッ)/เจ้าชีวิต
草食系男子/サ(ッ)ギンプー/สัตว์กินพืช
肉食系/サッキンヌア/สัตว์กินเนื้อ
恋人は欲しくない/マイヤックミーフェーン/ไม่อยากมีแฟน
男性運がよくない/ショー(ク)プーシャーイマイディー/โชคผู้ชายไม่ดี
運が悪い/ショー(ク)ラーイ/โชคร้าย
運命の人
1.コンティーチャイ/คนที่ใช่
2.ポンリキ(ッ)/พรลิขิต
運命の物
コーンティーチャイ/ของที่ใช่
モテる/ヌアホー(ム)/เนื้อหอม
モテる/ポップ/ป๊อป/popular適当なことをする
シュイ/ชุ่ย
ひも
ゴミヤギン/เกาะเมียกิน
メンダー/แมลงดา
愛の匂いがする
メーンコワーンラッ(ク)/เหม็นความรัก
アリがかむ/モ(ッ)ガ(ッ)/มดกัด
からかう/セーオ/แซว
邪魔者的な/ゴーコーコー/กขค
****แนะนำตัว****
ชื่อนาชิ คนไทยค่ะ^^
พูดภาษาไทยและภาษาญี่ปุ่นสองภาษา
มีใบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นN1
นาชิเป็นคอสเพลย์เยอร์ แต่งอนิเมะและเกมส์
ทำงานฟรีเลนส์ เป็นล่าม นางแบบ ยูทูป ค่ะ^^
ฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะคะ ❤
〜自己紹介〜
Nasiです。基本Nasiかカタカナ(ナシ)なんですが、漢字は奈子って書きます。
100パーセントタイ人です。
タイ語🇹🇭と日本語🇯🇵の2ヶ国語喋ってます。日本語検定1級(N1)取得済です。文字もいけます♪
趣味はコスプレです。アニメ 、ゲーム、可愛い系からセクシー系中心のコスプレをやってます☺️
お仕事は、通訳、モデル、YouTuberをフリーランスでやっております(^^)
ติดตามนาชิด้วยนะคะ ❤
กดไลค์❤︎คอมเมนท์★ติดตามนาชิด้วยนะคะ ❤
フォローすればNASIのことがもっとわかるよ!
いいね❤コメント★フォローよろしくお願いします!
暖かい応援待ってます♪
Nasi ♡ SNS
☆Youtube
https://www.youtube.com/channel/UC9IH...
☆Facebook
https://www.facebook.com/nasichandesu/
☆Instagram
https://www.instagram.com/nasi1257/
☆Twitter
https://twitter.com/NASICHAN2 -
ชุ่ย 在 Adam Bradshaw Youtube 的最佳解答
2015-04-28 19:21:32เรียนกับอดัม: http://www.facebook.com/hollywoodlearning
เรียนออนไลน์กับอดัม: http://www.ajarnadam.tv
FBของอดัม: http://www.facebook.com/AjarnAdamBradshaw
Twitter: http://twitter.com/AjarnAdam
FBของซู่ชิง: http://www.facebook.com/jitsupachin
YouTube ของซู่ชิง: http://www.youtube.com/user/jitsupachin
Twitter ซูชิง: http://twitter.com/Sue_Ching -
ชุ่ย 在 Adam Bradshaw Youtube 的最讚貼文
2012-11-24 20:40:41เว็ปอดัม: http://www.ajarnadam.com
FBของอดัม: http://www.facebook.com/AjarnAdamBradshaw
เรียนกับอดัม: http://www.facebook.com/AAEnglish
ชุ่ย 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
ข่าวประชาสัมพันธ์..
เปิดแนวคิด Converse To Convert ทำไมการสร้างบทสนทนาใน Twitter ถึงช่วยสร้างยอดขาย
เวลาที่เราเปิดร้านขายของ เป้าหมายที่สำคัญที่สุด คือ “ตัวเลขยอดขายของสินค้า” หรือ “ตัวเลขยอดคลิกจากการยิงโฆษณา” ?
แน่นอนว่าแทบจะทุกคนก็คงตอบว่า “ยอดขาย” คือเรื่องสำคัญที่สุด ในโลกที่ทุกแบรนด์กระโดดลงมาทำการตลาดออนไลน์กันหมด เพราะรู้ว่ากลุ่มเป้าหมาย หรือกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อ พวกเขากระจุกตัวอยู่ในโลกโซเชียล หรือชอปปิ้งอยู่ในตลาด eCommerce ทำให้การแข่งขันเพื่อยอดขายสูงขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อพูดถึงคำว่า “การตลาดออนไลน์” สิ่งที่แบรนด์นิยมทำช่วงนี้ก็คือ
การเฟ้นหาเทคนิคยิงโฆษณา เพื่อเอาชนะอัลกอริทึ่ม
การยิงโฆษณาก็เป็นทางเลือกที่มีโอกาสทำให้คนรู้จักแบรนด์ หรือนำไปสู่การสร้างยอดขายได้จริง แต่การพุ่งโฟกัส ทุ่มเวลาไปที่การใช้กลยุทธ์เดียวอาจไม่เพียงพอแล้วในยุคนี้
ทุกวันนี้เรานิยมให้ทีมงานหลายคนเฝ้าดู Stat หลังบ้าน วิเคราะห์เวลาโพสต์ที่จะได้ Engage เยอะที่สุด หรือแม้แต่การประชุมระหว่างแบรนด์และเอเจนซี ก็มักจะวนอยู่ในเรื่อง Advertising Format ต้นทุนค่าคลิก (CPC) อัตราการคลิก (CTR), การปรับเรื่องราวให้ดูครีเอทีฟ, และปรับกลุ่มเป้าหมายของโฆษณา
นอกจากที่กล่าวมาก เราอยากให้หลายแบรนด์เริ่มตั้งคำถามว่า นอกจากการยิงโฆษณาแล้ว เรามีกลยุทธ์อื่น ๆ อีกหรือไม่ ที่ทำให้คนเกิดความผูกพันธ์กับแบรนด์ หรือพูดคุยกันจนนำไปสู่การทดลองใช้ และนำไปบอกต่อ ไม่เพียงแค่กดคลิกเข้าชมเพจหรือเว็บไซต์แล้วผ่านเลยไป
ดังนั้นถ้าเรากำลังประสบปัญหาที่มียอดคลิกเยอะ แต่คนไม่ค่อยซื้อสินค้า เราก็ควรเริ่มมองหากลยุทธ์ใหม่ๆ
แล้วอะไรบ้างที่ทำให้คนสนใจแบรนด์อย่างแท้จริง ไม่ผ่านมาแล้วผ่านไป?
แบรนด์ควรถอยกลับมาตั้งคำถาม เหมือนเป็นการเช็คลิสต์ตัวเองตามสเต็ปเหล่านี้
1.Core Value หรือแก่นหลักของแบรนด์คืออะไร ?
2.แล้ว Core Value นี้ เราได้สื่อสารมันออกไปครบถ้วนหรือไม่ ?
3.วิธีการสื่อสาร Core Value ของเราที่ผ่านมา มันทำให้ลูกค้ามีอารมณ์ร่วมกับสินค้านี้หรือเปล่า ?
คำถามข้อที่ 3 นี้ ถือเป็นจุดสำคัญ เพราะถ้าทุกอย่างเราดีมีคุณภาพ แต่ทำให้ลูกค้า “รู้สึกร่วม” ไม่ได้ การเน้นไปที่ยอดเข้าถึง หรือเน้นไปที่จำนวนคลิกก็คงไม่มีพลังมากพอ ที่จะทำให้ลูกค้ารู้สึก “อยากควักเงินออกจากกระเป๋า”
ดังนั้น “ก่อนทำให้ผู้บริโภคอยากคลิกไปซื้อสินค้า” ผู้บริโภคต้องถูกแรงดึงดูดจากแบรนด์ ให้เขารู้สึกเห็นคุณค่าของสินค้านั้นๆ
ตัวอย่างเช่น ชานมแบรนด์ ฉุน ชุ่ย เฮ้อ หรือ Just Drink ที่เถ้าแก่น้อยเอามาวางขายใน 7-Eleven เป็นชานมชื่อดังจากไต้หวัน ที่สินค้าหมดก่อน 8 โมงเช้า และกลายเป็นของหายากในชั่วข้ามคืน นั่นก็เพราะคนไทยได้อ่านรีวิวจากคนที่ไปเที่ยวไต้หวันบอกว่าเป็นชานมที่รสชาติดี และเป็นสิ่งที่คนมักจะซื้อมาเป็นของฝากกัน
และไม่ว่าจะปรากฏการณ์รอซื้อกระเป๋า รองเท้า เครื่องสำอางแบรนด์ดัง หรือเทรนด์ตามล่าหาเซิร์ฟสเก็ต ก็ล้วนเกิดมาจากการได้รับฟีดแบ็ก หรือเห็นการใช้งานของคนจริงๆ จึงทำให้เกิดการบอกต่อ จนสินค้าขาดตลาด หรือมีการขึ้นราคากันหลายเท่าตัว
จากเรื่องนี้เราเห็นอะไรบ้าง?
ยุคนี้คนเราชอบการเล่าเรื่อง หรือฟังรีวิวมากขึ้น เพราะมันคือการช่วยยืนยันว่า แบรนด์หรือสินค้านี้น่าเชื่อถือ น่าสนใจ หรือเข้ามาแก้ปัญหาชีวิตของพวกเขาได้อย่างแท้จริงหรือไม่ ไม่เหมือนสมัยก่อนที่ต้องมีคนเดินไปตื๊อให้พวกเขาซื้อ เขาถึงจะรู้จักและสนใจ
และบางครั้งการที่คน ๆ หนึ่งตัดสินใจซื้อสินค้า อาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเห็นโฆษณาตามหน้าเพจหรือบิลบอร์ดเพียงอย่างเดียว แต่อาจเพราะมีคนพูดถึงสินค้านั้น ๆ กันเป็นวงกว้าง จนทำให้เกิดความรู้สึกอยากลอง หรือเจอคนเขียนรีวิวในโลกออนไลน์ ทำให้ต้องลองค้นหาต่อ และนำไปสู่การซื้อในที่สุด
ดังนั้นในยุคที่ eCommerce และการซื้อขายหรือทำโฆษณาในโลกออนไลน์กำลังเฟื่องฟู สิ่งที่แบรนด์ห้ามลืมคือเรื่องของ “Converse To Convert” แม้เรื่องนี้จะเป็นเรื่องเก่า หรือเป็นเรื่องที่พูดกันมายาวนาน แต่สุดท้ายแล้ว มนุษย์ก็ต้องการการสื่อสาร ถึงจะนำไปสู่ความเข้าใจ และวางใจที่จะซื้อสินค้าของแบรนด์
แนวคิด Converse To Convert คืออะไร?
แนวคิด Converse To Convert คือการที่แบรนด์ให้ความสำคัญกับบทสนทนาต่อสินค้าหรือบริการ โดยผู้ที่สามารถเริ่มต้นสร้างบทสนทนาที่เกี่ยวกับแบรนด์ ไม่จำเป็นต้องเป็นตัวแบรนด์ ซีอีโอ หรือทีมงานเสมอไป
แต่คนที่เป็นผู้บริโภค อินฟลูเอนเซอร์ ผู้ที่มีชื่อเสียง หรือแม้แต่คนที่ไม่เคยเป็นลูกค้ามาก่อนก็ตามก็สามารถกลายมาเป็นผู้ที่ช่วยกระตุ้นอารมณ์ และสร้างบรรยากาศ “ความน่าซื้อ” ได้
หรือพูดง่ายๆ ก็คือ การอ่านหรือดูรีวิวจากคนทั่วไป ที่ไม่ใช่มาจากแบรนด์โดยตรง เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ช่วยสร้างบรรยากาศความน่าซื้อ หรือความน่าสนใจของแบรนด์
จากข้อมูลของ Global Consumer Survey โดย Statista ระบุว่า 59% ของคนไทยที่ซื้อสินค้าออนไลน์เห็นด้วยว่า Consumer Reviews หรือ การรีวิวจากกลุ่มผู้บริโภคเองในโลกออนไลน์ มีประโยชน์ในแง่การช่วยพวกเขาในการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการ
จากข้อมูลงานศึกษาของ GlobalWebIndex ที่ศึกษากลุ่ม Mobile Shoppers ในไทย พบว่า คนกว่า 1 ใน 3 ของนักช้อปผ่านมือถือ เห็นด้วยว่า คำสนทนาที่ดีต่อสินค้าหรือบริการมี ผลอย่างมากต่อการตัดสินใจซื้อของในออนไลน์
โดยรองจาก การส่งฟรี (61%) และ ส่วนลดที่ดึงดูดใจ (53%) และนอกจากนั้น การได้อ่านหรือเห็นคำสนทนาที่ดีในสินค้าหรือบริการ ยังทำให้ Mobile Shoppers มีแนวโน้มจะคลิกเข้าชม เว็บไซต์ของแบรนด์เพิ่มมากขึ้นอีก 15%
นั่นก็แปลว่า หากแบรนด์ขยับมามองเรื่องของ Conversation To Commerce มองเรื่องการผลักดันให้เกิดการสร้างบทสนทนาเกี่ยวกับแบรนด์ ก็จะส่งผลให้แบรนด์มีโอกาสที่จะได้ลูกค้าจริงๆ มากขึ้น หรือช่วยสร้างการรับรู้ให้กับแบรนด์มากขึ้นด้วย ซึ่งแน่นอนว่ามันก็จะนำไปสู่การมียอดคลิก หรือยอดชมเว็บไซต์ที่ดีตามไปด้วย
ในยุคนี้มีพื้นที่อะไร ที่มาช่วยผลักให้เกิดพลังของสร้างบทสนทนา ?
หากย้อนกลับไปเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว พื้นที่ที่สร้างบทสนทนามากที่สุดก็จะเป็นเว็บบอร์ด อย่างเช่น Pantip, Dek-D.com, PRAMOOL.COM และ Blog ต่างๆ อีกมากมาย และจะเต็มไปด้วยบุคคลธรรมดาที่ไม่เปิดเผยตัวตน มาสนทนาในห้องต่างๆ ซึ่งก็จะมีตั้งแต่การรีวิวสินค้า สอบถามเรื่องร้านอาหาร สถาบันเรียนพิเศษ หนังสือ และพูดคุยในประเด็นอื่นๆ
แต่ทุกวันนี้นอกจาก Pantip ก็มี Twitter ที่เป็นพื้นที่แห่งการสนทนา ที่ค่อนข้างมีอิมแพคไม่น้อย เพราะการทวีตหรือโพสต์ออกไปนั้น จะใช้ข้อความแค่ไม่กี่ตัวอักษร หรือลงเพียงโพสต์เดียว ก็สามารถส่งต่อไปที่คนอื่นๆ เป็นหมื่นเป็นแสนคน ผ่านการรีทวิตเป็นหมื่นเป็นแสนครั้งได้ ซึ่งถือว่าเป็นแพลตฟอร์มที่ส่งต่อข้อมูลกันได้อย่างรวดเร็วอันดับต้นๆ ของโลก
มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งของ Twitter* ที่ศึกษาเกี่ยวกับพลังของการสนทนาที่มีต่อแบรนด์ ระบุว่า หากแบรนด์สามารถเพิ่มจำนวนการสนทนาที่ดีในสินค้าหรือบริการได้เพียงแค่ 10% โอกาสในการสร้างยอดขายจะเพิ่มอีกถึง 3%
และจากการสำรวจในสหรัฐอเมริกา พบว่า ถ้ามีการซื้อโฆษณาหรือดัน Hashtag ใน Twitter จำนวนคนที่จะเข้ามาสนทนาเกี่ยวกับแบรนด์จะเพิ่มขึ้นถึง 105% ซึ่งเมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มอื่นๆ Twitter เป็นพื้นที่ที่ขับเคลื่อนการสนทนาได้มากกว่า 3 เท่า
เพราะ Twitter กลายเป็นเหมือน Marketplace ที่คนรุ่นใหม่ หรือกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อ จะสามารถเข้ามาถามหาสินค้าได้ ถามหารีวิวได้ ผ่านการใช้ Hashtag อย่างเช่น #รีวิวเซเว่น #รีวิวเครื่องสำอางค์เกาหลี #ตามหาเคส #รีวิวบ้าน #รีวิวคาเฟ่ต์ เป็นต้น
และการพิมพ์สิ่งที่ต้องการ พร้อมกับติด Hashtag ก็จะมีคนมาเห็น และ Reply เข้ามาบอกพิกัด บอกร้าน หรือแปะลิงค์ช่องทางการซื้อให้โดยทันที
อีกทั้งเราก็คงจะเห็นได้ว่ามีคนจำนวนไม่น้อย หรือคนรอบตัวของเราที่ไปร้านกาแฟ ร้านอาหาร หรือซื้อสินค้าจากการที่ “โดนรีวิวใน Twitter ป้ายยา” ซึ่งก็แปลว่า Twitter กลายเป็นแหล่งสร้างพลังของบทสนทนาที่ดีที่จะช่วยให้คนสนใจสินค้า บริการ
Twitter มีข้อมูลอะไรที่น่าสนใจอีกบ้าง ขั้นตอนการสนทนาเกิดขึ้นได้อย่างไร?
Conversation Flow หรือการสนทนาของกลุ่มคนบนทวิตเตอร์ มี Flow หลักอยู่ 5 ช่วง
1.Conversation starts: ก็คือช่วงก่อนถึงจุดพีคจะมาประมาณ 1 สัปดาห์ จะมีบางคนที่เริ่มเปิดประเด็นขึ้นมาก่อน เช่น ร้านนี้มีจุดขายอย่างไร ดีกว่าที่อื่นอย่างไร หรือบอก Tips ในการได้ Code ลับ เพื่อเป็นส่วนลดสินค้าหรือบริการ
2.Warm-up: หลังจากนั้นจะเข้าสู่ช่วงที่เครื่องเริ่มติด โดยจะมีกลุ่มคนเริ่มมาคุยถึงประเด็นที่กล่าวไปมากขึ้น คนจะเริ่มมาถกเถียงหรือให้ข้อมูลกันว่า อันไหนน่าสนใจหรืออันไหนไม่ควรซื้อ
3.Event Day: วันที่ Conversation พุ่งสูงสุดแตะค่าเฉลี่ยที่มีคนพูดถึงสูงสุด ทำให้เกิดกระแสแฮชแทคติด Trending ขึ้นมา ถ้าจะยกตัวอย่างให้เห็นภาพก็อย่างเช่น วันที่เทศกาล อย่างเช่น 11.11 เทศกาลคนโสด ก็จะมีกลุ่มคนกลัวตกรถ อดได้สินค้าราคาโปรโมชัน ทำให้ต้องติดตามแฮชแทคใน Trending ที่เกี่ยวกับ 11.11
4.Unboxing: ช่วงนี้คือช่วงที่คนเริ่มออกมารีวิวสิ่งที่ได้ซื้อตาม ซึ่งจะเกิดขึ้น 2-3 วันหลังจากช่วง Event Day ถ้าของดีสินค้าดี นี่คือช่วงเวลาที่คนกำลังทวิตบอกต่อๆ กัน หรือเรียกว่าช่วงเวลาทองในการ Advocacy ของแบรนด์
5.Aftermath: ช่วงกระแสเริ่มซา แต่ช่วงนี้เราจะได้ Insight จากลูกค้าที่จริงมากขึ้น เพราะถ้ายังมีคนพูดถึงอยู่ แปลว่าสินค้าของเรายังได้รับความสนใจ และถ้าการสนทนานี้มีการสนทนาในทางบวก แบรนด์ก็จะยิ่งได้รับความสนใจในทางที่ดีมากขึ้น
ในขณะเดียวกันถ้ามีฟีดแบ็กไม่ดีเกิดขึ้น Twitter จะเป็นแหล่งที่ทำให้แบรนด์ได้ข้อมูลจริงจากปากลูกค้า เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาสินค้า โดยที่ไม่ต้องออกไปทำรีเสิร์ชให้วุ่นวายยุ่งยาก เพียงแค่เสิร์ชสินค้าหรือชื่อแบรนด์ของเรา
และนี่คืออีกข้อมูลที่น่าสนใจจาก GlobalWebIndex โดยทีมงานได้ไปทำการศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง นักช้อปออนไลน์บน Twitter ที่ได้อ่านบทสนทนาที่ดีเกี่ยวกับสินค้าและบริการ กับ นักช้อปออนไลน์บน Twitter ที่ไม่ได้อ่านบทสนทนาที่ดีเกี่ยวกับสินค้าและบริการ
สถิติเหล่านี้ก็ถือเป็นการตอกย้ำว่า ในยุคนี้คือยุคแห่งพลังของบทสนทนา ยิ่งมีการพูดคุยเกี่ยวกับสินค้าและบริการนั้นมากเท่าไหร่ โอกาสที่กลุ่มลูกค้าจะเห็นแบรนด์ เข้าใจคุณค่าของแบรนด์ จนนำไปสู่การซื้อหรือโดนป้ายยา ก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น
ดังนั้นนักการตลาด หรือคนที่ทำแบรนด์ ที่กำลังลงมาเล่นในสมรภูมิออนไลน์ยุคนี้ อย่าเพิ่งมองข้ามไปที่เรื่องของเทคนิค หรือทางลัดล้ำๆ ให้ได้ยอดวิวยอดคลิกเยอะๆ เพียงอย่างเดียว ควรมองกลับไปที่จุดสำคัญ ที่เป็นตัวผลักให้ “คน” รู้สึกอยากมีส่วนร่วมในสินค้าและบริการมากขึ้น เพราะถ้ากลุ่มลูกค้า “เห็นคุณค่าของสินค้า” จากการพูดคุยหรือสนทนาจากผู้ใช้งานคนอื่นๆ มาก่อน เขาถึงจะตัดสินใจคลิก และตัดสินใจซื้อตามมา
เพราะเป้าหมายที่แท้จริงของการทำแบรนด์คือ ทำให้เกิดยอดขาย ไม่ใช่แค่ยอดคลิก
ดังนั้นในวันนี้ เราอยากชวนให้แบรนด์กลับมาถามตัวเองว่า เราได้เริ่มทำให้สินค้าและบริการของเราเป็นที่ถูกพูดถึงหรือยัง?
หากนักการตลาดยุคใหม่ อยากทำให้แบรนด์เป็นหนึ่งในบทสนทนาสำคัญในโลกออนไลน์อย่าง Twitter สามารถติดต่อได้ที่ MediaDonuts ตัวแทนจำหน่ายโฆษณาของ Twitter ประจำประเทศไทย ผ่านทาง marketingSEA@mediadonuts.com
ชุ่ย 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
เส้นทาง เถ้าแก่น้อย จากเกาลัด สู่ชานม /โดย ลงทุนแมน
ถ้าพูดถึงเถ้าแก่น้อย หลายคนคงนึกถึง ขนมสาหร่ายแปรรูป
แต่รู้ไหมว่า เถ้าแก่น้อยในตอนนี้ กำลังเอาชานมชื่อดังจากต่างประเทศมาขายในไทย
ที่ผ่านมา ตลาดชานม เติบโตมากแค่ไหน
แล้วทำไม เถ้าแก่น้อย ถึงเริ่มขายชานม?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เถ้าแก่น้อย หรือ บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จํากัด (มหาชน)
ถูกก่อตั้งขึ้นโดย คุณต๊อบ อิทธิพัทธ์ พีระเดชาพันธ์ ในปี 2546
ในช่วงแรกของการทำธุรกิจ คุณต๊อบเริ่มต้นด้วยการขายเกาลัด
แต่ก็ขายได้ไม่ค่อยดีเท่าไรนัก และเริ่มประสบปัญหาขาดทุน
เนื่องจากยังมีประสบการณ์ไม่มากในการทำธุรกิจ
ต่อมา คุณต๊อบ ได้ย้ายร้านเกาลัดไปขายในห้างสรรพสินค้า
ซึ่งปรากฏว่า รายได้จากการขายเกาลัดกลับจากก่อนหน้านั้นอย่างมาก
ทำให้เขาคิดว่า สินค้าจะขายได้ดีมีปัจจัยสำคัญคือ ทำเลต้องดีด้วย
เมื่อเกาลัดเริ่มขายดี คุณต๊อบก็เริ่มขยายสาขา
รวมถึงเริ่มเอา ลูกท้อ ลำไยอบแห้ง และสาหร่ายทอดกรอบ มาวางขายด้วย
หลังจากนั้นไม่นาน สินค้าที่ขายดีที่สุดกลับไม่ใช่เกาลัดแล้ว แต่กลายเป็นสาหร่ายทอดกรอบ..
จุดนี้เอง ที่เป็นจุดเริ่มต้นให้เขากลับมาศึกษาและค้นคว้า
เพื่อต่อยอดการทำสาหร่ายทอดกรอบ "เถ้าแก่น้อย" อย่างจริงจังนับแต่นั้นมา
กิจการขายสาหร่ายของเขาเติบโตต่อเนื่อง
และประสบความสำเร็จถึงขนาดสามารถจดทะเบียนเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ได้ ในปี 2558
หรือเพียงแค่ 12 ปี หลังจากเถ้าแก่น้อยก่อตั้งขึ้นมา
ปัจจุบัน รายได้ของเถ้าแก่น้อยมาจาก ตลาดต่างประเทศ 60% และจากตลาดในประเทศไทย 40%
ซึ่งรายได้จากต่างประเทศทั้งหมดนั้น มาจากประเทศจีนถึง 36%
พอเป็นแบบนี้ จึงต้องบอกว่า ตลาดที่ประเทศจีน มีความสำคัญไม่ต่างจากตลาดในประเทศไทยเลยทีเดียว
ขณะที่ในตลาดขนมขบเคี้ยวประเภทสาหร่ายในประเทศไทย เถ้าแก่น้อยถือว่าเป็นผู้นำในตลาด เนื่องจากมีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดถึง 68%
อย่างไรก็ตาม ถ้าหากย้อนกลับไป 2 ปีก่อนหน้านี้
ต้องบอกว่า เถ้าแก่น้อย เจอความท้าทายในหลายๆ เรื่อง
ทั้งเรื่องที่นักท่องเที่ยวจีนเดินทางมาประเทศไทยชะลอตัวลง
และเนื่องจากสาหร่ายของเถ้าแก่น้อย เป็นของฝากที่คนจีนนิยมซื้อเมื่อมาเที่ยวไทย
ยอดขายสาหร่ายของเถ้าแก่น้อยจึงได้รับผลกระทบไปด้วย
อีกทั้งในปี 2562 ผู้จัดจำหน่ายสินค้าเดิมของเถ้าแก่น้อยในตลาดจีน มีปัญหาในการจัดจำหน่าย ทำให้ทางบริษัทเถ้าแก่น้อยต้องเปลี่ยนพันธมิตรทางธุรกิจรายใหม่ และยังส่งผลให้รายได้บางส่วนขาดหายไป
ขณะที่ในปีนี้ การแพร่ระบาดของโควิด 19 ก็ส่งผลกระทบกับรายได้ของบริษัทพอสมควร
ผลประกอบการของ บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน)
ปี 2561 รายได้ 5,697 ล้านบาท กำไร 459 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 5,297 ล้านบาท กำไร 366 ล้านบาท
9 เดือนแรก ปี 2563 รายได้ 3,115 ล้านบาท กำไร 263 ล้านบาท
จากการที่ต้องเจอกับความท้าทายหลายเรื่องที่ว่ามา
ทำให้ เถ้าแก่น้อย ต้องมองหาผลิตภัณฑ์ใหม่ มาเพื่อกระจายความเสี่ยง
นอกเหนือจากการขายเพียงผลิตภัณฑ์จากสาหร่าย
ทำให้ตอนนี้ เถ้าแก่น้อย พยายามรุกธุรกิจใหม่
โดยการดึงแบรนด์ชานมที่ชื่อว่า “ฉุน ชุ่ย เฮ้อ” (Just Drink) ชานมจากไต้หวัน ซึ่งถือเป็นต้นตำหรับของชานมไข่มุก เพื่อนำเข้ามาขายในประเทศไทย
โดยแบรนด์นี้มีจำหน่ายในฮ่องกง และสิงคโปร์มาแล้วก่อนที่จะเข้ามาในประเทศไทย
แล้ววันนี้ตลาดชานม ใหญ่แค่ไหน?
สถิติอ้างอิงจาก Allied Market Research
ปี 2559 ตลาดชาไข่มุก มีมูลค่าประมาณ 62,000 ล้านบาท
ปี 2562 ตลาดชาไข่มุก มีมูลค่าประมาณ 72,000 ล้านบาท
จะเห็นว่า มูลค่าตลาดนั้นเติบโต 16% ในระยะเวลา 3 ปี แต่ที่น่าสนใจคือ Allied Market Research ยังได้คาดการณ์ว่า ภายในปี 2570 มูลค่าตลาดชาไข่มุกจะเติบโตไปถึง 130,000 ล้านบาท หรือเติบโตเกือบเท่าตัวจากปัจจุบัน
อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ
รู้ไหมว่า ปัจจุบันคนไทยเป็นชาติที่ดื่มชานมไข่มุกมากสุดในเอเชีย
ด้วยจำนวนเฉลี่ย 6 แก้วต่อเดือน
ด้วยการเติบโตอย่างมากของตลาดชานมไข่มุกในช่วงที่ผ่านมา
และด้วยแนวโน้มที่ยังสามารถเติบโตต่อไปได้อีกในอนาคต
จึงทำให้เถ้าแก่น้อยตัดสินใจกระโดดเข้ามาร่วมเล่นในตลาดนี้ด้วยนั่นเอง
ซึ่งเรื่องนี้ ก็น่าติดตามกันต่อไป
ว่า เถ้าแก่น้อย จะขายชานม ได้ดีหรือไม่
แต่ที่แน่ๆ เรื่องนี้เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจว่า
เจ้าของธุรกิจที่มีประสบการณ์ จะไม่ได้ยึดติดกับแค่ผลิตภัณฑ์ตัวใดตัวหนึ่ง
ในทางกลับกัน เขาจะพยายามหาช่องทางนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
ตั้งแต่ เกาลัด สาหร่าย มาจนถึงชานม
ซึ่งก็เชื่อว่า หากชานมตีตลาดในคราวนี้ไม่สำเร็จ
ในครั้งหน้า เถ้าแก่น้อย ก็น่าจะหาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่น่าสนใจ มานำเสนอให้กับผู้บริโภค อยู่เรื่อยๆ
พูดง่ายๆ ว่า คุณต๊อบน่าจะมีสัญชาตญาณ “ความเป็นเถ้าแก่” สมชื่อกับแบรนด์ของเขา นั่นเอง..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
รู้ไหมว่า คุณต๊อบเคยเห็นตู้คั่วเกาลัดของบริษัทญี่ปุ่น
ที่มาออกบูทแสดงสินค้าในประเทศไทย ซึ่งเขารู้สึกสนใจอยากซื้อ
แต่เนื่องจากตู้คั่วเกาลัดมีราคาสูงถึง 500,000 บาท
ซึ่งเขาไม่มีเงินมากขนาดนั้น จึงต้องปฏิเสธไป
อย่างไรก็ตาม เขายังคงแวะไปที่บูทนี้เรื่อยๆ ในช่วงที่บริษัทญี่ปุ่นรายนี้มาออกงานแสดงสินค้า เขาสนใจตู้นี้มาก ถึงขนาดไปช่วยขายเกาลัดให้กับบูทบริษัทญี่ปุ่นแห่งนี้เลยทีเดียว
ซึ่งทำให้คุณต๊อบพบว่า เกาลัดเป็นสินค้าที่ขายดีมาก
ถ้าเขามีตู้นี้ เขาจะต้องขายเกาลัดได้ดีแน่นอน
สุดท้ายบริษัทญี่ปุ่นรายนั้น ก็ให้คุณต๊อบเช่าตู้คั่วเกาลัดนั้น ในราคาเดือนละ 50,000 บาท
และได้นำมาเริ่มธุรกิจคั่วเกาลัดขาย และนั่นก็คือจุดเริ่มต้นของเถ้าแก่น้อยนั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-แบบฟอร์ม 56-1 ปี 2562, บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน)
-คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ไตรมาสที่ 3 สิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย. 2563,บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน)
-https://www.alliedmarketresearch.com/bubble-tea-market#:~:text=The%20bubble%20tea%20market%20was,7.80%25%20from%202020%20to%202027.&text=Most%20bubble%20tea%20recipes%20contain,fruit%20jelly%20are%20often%20added.
-https://www.alliedmarketresearch.com/bubble-tea-market#:~:text=The%20bubble%20tea%20market%20was,7.80%25%20from%202020%20to%202027.&text=Most%20bubble%20tea%20recipes%20contain,fruit%20jelly%20are%20often%20added.
-https://www.grandviewresearch.com/industry-analysis/bubble-tea-market#:~:text=Thailand%20is%20one%20of%20the,cups%20per%20person%20per%20month.
-https://www.youtube.com/watch?v=0rMdVC3nBl0
ชุ่ย 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
เมื่อตลาด Sophisticated มากขึ้นเรื่อยๆ
สุดท้ายแล้ว จะลู่เข้าสู่ความเป็น ORIGINAL..
เรื่องนี้ไม่ต่างจาก ทำไมคนตามหารสชาติซูชิแบบญี่ปุ่นแท้ๆ คนตามหาขนมปังรสชาติฝรั่งเศส
แบบในกรณีนี้ ชานมขวด ยอดนิยม ฉุน ชุ่ย เฮ้อ รสชาติแบบไต้หวัน ก็เริ่มมาขายในเซเว่นแล้ว 35 บาท น่าลอง..