[爆卦]ชีววิทยา ปลานิล是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇ชีววิทยา ปลานิล鄉民發文沒有被收入到精華區:在ชีววิทยา ปลานิล這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 ชีววิทยา產品中有22篇Facebook貼文,粉絲數超過27萬的網紅อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์,也在其Facebook貼文中提到, (บางส่วนของบทความ) จากรายการ หนุ่ยทอล์ก ประจำวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา เรื่อง “ถอดกลยุทธ์ จีนปราบโควิด ช่วยชีวิตคนอย่างไร?” รองศาสตราจารย์ ดร.เจษฎา...

 同時也有61部Youtube影片,追蹤數超過0的網紅FNDiary,也在其Youtube影片中提到,หนอนปีศาจทะเลทราย : https://youtu.be/Uk-eRlhSRns เราควรจะดีใจที่สัตว์เหล่านี้สูญพันธุ์ไปแล้ว : https://youtu.be/78Q4q6hEijk ไก่หัวขาด : FB : https://...

  • ชีววิทยา 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最佳貼文

    2021-08-18 17:59:57
    有 38 人按讚

    (บางส่วนของบทความ) จากรายการ หนุ่ยทอล์ก ประจำวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา เรื่อง “ถอดกลยุทธ์ จีนปราบโควิด ช่วยชีวิตคนอย่างไร?”

    รองศาสตราจารย์ ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชา​ชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เห็นด้วยกับรองศาสตราจารย์ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม เรื่องความสำคัญของผู้นำ

    “ทั้งนี้ไม่จำเป็นจะต้องดึงคนให้ลงจากตำแหน่ง แต่ต้องเปลี่ยนคนที่ออกไปสื่อสารกับสังคมได้แล้ว ภาษาทางการเมืองเขาเรียกว่า เอาคนที่ ‘หน้ายังไม่ช้ำ’ ออกไปสื่อสารให้คนเข้าใจมากขึ้น ปัญหาอีกอย่างนึงคือประชาชนไม่ได้อยากฟังแค่เรื่องสาธารณสุข พวกเขาฟังมาปีกว่าแล้ว แต่พวกเขาอยากฟังมุมมองทางเศรษฐกิจ รัฐศาสตร์ อุตสาหกรรมหรือภาคท่องเที่ยวว่ามีแผนทางออกอะไรบ้าง มากกว่าที่จะรอว่ารัฐสั่งให้ทำอะไร ผมว่าเราน่าจะแก้วิกฤตศรัทธาได้ดีขึ้นครับ”

    รองศาสตราจารย์ ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ยังเสริมอีกว่า “หลายคนคิดว่าอู่ฮั่นโมเดลคือความสำเร็จ แต่มุมของวิทยาศาสตร์และการแพทย์กลับมองว่าอู่ฮั่นคือความล้มเหลวและความผิดพลาดที่กลายเป็นบทเรียนครั้งใหญ่ที่สุด ที่จีนเองภายหลังต้องออกมายอมรับและเอามาปรับใช้กับเมืองอื่น ๆ จนเกิดเป็น ‘กว่างโจวโมเดล’ รวมถึงแพตเทิร์นต่อไปที่จะเอามาสู้กับสายพันธุ์เดลตา”

    “หนึ่งในความล้มเหลวของอู่ฮั่นโมเดลคือการปฏิเสธข่าวว่ามีการระบาดที่ตลาดปลาในเมืองอู่ฮั่น พอมีการระบาดเกิดขึ้นก็ไม่ยอมรับอีกว่าสามารถแพร่จากคนสู่คนได้ แต่กลับบอกว่าติดมาจากสัตว์ จนกลายเป็นการระบาดครั้งใหญ่ถึงจะออกมายอมรับ มีนายแพทย์ใหญ่คนหนึ่งออกมาพูดถึง ‘Golden Period’ หรือวินาทีทอง ที่ถ้าควบคุมตั้งแต่ตอนนั้นก็สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ แต่จีนเลยช่วงเวลาของ Golden Period นั้นมานานแล้ว ทำให้เกิดเป็นอู่ฮั่นโมเดลที่ล็อกดาวน์เมืองทั้งหมด 72 วันตามมา ซึ่งจีนมองว่าต้องไม่เกิดเหตุการณ์แบบนี้อีก จะทำอะไรต้องเร็ว สิ่งที่จีนทำได้คือการตรวจเชื้อวันละ 1 ล้านคน”

    ท้ายที่สุดรองศาสตราจารย์ ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์มองว่า ถึงแม้อู่ฮั่นโมเดลคือโมเดลใช้งานได้สำเร็จ แต่ก็แลกมาด้วยวิกฤตและความเสียหาย เป็นตัวอย่างของบทเรียนที่ดีให้แก่การจัดการในเมืองอื่น ๆ อย่าง กว่างโจวโมเดลต่อมา แต่ก็ต้องถามว่าประเทศไทยทำอย่างเขาได้หรือเปล่า?

    รองศาสตราจารย์ ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ เสริมเรื่องการจัดการของผู้นำว่า “ต้องจัดการโครงสร้างใหม่ ดึงเอกชนเข้ามาร่วมเยอะ ๆ เลิกรวมศูนย์ ประเภทที่ตัวเลข ชุดตรวจหรือการรักษาต้องอยู่ในมือฉันเท่านั้นควรเปลี่ยนได้แล้ว เลิกคิดแต่ว่ารัฐคือผู้คุมทุกอย่างได้แล้ว ในสภาวะที่เราไม่สามารถเปลี่ยนผู้นำได้ สิ่งที่เราทำได้ในวันนี้คือเปลี่ยนกลไกในการตัดสินใจทั้งหมด”

    ประเด็นสุดท้ายที่พูดคุยกันยังคงอยู่กับเรื่องวัคซีน mRNA ยังคงเป็นคำตอบของไทยในเวลานี้หรือไม่? รองศาสตราจารย์ ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ กล่าวว่า

    “mRNA หรือวัคซีนที่เป็นโปรตีนมีความจำเป็นตั้งแต่แรก จนถึงวันนี้ รวมถึงอนาคตด้วย อย่าลืมว่ากลไกของจีนไม่ได้พึ่งแค่วัคซีนอย่างเดียว แต่รวมถึงการล็อกดาวน์อย่างเข้มข้น การระดมตรวจอย่างมหัศจรรย์ การเยียวยาที่สามารถแบ่งปันอาหารกันได้ ไปจนถึงเศรษฐกิจเขาใหญ่เพียงพอที่ไม่ต้องเดินทางไปไหนก็ยังประคองตัวกันได้

    ดังนั้นการที่เขาใช้วัคซีนระดับกลางจึงเพียงพอสำหรับการระบาดของสายพันธุ์เดิมหรืออัลฟา แต่การมาถึงของสายพันธุ์เดลตาทำให้นักวิจัยของจีนเริ่มพัฒนาวัคซีนเจเนอเรชันที่ 2 สำหรับใช้ในปีหน้าแล้ว เพราะเขาต่างรู้ดีว่าวัคซีนตัวเดิมเริ่มประสิทธิภาพถดถอย ขณะเดียวเขาก็เห็นแล้วว่าประสิทธิภาพของ mRNA นั้นได้ผล จึงเริ่มมีการผลิตและคาดว่าจะนำมาฉีดให้กับประชาชนในฐานะวัคซีนบูสต์เข็มที่ 3 ไปจนถึงคนที่ยังไม่ได้ฉีดด้วยเช่นกัน แต่ปัญหาของประเทศเราไม่ใช่ว่าวัคซีนตัวไหน แต่จำนวนที่มันไม่พอสำหรับคนทั้งประเทศนี่แหละที่เป็นปัญหา ซึ่งเป็นปัญหามาตั้งแต่โครงสร้าง แต่การมาของเดลตามันเปลี่ยนวิธีคิดทุกอย่างไปโดยปริยาย สิ่งที่ผมกังวลคือในช่วงเวลา 1 เดือนที่ผ่านมาเราไม่ได้ยินคำตอบใหม่ ๆ จากรัฐบาลเลย”

    “ผมมักโพสต์เสมอว่าขอวัคซีนเพิ่มได้ไหม วันนี้เราต้องการลดการตายก่อน การตายเป็นเรื่องใหญ่มากกว่าการติดเชื้อ ผู้สูงอายุในบ้านเราเพิ่งฉีดวัคซีนไปเพียง 10-20% ถ้าเป็นประเทศอังกฤษเขาเน้นฉีดที่ผู้สูงอายุก่อนแล้วค่อย ๆ ไล่อายุลงมาด้วยซ้ำ แต่บ้านเรากลับฉีดสะเปะสะปะมาก ผมว่าต้องเปลี่ยนแผนใหม่ ต้องระดมซื้อวัคซีนให้มากขึ้น รวมถึงฉีดให้กับผู้สูงอายุให้เร็วที่สุดภายในเวลากี่เดือนก็ว่าไป ทำแค่ 2 อย่างนี้ก็เพียงพอมากกว่าจะไปเรียกร้อง mRNA แล้วครับ แต่ผมกลับไม่เห็นอะไรเลย”

  • ชีววิทยา 在 horrorclub.net Facebook 的最佳解答

    2021-06-03 17:33:40
    有 480 人按讚

    หากคุณใส่ใจสิ่งแวดล้อม พร้อมกับรักหนังสยองขวัญ GAIA คือหนังที่คุณต้องหามาดู
    .
    Gaia คือหนังสยองจากประเทศแอฟริกาใต้ ที่ได้รับการยกย่องจากนักวิจารณ์ให้เป็นหนังสยองแนวทาง Eco-Horror* ที่เด็ดดวงเรื่องนึง
    โดยหนังเล่าเรื่องของ แกบี้ เจ้าหน้าที่ดูแลป่าที่ประสบอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติหน้าที่ เธอได้รับการช่วยเหลือจากสองพ่อลูกผู้พำนักในกระท่อมกลางป่า หญิงสาวสัมผัสได้ถึงพฤติกรรมประหลาดของทั้งคู่ที่ผูกจิตเชื่อมโยงกับพงไพรภายนอก ทว่าความน่าสะพรึงกลัวที่แท้จริงกำลังจะมาเยือนในไม่ช้า เมื่อพระแม่ธรณีตื่นจากการหลับใหล และเผยร่างที่แท้จริงของเธอให้มนุษย์ศิโรราบ
    .
    *Eco-Horror นั้นหมายถึงหนังสยองขวัญที่พูดถึงความรุนแรงจากธรรมชาติอาเพศ ผลกระทบระหว่างมนุษย์ สัตว์ พืช ในระบบนิเวศที่แปรปรวนวิปริต ตัวอย่างหนังแนวนี้ก็เช่น The Birds, The Bay, The Host, Annihilation, The Happening, Godzilla (ก็ถูกนับเป็น Eco-Horror ในบางมุม)
    .
    สำหรับ Gaia นั้น Jaco Bouwer ผู้กำกับ และ Tertius Kapp โปรดิวเซอร์ และคนเขียนบท ได้ลงลึกไปยังการค้นคว้าศาสนาอับราฮัม ระบบนิเวศวิทยา ชีววิทยา ไปสู่การศึกษาระบบเห็ดรา ในการสร้างเครือข่ายวงศ์วานภายใต้ผืนธรณี ซึ่งนำไปสู่จินตนาการชวนผวาน่าสะพรึงของหนังเรื่องนี้
    .
    ในส่วนของชื่อหนัง Gaia เป็นการหยิบยกมาจากตำนานเทพปรณัมกรีกโบราณ ถึงพระนาง Gaia ผู้ได้ชื่อว่าเป็นเทวีองค์แรกของโลก นางถือเป็นพระแม่ธรณีผู้ให้กำเนิดสรรพสิ่งต่าง ๆ และชื่อหนังเรื่องนี้ก็เป็นการบอกใบ้ให้เรารู้ว่ามนุษย์ไม่มีทางยิ่งใหญ่ไปกว่าธรรมชาติได้
    .
    นอกจาก Gaia จะได้รับคำชมล้นหลามจากนักวิจารณ์ หนังยังคว้ารางวัลถ่ายภาพยอดเยี่ยมจากเทศกาลภาพยนตร์ชั้นนำอย่าง SXSW Film Festival ปีล่าสุด
    Gaia มีกำหนดลงสตรีมมิ่งที่อเมริกา 25 มิถุนายนนี้
    ชมตัวอย่าง
    https://www.youtube.com/watch?v=e9QbbTp5pE8

  • ชีววิทยา 在 Facebook 的最佳解答

    2021-05-14 16:17:05
    有 85 人按讚

    หมายเหตุ อันนี้โพสต์บ่น

    เนื่องจากรอบที่แล้วที่ผมบ่นไปเรื่องการให้คำปรึกษา

    ก็มีคนมาแย้งอยู่พอดูนะครับว่า

    การให้คำปรึกษาปรึกษากว้างๆ
    มันมีผลประโยชน์ต่อการให้เขาไปศึกษาเรียนรู้เอง
    เป็นทักษะติดตัว

    ซึ่งผมก็อยากจะมาบ่นต่ออีกรอบนะครับ
    ว่า ................ ก็ใช่
    มันก็จริงอยู่ ..................... แต่คุณต้องใช้มันให้ถูกกรณีครับ

    ----------------------------

    ตัวอย่างที่ผมบอกไปรอบก่อน ผมแบ่งคนออกเป็นสามกลุ่ม
    รอบนี้จะอธิบายให้ละเอียดกว่าเดิม
    ว่าทั้งสามกลุ่มมีเอกลักษณ์เฉพาะยังไงบ้าง

    กลุ่ม 1. บอกว่าอยากทำอะไรสักอย่าง
    *แต่ไม่เคยพยายามที่จะลองค้นหาความรู้หรือทดลองอะไรก่อนเอง*

    ซึ่งกลุ่มนี้นะ ต่อให้คุณป้อนอะไรให้เขาไป เขาก็ไม่ทำมัน
    ผมถึงได้บอกว่ามันเสียเวลาที่จะไปยุ่งกับเขา

    กลุ่ม 2. คือคนที่ *พยายามจะลองเรียนรู้ด้วยตัวเองแล้ว*
    แต่ทำไม่ได้เพราะหาจุดเริ่มไม่ได้
    ไม่รู้ว่าจะเริ่มตรงไหน

    กลุ่ม 3. คือคนที่หาเริ่มแล้ว
    แต่ติดขัดไปต่อไม่ได้ ถึงได้มาขอความช่วยเหลือ

    ซึ่งทั้งสามกลุ่มนี้คือกลุ่มคนที่อยู่ใน "โซนพื้นฐาน"
    ตามภาพที่ผมวาดมา

    *ผมไม่ได้พูดถึงกลุ่มคนที่มีพื้นฐานแน่นแล้ว*
    ซึ่งอยู่ในโซนเรียนรู้ตัวเองได้

    ซึ่งการให้คำปรึกษา**อย่างกว้างๆ**นะ
    มันเหมาะกับคนที่อยู่ในโซนระดับกลางขึ้นไป

    *มันไม่ได้เหมาะกับคนที่ยังอยู่ในโซนเรียนรู้พื้นฐานครับ*

    --------------------------------------

    อธิบาย

    ภาพที่ผมเขียนมานี้ ผมวาดเป็น 2 มิติให้มันเข้าใจง่ายๆ
    ถ้าเป็นระดับความสัมพันธ์จริง มันจะมีความซับซ้อนอย่างน้อย 3 มิติขึ้นไป

    อย่างสมมุติว่าคุณมีความตั้งใจจะทำอะไรให้สำเร็จสักอย่าง
    โดยสิ่งๆนั้นอยู่ในโซน C

    ความรู้โซน B+D คือความรู้เสริมที่ช่วยผลักดันความรู้หลักที่จำเป็น

    ส่วนความรู้โซน A+E คือสิ่งที่ดูเหมือนจะใช่
    แต่จริงๆแล้วไม่มีประโยชน์ต่อความจำเป็นเท่าที่ควร

    ซึ่งประเด็นนั้นมีอยู่ว่า
    *มนุษย์มีเวลาในการเรียนรู้จำกัด*

    มนุษย์ไม่สามารถที่จะเรียนทุกอย่างพร้อมกันได้หมด

    สมมุติว่าเขามีศักยภาพที่จะเรียนได้พร้อมกัน 3 เรื่อง
    การที่เขาจะไปถึงจุดหมายของเขาอย่างมีประสิทธิภาพได้
    เขาจะต้องเรียน B-D แล้วทิ้ง A+E ไป

    ซึ่ง ......... สมมุตินะครับว่า
    คุณไปบอกเขาว่า "คุณต้องเรียนรู้เรื่องพื้นฐาน"

    ......... แต่

    .................... คุณไม่ได้บอกเขาว่า
    "มันมีอะไรที่เป็นเรื่องพื้นฐานบ้าง"

    มันมีความเป็นไปได้ครับว่า
    เขาจะเริ่มที่ A หรือ E แทน

    หรือไม่ถ้าซวยหน่อย ก็เริ่มที่เลย Z กับ F ไป

    *เพราะเขาไม่รู้ว่าอะไรเป็นความรู้พื้นฐานที่จำเป็นต่อเป้าหมายของเขา*

    การที่คุณจะชี้แนะให้เขาพัฒนาตนอย่างมีประสิทธิภาพได้
    คุณต้องมอบความรู้ขั้นต่ำให้เขาครับว่า
    เขาจะต้องเริ่มที่จุด B-D

    แทนที่จะจับโยนเขา ให้เขาสุ่มตกลงไปในโซนอื่นแทนครับ

    ที่ว่ามานี้ คือกรณีของคนที่อยู่ในกลุ่ม 2
    คือเขาไม่มีความรู้ที่จะทราบได้ว่า
    ต้องเริ่มตรงไหนถึงจะพัฒนาการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพได้

    -----------------------------

    ต่อมา

    ก่อนที่บุคคลหนึ่งๆจะสามารถเรียนรู้อะไรด้วยตัวเองได้นั้น
    เขาจะต้องมีความรู้พื้นฐานในระดับหนึ่งก่อน

    ซึ่งความรู้พื้นฐานเหล่านี้
    จะเป็นบันไดให้เขาเข้าสู่โซนการเรียนรู้ด้วยตัวเองได้

    และในขณะเดียวกัน ทุกเรื่องมันจะมี*กำแพงความรู้ขั้นต่ำ*อยู่
    ที่เขาจะไม่สามารถผ่านด้วยตัวเองได้ ถ้าไม่มีการชี้นำที่เจาะจง

    ซึ่งระดับกำแพงอันนี้จะต่างกันไปตามความสามารถของแต่ละบุคคล

    *แต่* มันจะมีจุดร่วมอยู่อย่างเดียวกันคือ
    บุคคลที่เจอกำแพงนี้
    คือกลุ่มคนที่ได้พยายามเรียนรู้หรือลองทำอะไรแล้ว

    นี่คือคนกลุ่มที่ 3.

    ซึ่ง ........ ตรงนี้ก็เหมือนกันครับ

    การที่คุณจะไปบอกว่า "คุณต้องเรียนรู้เรื่องพื้นฐาน" เพิ่มนะ
    ........มันไม่มีประโยชน์ครับ

    เพราะ *เขากำลังทำมันอยู่แล้ว*

    ปัญหาของเขามันอยู่ที่
    *เขาไม่สามารถทำลายกำแพงนั้นด้วยตัวเองได้*

    และการที่เขาจะสามารถทำลายกำแพงนั้นได้
    มันจะต้องมีคนมาอธิบายให้เขาฟังว่า *กำแพงนั้นคืออะไร*

    ซึ่งการจะอธิบายแบบกว้างเกินไป
    มันไม่ได้เป็นการช่วยให้เขารู้ได้เลยว่า
    อะไรคือกำแพงที่ขวางเขาอยู่

    และถ้าเขาเป็นบุคคลที่มีศักยภาพในการทำลายกำแพงนั้นเอง
    เขาก็ทำได้ และเป็นคนที่อยู่ในโซนกลางไปแล้ว

    ซึ่งคนกลุ่มกลางนะ
    *ไม่ได้มีความจำเป็นอะไรที่จะต้องมาขอคำปรึกษาด้วยซ้ำครับ*

    ฉนั้น การที่คุณจะให้คำปรึกษานะ
    มันจะต้องมีความชัดเจนในระดับหนึ่ง
    ที่ทำให้เขารู้ได้ว่ากำแพงนั้นคืออะไร
    และสมค่ากับความพยายามของเขาครับ

    -------------------------------------------
    -------------------------------------------

    อันนี้ขอยกตัวอย่างจริงที่เจอมาหน่อย

    มีบุคลากรอยู่คนหนึ่งอยากจะเป็น Game Level Designer
    (อธิบายย่อๆว่า เป็นอาชีพออกแบบสิ่งแวดล้อมในเกม)

    ยกตัวอย่างความรู้ที่จำเป็นต่ออาชีพนี้
    ก็จะมีด้าน 3DCG เป็นโซน C
    สถาปัตยกรรม สิ่งแวดล้อม ชีววิทยา ออกแบบระบบเกม เป็นโซน B+D

    แล้วบุคลากรนี้จบสถาปัตย์มา

    ซึ่งถ้าจะถามว่า อยากทำเกมแล้วทำไมไปเรียนสถาปัตย์
    เขาก็ตอบมาว่า
    .......... เพราะเลือกเรียนสายวิชาใกล้เคียงสุดที่พ่อแม่เข้าใจและรับได้

    ................ ซึ่งจริงๆแล้วมันก็ไม่ได้แย่ครับ

    เพราะความรู้ด้านสถาปัตย์นะ
    มันอยู่ในโซน B ที่เอามาใช้เสริมกันได้
    แล้วเขาอยู่ในโซนผู้เชี่ยวชาญของโซนนี้อีกทีแล้ว

    *แต่* ปัญหานั้นมีอยู่ว่า

    ความรู้ด้าน 3DCG ที่จำเป็นต่องานเกม
    มันมีความเฉพาะเรื่องต่างกันกับที่ใช้ในงานสถาปัตย์
    ทำให้ความรู้โซน C ของเขายังอยู่ในโซนพื้นฐานอยู่เลย

    แล้วเขาก็ไม่ได้เรียนมันจากคณะเพราะคณะไม่ได้สอน
    แล้วต้องไปงมเอาเอง

    ซึ่งจริงๆแล้วนะ
    **ถ้าได้รับการชี้แนะต่อ**
    คนที่โซนสถาปัตย์สูง แต่โซน 3DCG สำหรับเกมต่ำ
    จะเรียนรู้งานได้เร็วกว่า
    คนที่โซนสถาปัตย์ต่ำ แต่โซน 3DCG สำหรับเกมสูง

    *แต่*

    นั่นเป็นสิ่งที่สถาบันการศึกษาเรียกร้องจากคนที่จะมาศึกษา
    ไม่ใช่กิจการธุรกิจต่างๆที่เรียกร้องความสามารถในปัจจุบันของบุคลากร

    ซึ่งสิ่งที่กิจการเรียกร้องจากการทำงานนะ
    "การใช้งานได้เลย"
    มันมีค่ากว่า
    "ความเป็นไปได้ในการเติบโตของเขาในอนาคต"

    เกิดวันหนึ่งมีคนมาสมัครงานแล้วบอก
    "ผมยังทำอันนี้ไม่เป็นครับแต่เรียนรู้ได้"

    มันก็มีโอกาสสูงมากที่ผู้รับสมัครจะตอบ
    "งั้นไปเรียนให้ทำได้มาก่อนค่อยสมัครอีกทีละกัน"

    ผลที่จะได้ก็คือ

    ถ้ากิจการสามารถรับได้แค่คนเดียว
    มันมีโอกาสสูงมากที่เขาจะแพ้
    คนที่โซนสถาปัตย์ต่ำ แต่โซน 3DCG สำหรับเกมสูง แทน

    **เพราะคนอื่นมีความสามารถที่ตรงกับความต้องการนั้นมากกว่า**

    และสาเหตุต้นตอที่อาจทำให้เขาแพ้นั้น
    ก็เป็นเพราะเขาไม่ได้รับการชี้แนะให้เริ่มในโซนที่มันเหมาะสม

    คือโยนไปว่า ให้ไปเรียนเรื่องพื้นฐาน
    แต่ไม่ได้บอกเขาว่า
    "เรื่องพื้นฐาน" ที่มันตรงกับความต้องการเขาคืออะไรครับ

你可能也想看看

搜尋相關網站