[爆卦]ฉันเป็นคนแบบนี้是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇ฉันเป็นคนแบบนี้鄉民發文沒有被收入到精華區:在ฉันเป็นคนแบบนี้這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 ฉันเป็นคนแบบนี้產品中有1篇Facebook貼文,粉絲數超過105萬的網紅Roundfinger,也在其Facebook貼文中提到, “เวลาจะคุยกับใคร อย่าถืออะไรหนักๆ ไป” พี่แตน-นาฑีรัตน์ บุญรัตน์ เปิดหัวข้อสนทนาเรื่อง Outward Mindset ไว้ด้วยคำเปรียบเปรยเรียบง่ายแต่โดน ด้วยตำแหน่งป...

  • ฉันเป็นคนแบบนี้ 在 Roundfinger Facebook 的最讚貼文

    2021-04-02 07:36:30
    有 1,162 人按讚

    “เวลาจะคุยกับใคร อย่าถืออะไรหนักๆ ไป”

    พี่แตน-นาฑีรัตน์ บุญรัตน์ เปิดหัวข้อสนทนาเรื่อง Outward Mindset ไว้ด้วยคำเปรียบเปรยเรียบง่ายแต่โดน ด้วยตำแหน่งประธานบริการสายงานทรัพยากรบุคคลของ Food Passion ทำให้ผมสนใจว่าพี่แตนนำ Outward Mindset มาใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพของการทำงานในองค์กรอย่างไรบ้าง

    “สิ่งหนักๆ ที่เราถือไปก็คือ ‘กล่อง’ ความคิดความเชื่อเดิมของเรา พอแบกติดตัวไปด้วยเราจะฟังคนอื่นน้อยลง แบกกล่องไปไหนมาไหนด้วยทำให้เราขยับตัวลำบาก จะทำอะไรก็ติดกล่องเดิมๆ คิดอะไรใหม่ๆ ไม่ออก mindset ที่ดีเหมือนรากต้นไม้ที่สมบูรณ์ ต้นไม้สวยงามแข็งแรงก็เพราะมันมีรากที่ดี แต่ถ้ารากเหี่ยวเฉาอาการที่แสดงออกมาก็จะไม่ค่อยดี คนจะเห็นว่ามันเป็นต้นไม้ที่ไม่โอเค คนเราก็เหมือนกัน การเตรียม mindset ที่ดีก็เหมือนเตรียมรากที่ดี แล้วสิ่งที่คนอื่นได้เห็นเราก็จะสวยงาม”

    ถ้าเรามีกรอบความคิดที่ไม่ดี เวลาไปเจอใครเราก็จะรู้สึกไม่ดีกับเขาไปด้วย เมื่อยังมองไม่เห็น ‘กล่อง’ ของตัวเอง เราจะโทษอย่างอื่นและคนอื่น เช่น ถ้าออกไปทำงานแล้วต้องเจอรถติด หากติดอยู่กับกรอบคิดเดิมของตัวเองเราจะหงุดหงิดกับรถติด และไม่คิดถึงทางออกอื่น เช่น ออกจากบ้านเช้าขึ้นเพื่อหนีรถติด เวลาทำงานร่วมกับคนอื่นก็เช่นกัน ถ้ายึดติดในกล่องของตัวเองเราจะไม่ยอมมองมุมอื่น ทำให้ยากที่จะได้ผลลัพธ์ที่ดีจากการร่วมงานกัน เพราะเรามองปัญหาด้วยมุมมองของตัวเองเท่านั้น พี่แตนบอกว่า การแบกกล่องไปทำงานแบบนี้ยากที่จะวิน แต่ถ้าวางกล่องลงก็มีสิทธิ์วินไปด้วยกันได้

    🔸️🔸️🔸️

    บางที ‘กล่อง’ ที่ว่านี้ไม่มีถูกผิด เพียงแค่เราถือกล่องมาคนละใบ มีมุมมองคนละแบบที่สะสมมาตลอดชีวิต แล้วเวลาต้องมาทำงานด้วยกันก็เลยเกิดการกระทบกระทั่งกันจาก ‘กล่อง’ ที่แตกต่าง ทำให้ความสัมพันธ์ในที่ทำงานไม่ดี แถมประสิทธิภาพยังไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็นอีกด้วย

    นั่นเป็นเหตุผลให้ทีมบริหารของ Food Passion สนใจไปเรียน Outward Mindset กับ SEAC

    หลังจากที่ทีมบริหารไปเรียนเรื่องนี้มาด้วยกันทั้งหมด ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก็คือ เมื่อคุยงานกันจะมี ‘ภาษา’ ที่รู้กัน และทดไว้ในใจว่าจะไม่มองเรื่องต่างๆ ออกจาก ‘กล่อง’ ของตัวเอง เมื่อมีความคิดที่แตกต่างก็จะลอง ‘สวมแว่นของคนอื่น’ เพื่อทำความเข้าใจว่าความต้องการของเขาคืออะไร มีเหตุผลอะไรอยู่เบื้องหลัง เพราะแต่จะฝ่ายแต่ละแผนกก็มีโจทย์ต่างกัน มีเงื่อนไขต่างกัน เมื่อเข้าใจในมุมเขาแล้วก็ช่วยเขาแก้ปัญหาด้วย ไม่ใช่คิดถึงแต่ปัญหาตัวเอง เมื่อทำเช่นนี้ได้ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้นมาก จากที่เคยต้องคุยงานถกกันยืดยาวกว่าจะเจอทางออกต้องใช้เวลา 15 วัน กลายเป็นเหลือแค่ 2 วันก็ตกลงกันได้ เกิดไอเดียใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์ร่วมกัน

    ขั้นตอนง่ายๆ สามขั้นตอนที่เรามักจะลืมไปก็คือ
    1. วางกล่องตัวเองลง
    2. คิดในมุมเขาบ้าง
    3. ถ้าเราจะช่วยเขาจะช่วยอะไรได้บ้าง

    🔸️🔸️🔸️

    Outward Mindset ช่วยลดความขัดแย้งได้ยังไง

    แก่นสำคัญคือไม่ชี้นิ้วไปที่คนอื่น มิใช่เริ่มจากการบอกว่าคนอื่นไม่มี Outward Mindset หรือไม่คิดถึงจิตใจของฉันบ้างเลย แต่มันคือการทำงานกับตัวเอง ฝึกมองตัวเองมากขึ้น แก้ที่ตัวเอง แล้วความขัดแย้งจะลดลง

    ในช่วงปีที่แล้ว วิกฤตโควิดแล้วกระทบกับร้านอาหารอย่างมาก Food Passion ต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อทำสกรัม (พัฒนาไอเดียอย่างรวดเร็วจากการระดมสมองในองค์กร) และหาวิธีแก้ปัญหารวมถึงธุรกิจใหม่ๆ ขององค์กร ด้วยความที่ทีมบริหารมีความรู้เรื่อง Outward Mindset ทำให้การปรับตัวง่ายขึ้นมาก ทั้งที่เป็นการปรับตัวระดับโครงสร้างองค์กรซึ่งไม่ง่าย เพราะโครงสร้างองค์กรที่เหมาะต่อการทำสกรัมต้องไม่มีลำดับชั้น ผู้บริหารระดับสูงต้องปรับตัวมาเป็นหัวหน้าทีมสกรัมโดยไม่อยู่บนยอดพีรามิดแบบเดิม ซึ่งถ้าไม่มี Outward Mindset ย่อมไม่สามารถทำสิ่งนี้ได้โดยง่าย แต่ที่นี่ทำสำเร็จในเวลารวดเร็ว นำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยม คือคิดธุรกิจใหม่ๆ ได้มากมาย รวมถึงหาวิธีแก้ปัญหาได้หลายแบบ

    🔸️🔸️🔸️

    Outward Mindset จึงเป็นเคล็ดวิชาที่เหมาะกับโลกที่เปลี่ยนแปลงเร็ว ต้องการการปรับตัวจากทุกฝ่าย ทุกแผนก ทุกระดับ เพื่อให้ทุกคนมีความยืดหยุ่นรองรับความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สำคัญทั้งต่อองค์กร ผู้บริหาร พนักงาน รวมถึงฟรีแลนซ์ ดูเหมือนว่า mindset ที่แข็งตัว ไม่ยอมปรับเปลี่ยนจะกลายเป็น mindset ที่ตกยุคไปเสียแล้ว

    เราได้ยินคนพูดถึงคำว่า Agile หรือ Resilience กันบ่อยๆ ผมคิดว่าทั้งสองคุณสมบัตินี้ต้องการ Outward Mindset เพื่อความไหลลื่นและยืดหยุ่นในชีวิตการทำงานยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกับที่พี่แตนบอกว่า “เวลาทำงานกับคนอื่นอย่าถืออะไรหนักๆ ไป” หากเราถือ ‘กล่อง’ ของตัวเองไว้ตลอดเวลาว่า ฉันคิดแบบนี้ ฉันเป็นคนแบบนี้ ฉันชอบแบบนี้ ฉันอยู่แผนกนี้ ฉันเรียนมาแบบนี้ เราจะไม่สามารถปรับตัวไปตามโลกที่เปลี่ยนแปลงได้เลย

    ผลลัพธ์ของการปรับตัวฝ่าวิกฤตโควิดในปีที่ผ่านมาทำให้ Food Passion ยังคงทำกำไรได้และเป็นบริษัทที่ให้โบนัสพนักงาน ซึ่งพี่แตนบอกว่า ที่เป็นแบบนี้ได้ก็เพราะองค์กรมีพื้นฐานที่ดี นั่นคือทีมบริหารมี Outward Mindset

    สนใจเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Outward Mindset ว่าไปช่วยองค์กรของคุณ หรือเพิ่มศักยภาพการทำงานของคุณอย่างไร คลิก https://forms.gle/EqCum858CpZhK7t46

    #เนื้อหาได้รับการสนับสนุนจากSEAC

你可能也想看看

搜尋相關網站