[爆卦]ค่าหัวคิว หมายถึง是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇ค่าหัวคิว หมายถึง鄉民發文沒有被收入到精華區:在ค่าหัวคิว หมายถึง這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 ค่าหัวคิว產品中有1篇Facebook貼文,粉絲數超過18萬的網紅SIN,也在其Facebook貼文中提到, BUSINESS: เพลงต้องถูกสตรีมกี่ครั้ง เจ้าของเพลงของถึงจะได้ตังค์ 10 บาท . ถ้าใครยังจำได้ เมื่อสัก 10-20 ปีก่อน “อุตสาหกรรมดนตรี” ประสบภาวะตกต่ำสุด ๆ ...

「ค่าหัวคิว」的推薦目錄
  • ค่าหัวคิว 在 SIN Facebook 的最佳解答

    2019-11-26 13:35:29
    有 203 人按讚


    BUSINESS: เพลงต้องถูกสตรีมกี่ครั้ง เจ้าของเพลงของถึงจะได้ตังค์ 10 บาท
    .
    ถ้าใครยังจำได้ เมื่อสัก 10-20 ปีก่อน “อุตสาหกรรมดนตรี” ประสบภาวะตกต่ำสุด ๆ รายได้ลดเอา ๆ เพราะคน “เลิกซื้อซีดี” กันแล้ว และก็มีการถกเถียงกันมากมายถึง “ทางออก” ของวิกฤติครั้งนี้ บ้างก็พยายามจะบอกว่าภาครัฐต้องจัดการการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ให้เด็ดขาด คนจะใด้กลับมา “ซื้อเพลง” ฟังอีก บ้างก็ว่าต้องไปเน้นหารายได้จากการแสดงสดให้มากกว่าเดิม บ้างก็ว่าต้องหาทางออกใหม่ที่ฉีกไปเลย เช่น การหันเข้าหารายได้ในหนทางที่เกิดใหม่ ๆ ในยุคดิจิทัล เช่น จากการสตรีมเพลง
    .
    ...ทุกวันนี้ คงไม่ต้องถกเถียงกันมากมายแล้ว เพราะตัวเลขชี้ชัด ๆ ว่ารายได้ที่เกิดใหม่ของอุตสาหกรรมดนตรี มันมีที่มาจากการสตรีมเพลงล้วน ๆ และเอาจริง ๆ รายได้ที่ “เจ้าของเพลง” ทำได้จากการ “สตรีม” ในภาพใหญ่นั้นก็สูงกว่ารายได้จากการ “ขาย” งานดนตรีทั้งแบบจับต้องได้และแบบดิจิทัลมาพักใหญ่แล้ว
    .
    เราคงจะไม่ลงไปพูดถึงเรื่องภาพใหญ่ของอุตสาหกรรมดนตรีไปมากกว่านี้ แต่เราอยากจะเน้นสภาวะของอุตสาหกรรมดนตรีจากมุมของ “คนทำเพลง”
    .
    ซึ่งก็คือคำถามง่าย ๆ ว่า ถ้าคุณทำเพลง เอาเพลงไปลงบริการสตรีม จะได้เงินเท่าไร? ซึ่งนี่ก็เป็นคำถามที่สำคัญแน่ ๆ ในยุคที่ “ยอดสตรีม” สำคัญกว่า “ยอดขาย” ไปซะแล้ว
    .
    โชคดีที่ทาง Visual Capitalist ได้รวบรวมข้อมูลมา ซึ่งข้อมูลนี้เป็นของค่ายเพลงเล็ก ๆ ค่ายหนึ่งที่เอาเพลงจากสังกัดไปลองบริการสตรีมต่าง ๆ และได้ทำการแบ่งปันรายได้ให้เราดู ซึ่งแม้ว่าอาจเป็นตัวแทนที่เที่ยงตรงได้ แต่ก็น่าจะให้ภาพใหญ่ ๆ ว่าแต่ละแพลตฟอร์มสร้างรายได้ต่อการสตรีมให้แต่ละเข้าของเพลงมากน้อยอย่างไร
    .
    เพราะอย่างที่หลายคนทราบ บริการสตรีมต่าง ๆ มีเรตในการจ่ายเงินคืนให้ “เจ้าของเพลง” ต่อการสตรีมต่างกัน เพราะหลักทั่วไปคือ “ผลกำไร” ของแพลตฟอร์มทั้งหมด (คือต้องหักลบต้นทุนออกแล้ว นะครับไม่ใช่เอา “รายได้” ดิบ ๆ มาคิด) จะถูกเอามาหารยอดสตรีมทั้งหมดที่เกิดขึ้นบนแพลตฟอร์ม ผลที่ได้คือรายได้ต่อ 1 การสตรีม และคนที่เอาเพลงมาลงมีการสตรีมกี่ครั้งก็นับไป ก็จะได้เงินเท่านั้น
    .
    ตัวอย่างเช่น แฟลตฟอร์ม A มีกำไรทั้งเดือน 100,000 บาท และมียอดการสตรีม 10,000,000 ครั้ง ก็จะคำนวนได้ว่า การสตรีม 1 ครั้ง สร้างผลกำไร 0.01 บาท ถ้าวง B มียอดสตรีมบนแพลตฟอร์มทั้งหมด 10,000 ครั้ง วง B ก็จะได้เงิน 100 บาท เป็นต้น
    .
    ทีนี้โครงสร้างต้นทุนที่ต่างกัน ก็มีส่วนทำให้แต่ละบริการสตรีมไม่ได้ “ทำกำไร” เท่า ๆ กัน นอกจากนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ แพลตฟอร์มยิ่งมีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งจะมีอำนาจต่อรองสูง และอาจยื่นข้อเสนอเชิงรายได้ที่แย่กว่าแพลตฟอร์มที่เล็กกว่าก็เป็นได้ (ซึ่งก็เหมือนธุรกิจทั่วไป ยิ่งมีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งไม่ง้อเรา) และทั้งหมดก็ส่งผลให้บางแพลตฟอร์มมีการสตรีมเยอะมาก ๆ กว่าเจ้าของเพลงจะได้เงินกลับมามานิดหน่อย
    .
    YouTube เป็นบริการที่ชัดว่า “อัตราจ่าย” ต่ำมาก ๆ คือ คนต้องเปิดดูเกือบ 500 ครั้งที่จะสร้างรายได้มา 10 บาท ซึ่งก็อย่างที่รู้กัน เนื่องจากมันเป็นแพลตฟอร์มที่คนเอาคอนเทนต์สารพัดไปลง (ไม่ใช่แค่เพลง) และลงโดยอิสระ ถ้าต้องมาจ่ายหมด ก็คงปวดหัว YouTube ก็เลยมีนโยบายว่าสามารถสะสมรายได้ได้ แต่รายได้ต้องถึง “เกณฑ์ขั้นต่ำ” ทาง YouTube ถึงจะเริ่มโอนเงินให้
    .
    แน่นอน YouTube ไม่ใช่แพลตฟอร์มที่ถือว่า “จ่ายดี” เลยสำหรับงานดนตรี และก็นักดนตรีที่ “ทำเพลง” (คือไม่ใช่ “ทำวีดีโอ”) จริง ๆ ก็ไม่นิยมจะสตรีมเพลงลง YouTube เอาเงิน แต่จะเอาเพลงไปลงสร้างรายได้ในแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งเพลงแบบเน้น ๆ แทน ซึ่งตัวเลือกก็มีเป็นสิบ
    .
    แฟลตฟอร์มที่เรารู้จักกันดีอย่าง Spotify นั้นเอาจริง ๆ ถือเป็นแพลตฟอร์มเด่น ๆ ที่มีอัตราจ่ายต่ำกว่าชาวบ้าน ซึ่งก็ไม่แปลกนัก เพราะมันเป็นแพลตฟอร์มสตรีมเพลงที่ฮิตที่สุด ณ วินาทีนี้ ซึ่งในแง่นี้ ถ้าเรา “อยากสนับสนุน” นักดนตรีด้านรายได้ เราไปฟังเพลงบน Apple Music หรือ Google Play Music มันยังจะสร้างรายได้ให้กับนักดนตรีที่เราชื่นชอบมากกว่าเลย
    .
    หรือถ้าอยากให้หนึ่งการสตรีมของเรา “สร้างรายได้” มากที่สุด ก็ไปฟังบน Napster เลยครับ เพราะหลังจากบริษัทแชร์ไฟล์ในตำนานนี้ล้มละลาย และถูกขายทอดตลอดไป ล่าสุดมันก็กลับมาใหม่อย่าง “ถูกกฎหมาย” เป็นบริการสตรีมเพลงอย่างเต็มตัว และให้ส่วนแบ่งรายได้กับคนที่เอาเพลงมาลงแพลตฟอร์มสูงสุดแล้ว
    .
    นี่คือสิ่งที่เรานักฟังเพลงช่วยนักดนตรีได้ โดยการเลือกฟังเพลงในช่องทางที่นักดนตรีสร้างรายได้สูงสุด ส่วนนักดนตรี ประเด็นไม่ใช่อยู่ที่จะเลือกเอาเพลงไปลงแพลตฟอร์มไหน เพราะนี่คือแฟลตฟอร์มสตรีมเพลงครับ ไม่ใช่ค่ายเพลงที่เราต้องอยู่ค่ายเดียว สำหรับแพลตฟอร์ม เราเอาเพลงไปลงมันให้หมดทุกแพลตฟอร์มนั่นแหละคือดีที่สุด
    .
    ทั้งนี้ทั้งนั้น ตัวเลขที่บอกมาทั้งหมด คือตัวเพลงที่ทางแพลตฟอร์มจ่ายให้ “เจ้าของเพลง” นะครับ ซึ่งส่วนใหญ่ “เจ้าของเพลง” ไม่ใช่นักดนตรี แต่เป็นค่ายเพลงต้นสังกัด ดังนั้นรายได้ที่ได้ไป ทางค่ายเพลงก็จะตัดแบ่งไปบางส่วน (จริง ๆ น่าจะหลายส่วน) ก่อนเงินจะตกไปถึงนักดนตรีอีกที
    .
    นี่ทำให้ช่วงแรก ๆ ของการสตรีม นักดนตรีจำนวนมากก็เลยชอบโวยว่ายอดสตรีมเพลงตัวเองเป็นล้าน แต่เงินไม่ได้สักแดง ในความเป็นจริง พวกแพลตฟอร์มนี่เขาจ่ายเงินให้ค่ายเพลงไปหมดแล้ว ไม่จ่ายแพลตฟอร์มก็ย่อมโดนค่ายเพลงฟ้อง แต่พอค่ายเพลงได้เงินไป “หักค่าหัวคิว” ไป ๆ มา ๆ หลาย ๆ ครั้งมันไปไม่ถึงนักดนตรี พอรู้ดังนั้น นักดนตรีจำนวนไม่น้อยก็เลยไปโวยค่ายเพลง ซึ่งค่ายเพลงก็อ้างว่าเอาไปใช้เป็นค่าบริหารจัดการอะไรหมด
    .
    เนื่องจากต้องผ่าน “ตัวกลาง” เยอะ โดน “หักหัวคิว” ไปหลายชั้นจนหมด นักดนตรีจำนวนมากที่ถือลิขสิทธิ์เพลงตัวเองก็จะไม่ทำอะไรผ่านค่ายเพลงเลย จัดการเองโดยตรงหมด รวมถึงการเอาเพลงขึ้นแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งเอง เพราะนั่นคือการเอาบทเพลงที่เรามีในมือไปสร้างรายได้ให้มากที่สุด โดยไม่ต้องโดน “ค่าหัวคิว”
    .
    อ้างอิง: http://bit.ly/2XGjBZH
    .
    #Music #Streaming #Business #BrandThink
    อัปเดตและติดตามข่าวสารได้ที่
    Line: @brandthink (มี @ ด้วยนะครับ)
    Instagram: instagram.com/brandthink.me
    Website: www.brandthink.me
    Twitter: twitter.com/BrandThinkme

你可能也想看看

搜尋相關網站