* dungtrinคำลงท้าย ครับ ค่ะ ฮะ ขา
เป็นส่วนเกิน
ไม่ใช่สัญชาตญาณเดิม
เติมเข้ามาเพื่อขัดเกลาจิต
ให้นุ่มนวล อ่อนโยนลง
สัญชาตญาณดั้งเดิมของคนเรา
ต้องการสื...
* dungtrinคำลงท้าย ครับ ค่ะ ฮะ ขา
เป็นส่วนเกิน
ไม่ใช่สัญชาตญาณเดิม
เติมเข้ามาเพื่อขัดเกลาจิต
ให้นุ่มนวล อ่อนโยนลง
สัญชาตญาณดั้งเดิมของคนเรา
ต้องการสื่อสารตรงๆ
เด็กทุกคนเริ่มความเข้าใจใช้คำ
จากสิ่งที่ตัวเองต้องการ
เช่น หิวนม ก็บอกพ่อแม่ห้วนๆว่าหิวนม
เป็นอันเข้าใจว่าเดี๋ยวจะได้กินนม
ซึ่งถ้าเพิ่งพูดได้ จิตยังดิบๆ
พ่อแม่ก็ไม่ว่าอะไร ดีใจที่ลูกพูดได้
แต่พอโตขึ้นหน่อย พอรู้ความแล้ว
ถ้ายังได้ยินแต่คำว่า ‘หิวนม’ เฉยๆ
พ่อแม่จะรู้สึกเองว่า จิตลูกยังดิบเท่าเดิม
ไม่พัฒนา ไม่สุกงอมขึ้นบ้างเลย
เป็นแต่ออกคำสั่งอย่างเดียว ห้วนๆ ด้านๆ
ไม่รู้จักเด็กไม่รู้จักผู้ใหญ่
จึงยากสั่งสอนให้ลูกพูดว่า หิวนมครับ
หรือขอนมหน่อยค่ะ
เด็กที่ไม่ถูกสอนให้ใช้คำลงท้ายดีๆกับผู้ใหญ่
จะโตขึ้นเป็นเด็กไม่มีสัมมาคารวะ
ยิ่งแข็งกระด้างมาก ยิ่งดัดยากเป็นเงาตามตัว
พ่อแม่บางคนที่เลี้ยงปล่อยๆ ขี้เกียจง้างปากลูก
ประเภทนี้มักต้องสะดุ้งด้วยความแปลกใจ
เมื่อลูกโตขึ้นกลายเป็นคนป่าเถื่อน
กระโชกโฮกฮากกับพ่อแม่ ใช้คำเลวๆกับพ่อแม่
แบบที่พ่อแม่ได้ยินแล้วเกิดปฏิกิริยาหยาบๆกลับ
ทำไมลูกกูพูดจาหมาไม่แดกขนาดนี้วะ
หยาบคายสวนกันไป หยาบคายสวนกันมา
อารมณ์ลูกเลยหยาบ ขวานผ่าซาก
ไม่ต่างจากเด็กเพิ่งพูดได้
ยุคเรามักอ้างว่า คำหยาบสื่อจิตได้ ‘ตรงๆดี’
ประมาณว่า จริงใจไม่เสแสร้ง
ดีกว่าปากหวานก้นเปรี้ยว
ข้อเท็จจริง คือ ภาษามึงมาพาโวยที่ใช้กับเพื่อน
บ่งบอกว่าจิตเชื่อมติดสนิทชิดเชื้อ อันนั้นยกไว้
ไม่ได้แปลว่าจิตต่ำเสมอไป
แต่ภาษามึงมาพาโวย วะโว้ย แม่งเอ๊ย
ที่ใช้กับพ่อแม่หรือคนแปลกหน้านั้น
บ่งบอกว่า จิตผูกติดอยู่กับสัญชาตญาณดิบแน่นเหนียว
ยังไม่ถูกยกขึ้นสูง ยังไม่สุกงอมเป็นกุศล
และเมื่อจิตดิบ ผลิตถ้อยคำอกุศลกับใครต่อใครจนชิน
ความเกรงใจย่อมน้อย ความเห็นแก่ตัวย่อมมาก
พร้อมจะลงมือทำอะไร
แบบไม่เห็นหัวใคร ไม่สนหัวหงอกหัวดำได้เสมอ
บางทีตายแล้วเกิดใหม่จะได้เป็นคนป่าหรือคนเมือง
ก็ตัดสินจากวจีกรรม
คำลงท้ายที่มีกับผู้หลักผู้ใหญ่จนชินนี่เอง
เพื่อจะเลี้ยงลูกแบบพุทธ
ต้องขยันกล่อมเกลาจิตลูกให้อ่อนโยน
ด้วยการเป็นแบบอย่างความอ่อนโยน
กะเกณฑ์ให้ลูกพูดคำสุภาพ
ด้วยน้ำเสียงนุ่มนวลสม่ำเสมอ
แล้วเขาจะโตขึ้นในกรอบของการคิดดี
อยากพูดดีได้ด้วยใจจริง (/ต่อ)
#เช้านี้ที่facebook #ดังตฤณ #dungtrin #เลี้ยงลูก * dungtrinแต่หากเลี้ยงลูกแบบไม่คิดอะไรมาก
แค่นึกอยากฟังลูกพูดเพราะๆกับตัวเอง
โดยไม่สนใจว่าตัวเองพูดจาไม่น่าฟังกับลูกอย่างไร
บังคับให้ลูกอ่อนโยนกับตน
ด้วยเสียงสั่งกระด้าง ประมาณว่า
ไอ้เวร! ห้ามพูดหมาๆอย่างนี้กับกู!
มึงหยาบคายแบบนี้กูไม่เลี้ยงนะ ไอ้ห่า!
คำลงท้าย 在 OpenDurian TCAS Facebook 的精選貼文
ท่องได้ปุ๊ป รู้ปั๊ป❗ คำไหนเป็น Adjective
ประหยัดเวลาทำข้อสอบ ⌛
อัพคะแนน⚡ GAT Eng ได้ชัวร์ 💯
ติวกับครูดิว เรียนง่าย เข้าใจเร็ว ทำข้อสอบได้จริง!
คะแนนดี๊ดีทุกคน🔝
มาติวด้วยกันนะคะ ที่ https://www.opendurian.com/totaltcas/
คำลงท้าย 在 saisawankhayanying Facebook 的最讚貼文
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศ เรื่อง พระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย คำอ่าน และสรรพนาม คำขึ้นต้น คำลงท้าย ในการกราบบังคมทูล กราบทูล
ประกาศ ณ วันที่ ๙ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ เป็นปีที่ ๔ ในรัชกาลปัจจุบัน
เผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒
( ดังนั้น จึงขอลบโพสท์ที่เกี่ยวกับพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย และการอ่านออกเสียง ก่อนหน้านี้ที่ยังไม่ได้ข้อยุติทั้งหมด รวมทั้งวิธีการอ่านออกเสียงในการดำเนินรายการ ประกาศข่าว และการบรรยายถ่ายทอดสดก่อนหน้านี้ ซึ่งแตกต่างออกไป ถือว่าไม่สามารถอ้างอิงได้ และนับจากนี้ไปให้ถือประกาศฉบับนี้เป็นแหล่งอ้างอิงหลักนะคะ จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบโดยทั่วกันค่ะ )
ขอพระราชทานถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพระบรมวงศานุวงศ์ ทุกพระองค์ ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒
คำลงท้าย 在 Ae Maneerat Fanpage Facebook 的精選貼文
ระดับจิตใจ วัดได้จากคำพูด
#ทำไปพร้อมกันค่ะ
คำลงท้าย ครับ ค่ะ ฮะ ขา
เป็นส่วนเกิน
ไม่ใช่สัญชาตญาณเดิม
เติมเข้ามาเพื่อขัดเกลาจิต
ให้นุ่มนวล อ่อนโยนลง
สัญชาตญาณดั้งเดิมของคนเรา
ต้องการสื่อสารตรงๆ
เด็กทุกคนเริ่มความเข้าใจใช้คำ
จากสิ่งที่ตัวเองต้องการ
เช่น หิวนม ก็บอกพ่อแม่ห้วนๆว่าหิวนม
เป็นอันเข้าใจว่าเดี๋ยวจะได้กินนม
ซึ่งถ้าเพิ่งพูดได้ จิตยังดิบๆ
พ่อแม่ก็ไม่ว่าอะไร ดีใจที่ลูกพูดได้
แต่พอโตขึ้นหน่อย พอรู้ความแล้ว
ถ้ายังได้ยินแต่คำว่า ‘หิวนม’ เฉยๆ
พ่อแม่จะรู้สึกเองว่า จิตลูกยังดิบเท่าเดิม
ไม่พัฒนา ไม่สุกงอมขึ้นบ้างเลย
เป็นแต่ออกคำสั่งอย่างเดียว ห้วนๆ ด้านๆ
ไม่รู้จักเด็กไม่รู้จักผู้ใหญ่
จึงยากสั่งสอนให้ลูกพูดว่า หิวนมครับ
หรือขอนมหน่อยค่ะ
เด็กที่ไม่ถูกสอนให้ใช้คำลงท้ายดีๆกับผู้ใหญ่
จะโตขึ้นเป็นเด็กไม่มีสัมมาคารวะ
ยิ่งแข็งกระด้างมาก ยิ่งดัดยากเป็นเงาตามตัว
พ่อแม่บางคนที่เลี้ยงปล่อยๆ ขี้เกียจง้างปากลูก
ประเภทนี้มักต้องสะดุ้งด้วยความแปลกใจ
เมื่อลูกโตขึ้นกลายเป็นคนป่าเถื่อน
กระโชกโฮกฮากกับพ่อแม่ ใช้คำเลวๆกับพ่อแม่
แบบที่พ่อแม่ได้ยินแล้วเกิดปฏิกิริยาหยาบๆกลับ
ทำไมลูกกูพูดจาหมาไม่แดกขนาดนี้วะ
หยาบคายสวนกันไป หยาบคายสวนกันมา
อารมณ์ลูกเลยหยาบ ขวานผ่าซาก
ไม่ต่างจากเด็กเพิ่งพูดได้
ยุคเรามักอ้างว่า คำหยาบสื่อจิตได้ ‘ตรงๆดี’
ประมาณว่า จริงใจไม่เสแสร้ง
ดีกว่าปากหวานก้นเปรี้ยว
ข้อเท็จจริง คือ ภาษามึงมาพาโวยที่ใช้กับเพื่อน
บ่งบอกว่าจิตเชื่อมติดสนิทชิดเชื้อ อันนั้นยกไว้
ไม่ได้แปลว่าจิตต่ำเสมอไป
แต่ภาษามึงมาพาโวย วะโว้ย แม่งเอ๊ย
ที่ใช้กับพ่อแม่หรือคนแปลกหน้านั้น
บ่งบอกว่า จิตผูกติดอยู่กับสัญชาตญาณดิบแน่นเหนียว
ยังไม่ถูกยกขึ้นสูง ยังไม่สุกงอมเป็นกุศล
และเมื่อจิตดิบ ผลิตถ้อยคำอกุศลกับใครต่อใครจนชิน
ความเกรงใจย่อมน้อย ความเห็นแก่ตัวย่อมมาก
พร้อมจะลงมือทำอะไร
แบบไม่เห็นหัวใคร ไม่สนหัวหงอกหัวดำได้เสมอ
บางทีตายแล้วเกิดใหม่จะได้เป็นคนป่าหรือคนเมือง
ก็ตัดสินจากวจีกรรม
คำลงท้ายที่มีกับผู้หลักผู้ใหญ่จนชินนี่เอง
เพื่อจะเลี้ยงลูกแบบพุทธ
ต้องขยันกล่อมเกลาจิตลูกให้อ่อนโยน
ด้วยการเป็นแบบอย่างความอ่อนโยน
กะเกณฑ์ให้ลูกพูดคำสุภาพ
ด้วยน้ำเสียงนุ่มนวลสม่ำเสมอ
แล้วเขาจะโตขึ้นในกรอบของการคิดดี
อยากพูดดีได้ด้วยใจจริง
แต่หากเลี้ยงลูกแบบไม่คิดอะไรมาก
แค่นึกอยากฟังลูกพูดเพราะๆกับตัวเอง
โดยไม่สนใจว่าตัวเองพูดจาไม่น่าฟังกับลูกอย่างไร
บังคับให้ลูกอ่อนโยนกับตน
ด้วยเสียงสั่งกระด้าง ประมาณว่า
ไอ้เวร! ห้ามพูดหมาๆอย่างนี้กับกู!
มึงหยาบคายแบบนี้กูไม่เลี้ยงนะ ไอ้ห่า!
เช่นนี้ จิตลูกจะเหมือนสัตว์ร้ายในกรงขัง
ข้างในแอบเกิดปฏิกิริยาร้ายๆ แอบคิดร้ายๆ
แต่ข้างนอก ปากจำต้องอ้าสวยๆ เปล่งคำดีๆ
กลายเป็นต้นเหตุ เป็นที่มาให้ปากกับใจไม่ตรงกัน
ปากหวานกับใครต่อใคร
แต่ใจคิดคด พร้อมทรยศผู้มีพระคุณได้
คำที่ชิน คือภาษาของจิต คือระดับจิต
แม้แต่คำขึ้นต้น คำลงท้าย ก็แทบชี้ขาดได้เลยว่า
จิตลูกพร้อมจะเป็นจิตเทพหรือจิตปีศาจในกาลหน้า!