[爆卦]ข้าวใหม่ ภาษาอังกฤษ是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇ข้าวใหม่ ภาษาอังกฤษ鄉民發文沒有被收入到精華區:在ข้าวใหม่ ภาษาอังกฤษ這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 ข้าวใหม่產品中有14篇Facebook貼文,粉絲數超過265萬的網紅Phongsathon Srijun,也在其Facebook貼文中提到, ตากข้าวอีกจั๊กสองแดด กะกู้ข้าว เอาข้าวใส่กระสอบ แกขึ้นเล้า สีข้าวใหม่หอมๆเมือกินกรุงเทพนำครับ มื้ออื่นเดินทางกลับกรุงเทพเพื่อสู้งานต่อ ได้เฮ็ด ได้สัมผ...

 同時也有15部Youtube影片,追蹤數超過213萬的網紅ZaadOat Studio,也在其Youtube影片中提到,ต้นฉบับ https://www.youtube.com/watch?v=eX0GuxhDBVA Lead Vocal : ข้าวใหม่ IG : Khawmai_1993 facebook : Khawmai Niramol Guitar : โอ๊ต IG : zaadoat.t ...

  • ข้าวใหม่ 在 Phongsathon Srijun Facebook 的精選貼文

    2020-11-17 12:18:21
    有 29,720 人按讚

    ตากข้าวอีกจั๊กสองแดด กะกู้ข้าว เอาข้าวใส่กระสอบ แกขึ้นเล้า สีข้าวใหม่หอมๆเมือกินกรุงเทพนำครับ มื้ออื่นเดินทางกลับกรุงเทพเพื่อสู้งานต่อ ได้เฮ็ด ได้สัมผัส ได้มาบ้านซำนี้กะมีแฮงใจละครับ #ตากข้าว #ข้าวใหม่ #ข้าวดอ #เตรียมข้าวใหม่ลงกรุงเทพ #รู้สึกมีกำลังใจ #เช็คอินที่ดินแดง #บ้านสร้างแต้ #บ้านเกิด

  • ข้าวใหม่ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文

    2020-10-19 19:49:33
    有 4,057 人按讚

    ข้าว ยาง น้ำมัน ราคาขึ้นลง เกิดจากอะไร? / โดย ลงทุนแมน
    วิกฤติโรคระบาดโควิด 19 เป็นหัวใจสำคัญ
    ที่ทำให้ความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์
    เช่น ข้าว ยาง และน้ำมัน ผันผวนกว่าที่เคยเป็นมา

    เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นจากการที่ความต้องการของยางซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตถุงมือยางเพิ่มสูงขึ้นแบบก้าวกระโดด

    ซึ่งสวนทางกับความต้องการน้ำมัน ที่เป็นพลังงานหลักสำหรับการเดินทาง
    และการขนส่งปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง

    แล้วราคายาง ราคาข้าว ราคาน้ำมัน
    ที่ขึ้นลงอยู่ในแต่ละวัน
    เกิดขึ้นมาจากปัจจัยอะไรบ้าง?
    ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
    ╔═══════════╗
    พบกับ หนังสือ ลงทุนแมน 13.0 ที่อัดแน่นไปด้วยกรณีศึกษาและมุมมองธุรกิจที่น่าสนใจ
    พร้อมให้คุณเป็นเจ้าของแล้ววันนี้ที่
    Lazada: https://www.lazada.co.th/products/130-i1587474257-s4309842746.html
    Shopee: https://shopee.co.th/Longtunman-หนังสือลงทุนแมน-13.0-i.116732911.7453767586
    ╚═══════════╝
    จริงๆ แล้ว ข้าว ยาง และน้ำมัน ถือเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) ที่เป็นวัตถุดิบพื้นฐานของคนทั่วโลก

    โดยสินค้าโภคภัณฑ์จะมีองค์ประกอบที่สินค้าทั่วไปไม่มีก็คือ ความมีมาตรฐานกลางในการซื้อขาย และสินค้าเหล่านี้ก็จะมีการจัดประเภทอย่างชัดเจน

    เช่น ข้าว ก็จะถูกแบ่งกลุ่มเป็น ข้าวขาว ข้าวหอมมะลิ ข้าวใหม่ ข้าวเก่า
    หรือยางก็จะถูกแบ่งกลุ่มเป็น ยางแผ่น หรือยางแท่ง
    โดยที่แต่ละกลุ่มย่อยก็ยังจะมีเกรดที่แตกต่างกันออกไป

    ดังนั้นไม่ว่าสินค้าโภคภัณฑ์ดังกล่าวจะผลิตที่ไหน หรือใครเป็นผู้ผลิต
    ถ้ามีลักษณะตรงตามมาตรฐานการซื้อขายเหมือนกัน ก็จะมีราคาที่เท่า ๆ กัน

    เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นได้จากการที่ประเทศไทยของเรา
    ที่แม้จะเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกข้าว และยางพาราอันดับต้น ๆ ของโลก
    แต่สุดท้ายเราก็ไม่มีความสามารถในการกำหนดราคาขายสินค้าเหล่านี้เลย นั่นเอง

    แล้วคำถามสำคัญก็คือ
    แล้วราคาสินค้าโภคภัณฑ์
    ที่ขึ้น ลงอยู่ทุกวันนี้ มีผลมาจากอะไร?

    คำตอบก็คือ ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์จะมีความผันผวนไปตามความต้องการซื้อ ความต้องการขาย หรืออุปสงค์-อุปทาน (Demand – Supply) ตามหลักเศรษฐศาสตร์พื้นฐาน

    ในสภาวะปกติ..
    ถ้าความต้องการซื้อมากกว่าขาย สินค้าโภคภัณฑ์ก็จะมีราคาสูงขึ้น
    ถ้าความต้องการขายมากกว่าซื้อ สินค้าโภคภัณฑ์ก็จะมีราคาลดลง

    แต่ความเสี่ยงสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เช่น การถูกแทรกแซงจากประเทศมหาอำนาจ ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ นโยบายทางการเงินต่างๆ ภัยธรรมชาติ หรือแม้แต่โรคระบาดที่เราเห็นกันในปีนี้

    ตัวอย่างที่ทำให้เห็นภาพคือ ราคาทองคำ
    เมื่อนักลงทุนเล็งเห็นถึงความผันผวนของสินทรัพย์เสี่ยงประเภทอื่น นักลงทุนส่วนใหญ่ก็จะโยกการลงทุนมาที่ทองคำ และเมื่อเกิดความต้องการซื้อมากกว่าขาย จึงทำให้ราคาทองคำทั่วโลกปรับสูงขึ้น

    ในขณะที่ราคาน้ำมันกลับสวนทางเป็นขาลงเพราะช่วงที่เกิดวิกฤติโควิด 19 การเดินทางหยุดชะงักลงทั่วโลกพร้อมกับมีสงครามราคาน้ำมันระหว่างประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ ทำให้การผลิตน้ำมันล้นเกินความต้องการ

    เมื่อมีคนต้องการขายน้ำมันมากกว่าคนต้องการซื้อ ก็เลยเป็นผลทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวลดลง

    ดังนั้น จะเห็นว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์เหล่านี้เป็นไปตามกลไกตลาดโลกซึ่งเราไม่สามารถควบคุมได้ และต้องติดตามสถานการณ์ตลอดเวลาถ้าเราต้องใช้สินค้าเหล่านั้นในธุรกิจของเรา

    อีกเรื่องที่สำคัญคือ ความก้าวหน้าของการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์

    ในอดีต สินค้าโภคภัณฑ์จำเป็นจะต้องซื้อขายกันโดยตรง
    กินระยะเวลานานในการส่งมอบสินค้า และใช้เงินทุนในการขนส่งสูง

    แต่สำหรับปัจจุบัน เราก็สามารถซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ในรูปแบบออนไลน์
    เช่น การซื้อขายฟิวเจอร์ส หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งเป็นการตกลงกันว่าผู้ซื้อ
    และผู้ขายจะทำการซื้อขาย ณ วันใดวันหนึ่งในอนาคตในราคาที่กำหนดเอาไว้แล้ว

    โดยเครื่องมือประเภทดังกล่าวก็ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ธุรกิจที่มีสินค้าโภคภัณฑ์
    เป็นต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ นำไปประยุกต์ใช้เพื่อประกันความเสี่ยง

    ในขณะเดียวกัน กลุ่มนักลงทุน หรือกองทุนต่าง ๆ ที่ไม่ได้ต้องการสินค้าโภคภัณฑ์จริง
    ก็ยังสามารถเข้ามาเก็งกำไรจากความผันผวนได้เช่นกัน ซึ่งไม่ต่างอะไรไปจากตลาดหุ้น

    แล้วเราเคยสงสัยไหมว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์
    เราใช้ตลาดที่ไหนในการอ้างอิง?

    เรามาดูตัวอย่างสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีปริมาณการใช้งานสูงสุดทั่วโลก นั่นก็คือน้ำมัน

    เนื่องจากน้ำมันเป็นแหล่งพลังงานที่ใช้อยู่ทุกมุมโลก
    ดังนั้น ในการซื้อขายจึงต้องมีการอ้างอิงราคาตลาดกลาง ซึ่งมักเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในบริเวณนั้น

    โดยตลาดซื้อขายน้ำมันจะแบ่งประเภทออกเป็น 2 ชนิดคือ
    1.ตลาดซื้อขายน้ำมันดิบ
    2.ตลาดซื้อขายน้ำมันสำเร็จรูป

    ตลาดซื้อขายน้ำมันดิบที่สำคัญในโลกมีอยู่ 3 แห่ง ดังต่อไปนี้

    1.น้ำมันดิบดูไบ (Dubai) เป็นน้ำมันดิบจากแหล่งน้ำมันใต้ทะเลทรายในเอเชียตะวันออกกลาง

    2.น้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) แหล่งผลิตอยู่ในทะเลเหนือ (North Sea) หรือทะเลที่อยู่ระหว่างเกาะอังกฤษและคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย

    3.น้ำมันดิบดับบลิวทีไอ (WTI : West Texas Intermediate) เป็นน้ำมันดิบอ้างอิงที่สำคัญในทวีปอเมริกา

    ส่วนตลาดการซื้อขายน้ำมันสำเร็จรูปก็มีหลายแห่งโดยแบ่งเป็นแหล่งสำคัญต่างๆตามแต่ละทวีปอย่าง อเมริกา ยุโรป และเอเชีย

    สำหรับประเทศไทยเป็นประเทศที่นำเข้าทั้งน้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูป ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้ามาจากภูมิภาคเอเชียนั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าประเทศไทยของเราอ้างอิงราคาน้ำมันตามทวีปเอเชีย นั่นก็คือที่ตลาดสิงคโปร์

    เพราะประเทศไทย ตั้งอยู่ใกล้ประเทศสิงคโปร์ จึงอ้างอิงราคาน้ำมันสำเร็จรูปจากตลาดที่ประเทศสิงคโปร์ เนื่องจากเป็นประเทศส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย และทำให้ราคาน้ำมันที่สิงคโปร์เป็นราคาซื้อขายน้ำมันระหว่างผู้ค้าน้ำมันในภูมิภาคนี้

    นอกจากนี้ ประเทศไทยก็ยังมีสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานภายใต้กระทรวงพลังงานเป็นหน่วยงานที่คอยกำหนดโครงสร้างราคาน้ำมันสำเร็จรูป เพื่อใช้เป็นกลไกของรัฐในการรักษาระดับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศ จึงทำให้ราคาน้ำมันในประเทศไทยอาจมีความแตกต่างจากราคาน้ำมันในภูมิภาคได้

    จากเรื่องราวทั้งหมดนี้ จึงพอจะสรุปคอนเซ็ปต์การขึ้นลงของสินค้าโภคภัณฑ์ได้ว่า
    จริง ๆ แล้วสินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าที่มีมาตรฐานเดียวกันทั่วทุกมุมโลก มีราคาไม่ต่างกัน
    และการขึ้นลงของราคาเกิดขึ้นจากความต้องการซื้อ และความต้องการขายของผู้คนทั่วโลกเป็นหลัก

    อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งแต่ละประเทศก็จะมีปัจจัยเพิ่มเติมอย่างเช่นในประเทศไทยที่มีหน่วยงานภาครัฐเป็นคนคอยควบคุมเสถียรภาพของราคา จึงทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ไม่ว่าจะเป็น ข้าว ยาง หรือน้ำมันของบ้านเรา อาจแตกต่าง จากประเทศอื่น ๆ นั่นเอง..
    ╔═══════════╗
    พบกับ หนังสือ ลงทุนแมน 13.0 ที่อัดแน่นไปด้วยกรณีศึกษาและมุมมองธุรกิจที่น่าสนใจ
    พร้อมให้คุณเป็นเจ้าของแล้ววันนี้ที่
    Lazada: https://www.lazada.co.th/products/130-i1587474257-s4309842746.html
    Shopee: https://shopee.co.th/Longtunman-หนังสือลงทุนแมน-13.0-i.116732911.7453767586
    ╚═══════════╝
    ติดตามลงทุนแมนได้ที่
    Website - longtunman.com
    Blockdit - blockdit.com/longtunman
    Facebook - ลงทุนแมน
    Twitter - twitter.com/longtunman
    Instagram - instagram.com/longtunman
    Line - page.line.me/longtunman
    YouTube - youtube.com/longtunman
    References
    -http://www.ops3.moc.go.th/infor/Import/recode_Import_rank/report.asp
    -https://gnews.apps.go.th/news?news=32787
    -https://th.carro.co/blog/why-is-thai-retail-oil-price-based-on-singapore-price/
    -http://www.eppo.go.th/index.php/th/about/history
    -http://www.eppo.go.th/index.php/th/petroleum/price/structure-oil-price
    -https://www.principal.th/th/Market-Commentary-21-April-2020

  • ข้าวใหม่ 在 Bounglengame Facebook 的精選貼文

    2020-07-11 17:50:45
    有 3,934 人按讚

    ข้าวใหม่ ปลามัน

你可能也想看看

搜尋相關網站