雖然這篇ข้อบังคับ ภาษาอังกฤษ鄉民發文沒有被收入到精華區:在ข้อบังคับ ภาษาอังกฤษ這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章
在 ข้อบังคับ產品中有43篇Facebook貼文,粉絲數超過1萬的網紅sittikorn saksang,也在其Facebook貼文中提到, “สถานะทางกฎหมายของ “มติคณะรัฐมนตรี” คณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นองค์กรสูงสุดของฝ่ายบริหาร ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นตามจำนวนที่รัฐธรรมนูญกำหนด...
同時也有2部Youtube影片,追蹤數超過19萬的網紅KengKawiz,也在其Youtube影片中提到,...
「ข้อบังคับ」的推薦目錄
- 關於ข้อบังคับ 在 PANASAYA K. Instagram 的精選貼文
- 關於ข้อบังคับ 在 Wanchana Sawasdee Instagram 的最佳貼文
- 關於ข้อบังคับ 在 Dr.Sirilak Pongchoke Instagram 的最佳解答
- 關於ข้อบังคับ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於ข้อบังคับ 在 Eat with Pal Li - พี่แป๋วพากินเที่ยวสิงคโปร์ฮ่องกง Facebook 的最讚貼文
- 關於ข้อบังคับ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
- 關於ข้อบังคับ 在 KengKawiz Youtube 的精選貼文
- 關於ข้อบังคับ 在 Mr.Halogogo Youtube 的最佳解答
ข้อบังคับ 在 PANASAYA K. Instagram 的精選貼文
2020-05-09 05:11:22
งานคัดเลือกผู้นำเชียร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรุ่นที่73 รอบสุดท้าย ⭐️ อยู่ลุยไปด้วยกันอีกนานๆเลยนะครู (ข้อบังคับ55555)💙 #CUCL73 #CUCL73audition #UNLO...
ข้อบังคับ 在 Wanchana Sawasdee Instagram 的最佳貼文
2020-05-13 08:39:34
ถอดบทเรียนทางทหาร แบบฝ่ายเสนาธิการ กรณีการบริหารจัดการของท่านผู้ว่า ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ก่อนอื่นเลยต้องขอแสดงความยินดีกับครอบครัวของน้องทั้ง13คนแล...
ข้อบังคับ 在 Dr.Sirilak Pongchoke Instagram 的最佳解答
2020-05-01 18:52:57
ดูงานตำรวจที่ Australian Federal Police ที่ซิดนีย์ ค่ะ. ได้เข็ม AFP เป็นที่ระลึกด้วย ภาพที่ถ่ายคู่กับชายคนหนึ่ง ถ้าเปรียบเทียบกับไทยก็ประมาณ ผบ. ตร. ...
-
ข้อบังคับ 在 Mr.Halogogo Youtube 的最佳解答
2017-12-04 14:46:47สนับสนุนโดเนทเพื่อเป็นกำลังใจในการทำคลิปให้ผมได้นะครับ
*-- บริจากผ่าน paypal : https://twitch.streamlabs.com/halogogo --*
*-- บริจากผ่าน truemoney : https://www.tmtopup.com/topup/?uid=140895 --*
*--บริจากผ่านบัญชีธนาคาร ไทยพาณิชย์ : 113-227-6939--*
Bitcoin (BTC) : 16VUpav7T2MWq4rFUSUE5eGEDYgNR1Zbxg
Dogecoin (DOG) : DQcEk6yngYsnEmjfZPWiEXHPEYBJHK4mSW
Ethereum (ETH) : 0x12c48A48ba7dFaB6707Dc1c10A8eBe25A4EBBdfb
Litecoin (LTC) : LPb28AVt6qHBGzQscZXHSvUAiydDtcZ8dP
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------เพจ facebook : https://www.facebook.com/Mr.Halogogo/
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
เครดิดเนื้อหา : http://petmaya.com/9-bizarre-school-rules
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
9 กฏแปลกๆ ที่เกิดขึ้นในโรงเรียนทั่วโลก
https://youtu.be/YgmrxHDnZXU
ข้อบังคับ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
“สถานะทางกฎหมายของ “มติคณะรัฐมนตรี”
คณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นองค์กรสูงสุดของฝ่ายบริหาร ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นตามจำนวนที่รัฐธรรมนูญกำหนด ในปัจจุบันภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 158 ได้กำหนดให้คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามหลักความรับผิดชอบร่วมกัน
เมื่อพิจาณาถึงการกระทำของคณะรัฐมนตรี สามารถแยกการกระทำออกได้ เป็น 2 ลักษณะ
ลักษณะที่ 1 เป็นการกระทำโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ ถือว่า กระทำการในฐานะที่เป็น “รัฐบาล” หรือ เรียกว่า “การทำทางการเมือง”
ลักษณะที่ 2 เป็นการกระทำโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติหรือกฎหมายอื่นที่มีค่าบังคับระดับเดียวกับพระราชบัญญัติ ถือว่ากระทำการในฐานะที่เป็น “องค์กรฝ่ายปกครอง” หรือ “เจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายปกครอง” ซึ่งเฉพาะแต่การกระทำที่อาศัยอำนาจตามกฎหมายในระดับกฎหมายบัญญัติ (พระราชบัญญัติหรือกฎหมายอื่นที่มีค่าบังคับระดับเดียวกับพระราชบัญญัติ) เท่านั้นที่ถือว่าเป็น “การกระทำทางปกครอง”
การกระทำของคณะรัฐมนตรีทั้ง 2 ส่วนนี้ยากที่แยกออกจากันได้อย่างเด็ดขาด เพราะมีความเกี่ยวพันกันอยู่เสมอ จึงมีปัญหาสถานะและผลทางกฎหมายของมติคณะรัฐมนตรีว่ามีเพียงใด
ข้อพิจารณาสถานะทางกฎหมายของมติคณะรัฐมนตรี
ในอดีตมีความเข้าใจว่า “มติคณะรัฐมนตรีมิใช่กฎหมาย” เนื่องจากเข้าใจกันว่า “กฎหมาย” หมายถึง กฎที่มีศักดิ์ระดับสูง เช่น กฎหมายในระดับกฎหมายบัญญัติ กฎหมายลำดับรอง หรือ กฎ แต่ในปัจจุบันนักกฎหมายได้ยอมรับแล้วว่า หากมติคณะรัฐมนตรีใดมีลักษณะเป็นการสร้างกฎเกณฑ์และระบบกฎหมายยอมรับบังคับใช้กฎเกณฑ์ตามนั้น มติคณะรัฐมนตรีก็ย่อมเป็น “กฎ” หรือ “กฎหมายลำดับรอง” หรือ บางกรณีคณะรัฐมนตรีใดใช้อำนาจกระทำผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงระงับสิทธิของประชาชน ย่อมเป็น “คำสั่งทางปกครอง”
ดังนั้น ในการพิจารณาสถานะทางกฎหมายของมติคณะรัฐมนตรี จึงต้องพิจารณาเนื้อหาและผลบังคับใช้ของมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งสามารถจำแนกมติคณะรัฐมนตรีออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
1.มติคณะรัฐมนตรีที่มีสถานะเป็นการกระทำทางนโยบาย
มติคณะรัฐมนตรีในลักษณะนี้เป็นการกำหนดแนวทางการบริหารงานแผ่นดินอย่างใดอย่างหยึ่ง นอกเหนือจากที่รัฐบาลได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา เช่น ในความสัมพันธ์กับต่างประเทศหรือในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม หรือในการกำหนดแนวทางปฏิบัติทางสังคมและวัฒนธรรม เช่น การใช้ศัพท์ภาษต่างๆ เป็นต้น จึงไม่ใช่กฎเกณฑ์แห่งกฎหมาย นอกจากนี้มติคณะรัฐมนตรีในบางกรณีก็เป็นเพียงการดำเนินงานภายในของฝ่ายปกครองที่ยังไม่ผลกระสิทธิของบุคคลใด ๆ ไม่มีผลทางกฎหมายโดยตรงสู่บุคคลภายนอกมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวจึงไม่เป็นกฎ และคำสั่งทางปกครอง เป็นเพียงแต่มาตรการภายในของฝ่ายปกครองเท่านั้น
ตัวอย่างตัวอย่างคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด มติคณะรัฐมนตรีที่มีสถานะเป็น “การกระทำทางนโยบาย”
คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ฟ.14/2546
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2533 เรื่อง ห้ามส่งงูมีชีวิตและหนังงูที่ยังไม่แปรรูปออกนอกราชอาณาจักร ไม่มีลักษณะเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ที่มีผลบังคับกับหน่วยงานหรือบุคคลภายในองค์กรบริหาร ไม่มีสภาพเป็นกฎตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ เป็นแต่เพียง “นโยบายของฝ่ายบริหาร” เกี่ยวกับการส่งออกงูมีชีวิตทุกชนิดทั้งหนังงูทุกชนิดที่ยังไม่แปรรูปออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ซึ่งยังไม่มีผลทางกฎหมายโดยตรงไปสู่ภายนอก โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ จะต้องรับไปดำเนินการให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เช่นออกกฎกระทรวงหรือประกาศ หรือมีคำสั่งไม่อนุญาตในเรื่องดังกล่าว มติคณะรัฐมนตรีจึงไม่มีสภาพเป็นกฎ
คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ฟ.5/2546
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2538 และวันที่ 17 กันยายน 2549 เรื่อง การนับอายุบุคคลเพื่อคำนวณวันเกษียณอายุราชการ ที่ให้ถือปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 16 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ เป็นเพียงการอธิบายบทบัญญัติของกฎหมายเพื่อการปฏิบัติตามเท่านั้น มิได้มีสภาพเป็นกฎ
คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ฟ.9/2549 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2548ที่อนุมัติให้บริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) ซึ่งแปรรูปมาจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยระดมทุนเพื่อใช้ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มเติม รวมทั้งเห็นชอบให้มีการจัดสรรกำลังการผลิตให้กับบริษัทดังกล่าว ในปี 2549-2558 เป็นเรื่อง “การกำหนดนโยบาย” เกี่ยวกับการให้บริการสาธารณะในด้านของการผลิตไฟฟ้าจำหน่ายประชาชนของบริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ มิได้มีลักษณะเป็นบทบัญญัติที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ จึงไม่มีลักษณะเป็นกฎ
คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ฟ.51/2549
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2547 ที่เห็นชอบให้แปลงสภาพองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย เป็นบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)โดนการแปลงทุนขององค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นทุนเรือนหุ้นและให้ดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้ง บมจ. อสทม ไม่มีสภาพเป็นกฎ
2. มติคณะรัฐมนตรีที่มีสถานะเป็น “กฎ” หรือ “กฎหมายลำดับรอง”
มติคณะรัฐมนตรีที่กำหนดหลักเกณฑ์ให้ส่วนราชการและข้าราชการถือปฏิบัติเป็นการทั่วไป แม้ไม่มีผลเป็นกฎหมายโดยตรง แต่ส่วนราชการต่าง ๆ สามารถนำมติคณะรัฐมนตรีไปใช้บังคับกับข้อเท็จจริงกรณีต่าง ๆ ให้เกิดผลในทางกฎหมายได้เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายอื่น เช่น การกำหนดวันหยุดราชการ เป็นต้น ในทางตรงกันข้าม หากส่วนราชการหรือข้าราชการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามก็จะต้องได้รับผลกระทบในทางร้าย โดยถือเป็นความผิดทางวินัยโดยตรงฐานขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา ดังนั้น มติคณะรัฐมนตรีในกรณีนี้จึงมีผลบังคับตามความเป็นจริงและย่อมมีฐานะเป็น “กฎ” หรือ “กฎหมายลำดับรอง” เช่น มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2543 ที่เห็นชอบตามมติคณะกรรมการพิจารณาสิทธิพิเศษของหน่วยงานและรัฐวิสาหกิจ ที่ให้สิทธิพิเศษแก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ด้วยการให้หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ พิจารณาหมายเลขโทรศัพท์ใหม่ขององค์การโทรศัพท์เป็นลำดับแรก เป็นต้น
อย่างไรก็ตามมติคณะรัฐมนตรีที่วางกฎเกณฑ์ให้ส่วนราชการหรือข้าราชการปฏิบัตินี้ ไม่ได้อยู่ในรูปแบบของกฎเกณฑ์แห่งกฎหมายของฝ่ายบริหารที่กฎหมายรองรับ จึงต้องถือว่ามติดังกล่าวไม่มีผลบังคับให้ประชาชนหรือบุคคลนอกระบบราชการต้องปฏิบัติตามโดยตรงแต่ถือเป็น “กฎ” หรือ “กฎหมายลำดับรอง” ได้เช่นกัน เช่น
ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีกระทำการในฐานะที่เป็นองค์กรของรัฐฝ่ายปกครอง อาจมีกรณีเรื่องใดเรื่องหนึ่งบัญญัติไว้โดยตรงให้คณะรัฐมนตรีออกกฎหมายลำดับรองได้ ซึ่งในกรณีต้องถือว่ามติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวมีสภาพเป็น “กฎหมายลำดับรอง” หรือเป็น “กฎ” ที่เป็นลูกบท เช่น คณะรัฐมนตรีมีมติให้วางระเบียบ โดยที่มติคณะรัฐมนตรีที่กำหนดระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติราชการ มีข้อแตกต่างจากมติคณะรัฐมนตรีที่เห็นชอบกฎเกณฑ์แห่งกฎหมายของฝ่ายบริหาร โดยมติคณะรัฐมนตรีที่กำหนดระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติราชการมีลักษณะเป็นกฎเกณฑ์ แต่มติคณะรัฐมนตรีที่เห็นชอบกฎเกณฑ์แห่งกฎหมายของฝ่ายบริหารเป็นเพียงการใช้อำนาจให้ความเห็นชอบกฎเกณฑ์รูปแบบนั้น ๆ ในฐานะที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด จึงไม่ใช่กฎเกณฑ์ตามรูปแบบ ตัวอย่างมติคณะรัฐมนตรีที่วางระเบียบถือว่าเป็น “กฎ” หรือ “กฎหมายลำดับรอง” และที่สำคัญคือ กำหนดหลักเกณฑ์ปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 คือ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าที่ พ.ศ.2539 เป็นต้น
เมื่อพิจารณาตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542ให้ความหมายของ กฎ หมายความว่า พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใด หรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ เห็นว่า “กฎ” ตามบทบัญญัตินี้เป็น “กฎหมายลำดับรอง” ที่ออกโดยองค์กรบริหารหรือองค์กรฝ่ายปกครอง ซึ่งนอกจากพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ อันเป็นกฎหมายตามแบบพิธีหรือเป็นกฎตามรูปแบบแล้ว ยังรวมถึงมาตรการหรือหลักเกณฑ์ทั่วไปที่มีผลให้ผู้อยู่ในบังคับต้องปฏิบัติตาม ซึ่งมิใช่มีผลทางกฎหมายโดยตรงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเรียกชื่ออะไร อันเป็นกฎหมายตามเนื้อความหรือเป็น “กฎ” หรือ “กฎหมายลำดับรอง” โดยสภาพ คำว่า “มีผลบังคับ “เป็นการทั่วไป” ไม่ได้หมายความว่าต้องมีผลบังคับแก่ประชาชนทุกคน อาจมีผลบังคับเฉพาะประเภทของบุคคลก็ได้ โดยไม่คำนึงว่าบุคคลที่อยู่ในบังคับนั้นจะมีจำนวนเท่าใดเพียงแต่ไม่ใช่มีผลบังคับเจาะจงตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น”
สำหรับมติคณะรัฐมนตรีเป็นการใช้อำนาจบริหารราชการแผ่นดินในการตัดสินใจร่วมกันของคณะรัฐมนตรี อำนาจนี้อาจมาจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ หรือบทบัญญัติของกฎหมายในระดับกฎหมายบัญญัติต่างๆ รวมทั้งระเบียบ หรือธรรมเนียมปฏิบัติ
ดังนั้นคณะรัฐมนตรีมิได้ปฏิบัติหน้าที่ในงานด้านนโยบายเท่านั้น แต่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นองค์กรสูงสุดของฝ่ายปกครองด้วย มติคณะรัฐมนตรีจึงอาจมีลักษณะเป็นงานนโยบายซึ่งเป็นการกำหนดทิศทางและนโยบายเกี่ยวกับการบริหารงานอย่างใดอย่างหนึ่งที่หน่วยงานที่ควบคุมดูแล หรือรับผิดชอบในเรื่องนั้นจะต้องรับไปดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี หรืออาจมีลักษณะเป็นคำสั่งซึ่งมีผลทางกฎหมายโดยตรงเป็นกรณีเฉพาะราย หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะ หรืออาจมีลักษณะเป็นกฎซึ่งมีผลเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปที่ผู้อยู่ในบังคับต้องปฏิบัติตามมิได้มีผลทางกฎหมายโดยตรงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ในกรณีที่เป็น “กฎ” หรือ “กฎหมายลำดับรอง” นั้น อาจเป็นกฎที่เป็นลูกบท เช่น กฎหมายบางฉบับกำหนดให้คณะรัฐมนตรีออก “กฎ” หรือ “กฎหมายลำดับรอง” หรือ อาจใช้อำนาจออก “กฎ” หรือ “กฎหมายลำดับรอง” ได้อิสระ โดยอาศัย “หลักการทั่วไป” ที่คณะรัฐมนตรีเป็นองค์กรบริหารประเทศตามรัฐธรรมนูญ จำเป็นต้องมีอำนาจดูแลการใช้บังคับกฎหมายและการจัดการองค์กรให้เป็นไปโดยเรียบร้อย ทำนองเดียวกับอำนาจของผู้บังคับบัญชาขององค์กรต่างๆ ซึ่งเป็นอำนาจทั่วไปในการจัดองค์กรและเป็นเรื่องการวางหลักเกณฑ์ที่สามารถนำไปใช้บังคับกับข้อเท็จจริงในกรณีต่างๆ ให้เกิดผลทางกฎหมายได้เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายอื่น มติคณะรัฐมนตรีที่เป็น “กฎ” นี้มุ่งต่อผลในกฎหมายแก่บุคคลในองค์กรฝ่ายบริหารโดยหน่วยงานและบุคคลในองค์กรฝ่ายบริหารต้องปฏิบัติตาม ซึ่งตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดินมีบทบัญญัติหลายมาตราที่บัญญัติรองรับการดำเนินงานของกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการต่างๆ ต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เช่น การไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีถือเป็นความผิดทางวินัยอย่างหนึ่งและคณะรัฐมนตรีเคยมีมติให้หน่วยราชการกำชับเจ้าหน้าที่ให้ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีโดยเคร่งครัด หากฝ่าฝืนให้พิจารณาลงโทษทางวินัยทุกราย นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรียังมีอำนาจกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายจัดตั้งองค์กรเหล่านั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีอำนาจควบคุมกำกับดูแลพนักงานของรัฐในองค์กรดังกล่าวด้วย มติคณะรัฐมนตรีในลักษณะนี้จึงมีสภาพบังคับในทางปกครอง หรือมีผลทางกฎหมายให้หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมตลอดถึงข้าราชการและพนักงานของรัฐในหน่วยงานดังกล่าวต้องปฏิบัติตาม หากฝ่าฝืนย่อมมีความรับผิดตามมา
ดังนั้น มติคณะรัฐมนตรีที่มีลักษณะเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์หรือแนวทางปฏิบัติที่ผู้อยู่ในบังคับต้องปฏิบัติตาม จึงมีสถานะทางกฎหมายเป็นกฎตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 แม้จะมิได้ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา อย่างไรก็ตาม มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวอาจเกิดผลกระทบต่อประชาชนได้ด้วยทั้งที่ประชาชนไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งบางกรณีอาจเป็นผลกระทบที่สำคัญที่ต้องให้ความเยียวยาทางกฎหมาย(คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ ฟ 26/2546)
ตัวอย่างคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด มติคณะรัฐมนตรีที่มีสถานะเป็น “กฎ” หรือ กฎหมายลำดับรอง
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ ฟ.26/2546
มติคณะรัฐมนตรีที่มีลักษณะเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์หรือแนวทางปฏิบัติซึ่งบุคคลในองค์กรฝ่ายบริหารต้องปฏิบัติตามโดยมีสภาพบังคับ มีสถานะเป็น “กฎ” หรือ “กฎหมายลำดับรอง” ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ ดังนั้น มติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ให้สิทธิพิเศษแก่ ทศท. ในการให้บริการเลขหมายโทรศัพท์แก่หน่วยงานของรัฐ อันเป็นการวางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีกรณีพิเศษตามข้อ 26 (2) ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุฯ อันมีสภาพบังคับเป็นการทั่วไปกับหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ต้องปฏิบัติตาม จึงมีสถานะเป็นกฎ การให้สิทธิพิเศษแก่ ทศท. ตามมติของผู้ถูกฟ้องคดีข้างต้น อันมีผลทำให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นคู่สัญญาร่วมการงานและร่วมลงทุนกับ ทศท. ไม่อาจให้บริการแก่หน่วยงานของรัฐได้ ถือว่าเป็นการออกกฎอันเป็นการลดสิทธิหรือจำกัดสิทธิตามสัญญาฯ ของผู้ฟ้องคดี ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักการให้ความคุ้มครองสิทธิแก่ผู้เข้าทำสัญญาจัดทำบริการสาธารณะหรือสัญญาสัมปทานกับรัฐตามนัยมาตรา 335 (2) ของรัฐธรรมนูญฯ และมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อสิทธิตามสัญญาฯ ของผู้ฟ้องคดี ซึ่งขัดกับหลักความเสมอภาคตามที่มาตรา 30 ของรัฐธรรมนูญฯ บัญญัติรับรองไว้ กรณีจึงเป็นการใช้อำนาจทางปกครองของผู้ถูกฟ้องคดีมาจำกัดสิทธิของผู้ฟ้องคดีที่มีอยู่ตามสัญญา
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ ฟ.14/2548
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2544 ซึ่งรับทราบมติของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสมอคณะรัฐมนตรีที่ให้จ่ายเงินเพิ่มพิเศษในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องเป็นพนักงานในตำแหน่งสายงานหลักซึ่งหาบุคลากรทดแทนได้ยาก และปฏิบัติงานด้าน Science and Technology ซึ่งเคยได้รับเงินเพิ่มเติมพิเศษอยู่เดิมก่อนที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ระงับการจ่าย และมีตำแหน่งต่ำกว่าระดับผู้อำนวยการฝ่ายหรือตำแหน่งเทียบเท่าที่เรียกซึ่งเป็นอย่างอื่นลงมา มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็ฯการเฉพาะ จึงมีลักษณะเป็น “กฎ” หรือ “กฎหมายลำดับรอง”
คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 101/2546
มติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพงานก่อสร้างและผู้ประกอบอาชีพงานอื่นกับทางราชการที่มีผลกระทบจากการปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา มีลักษณะเป็น “กฎ” หรือ “กฎหมายลำดับรอง” และมีสภาพบังคับเป็นการทั่วไปให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจต้องถือปฏิบัติตาม
คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 501/2548
มติคณะรัฐมนตรีที่เห็นชอบมาตรการและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพงานก่อสร้างและผู้ประกอบอาชีพงานอื่น และให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นถือปฏิบัติ นั้น มีลักษณะเป็นหลักเกณฑ์ภายในของฝ่ายบริหารที่มีขึ้นเพื่อคุ้มครองและให้ประโยชน์แก่เอกชนที่หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องปฏิบัติตาม จึงมีสถานะเป็น “กฎ” หรือ “กฎหมายลำดับรอง”
3.มติคณะรัฐมนตรีที่มีสถานะเป็นคำสั่งทางปกครอง
มติคณะรัฐมนตรีที่มีผลทางกฎหมายโดยตรงเป็นกรณีเฉพาะราย ได้แก่ การแต่งตั้งคณะกรรมการตามกฎหมายต่างๆ เช่น กรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกร คณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ เช่น คณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย คณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย เป็นต้น นอกจากนี้ อาจมีลักษณะเป็นคำสั่งในทางสาระของเรื่องเฉพาะเรื่อง เช่น การวินิจให้กระทรวง ทบวง กรมใดปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบราชการพลเรือน เป็นต้น หรือมติคณะรัฐมนตรีที่เห็นชอบการแต่งตั้ง โยกย้ายข้าราชการในตำแหน่งระดับสูงต่างๆ ถือว่ามีสถานะเป็น “คำสั่งทางปกครอง”
ตัวอย่างคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด มติคณะรัฐมนตรีที่มีสถานะเป็น “คำสั่งทางปกครอง”
คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 465/2547
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เป็นคณะกรรมการซึ่งแต่งตั้งตามมติคณะรัฐมนตรี โดยให้มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และจำนวนเงินชดเชยพิเศษแทนการจัดสรรที่ดินแปลงอพยพ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสัก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งมีผลกระทบต่อบุคคล จึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ และมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ที่ให้ผู้ใดมีสิทธิและไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินชดเชยพิเศษฯ เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ เป็น “คำสั่งทางปกครอง” ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิของบุคคล จึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.240/2553
ที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันอันเกิดขึ้นและเป็นอยู่ตามสภาพของที่ดินและจากการใช้ร่วมกันของราษฎรมานาน โดยไม่ต้องมีประกาศพระราชกฤษฎีกาสงวนไว้ หรือขึ้นทะเบียน หรือทางราชการประกาศกำหนดให้เป็นที่สาธารณประโยชน์เช่นนั้น ตามมาตรา 1304 (2) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และต่อมาสภาพบริเวณที่ดินพิพาท เมื่อมีราษฎรเข้าไปเก็บหาของป่า ตัดไม้ปลูกบ้าน ทำฟืน เพื่อการดำรงชีวิต หรือประกอบอาชีพ จนทำให้กลายสภาพเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า และมีราษฎรบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดิน โดยทางราชการจะได้กำหนดให้ที่ดินพิพาททั้งหมดเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติป่านาอินและป่านายาง ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 60 (พ.ศ. 2502) ออกตามความใน พ.ร.บ. คุ้มครองและสงวนป่า พุทธศักราช 2481 เป็นผลให้มีการเปลี่ยนแปลงเขตการปกครองจากเดิมซึ่งที่ดินพิพาทตั้งอยู่อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ มาเป็นตำบลดงประคำ อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก และกำหนดให้เป็นพื้นที่ป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2507 และพื้นที่จัดสรรห้วยน้ำเลาหรือห้วยคำเลาตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2509 ก็หามีผลทำให้ที่ดินพิพาทเปลี่ยนแปลงไปจนกลายเป็นที่ดินที่มิใช่ที่สาธารณสมบัติ ของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เพราะมติคณะรัฐมนตรีมีฐานะเป็นเพียงคำสั่งของฝ่ายบริหาร (คำสั่งทางแกครอง) จึงไม่อาจนำมาลบล้างผลทางกฎหมายกับกรณีนี้ได้ ข้ออ้างของผู้ถูกฟ้องคดี (นายอำเภอพรหมพิราม) ที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า ซึ่งอาจออกเอกสารสิทธิให้ราษฎรผู้เข้ายึดถือครอบครองทำประโยชน์ตามมาตรา 1304 (1) แห่งประมวลกฎหมายเดียวกัน จึงฟังไม่ขึ้น
สรุปได้ว่า มติคณะรัฐมนตรีมีหลากหลายสถานะ บางกรณีถือเป็นการกระทำที่เป็น “กฎ” หรือ “กฎหมายลำดับรอง” บางกรณีถือเป็นการกระทำที่เป็น “คำสั่งทางปกครอง” บางกรณีถือเป็น “การกระทำทางนโยบาย” ซึ่งต้องทำการศึกษาพิจารณาศึกษาจำแนกเนื้อหาและผลบังคับใช้ของมติคณะรัฐมนตรีถึงจะทราบถึงสถานะทางกฎหมายของมติคณะรัฐมนตรีได้
ข้อบังคับ 在 Eat with Pal Li - พี่แป๋วพากินเที่ยวสิงคโปร์ฮ่องกง Facebook 的最讚貼文
❗️ #อัพเดท... ขยายเวลามาตรการ Social Distancing ไปอีก 2 สัปดาห์ (ถึง 17 ก.พ.)
เนื้อหาคงเดิม เฉพาะกีฬากลางแจ้งบางประเภทเปิดได้พรุ่งนี้ (4 ก.พ.)
.
#ไฮไลท์ (ที่อนุญาตให้เปิดพรุ่งนี้ - 4 กพ)
คือ กีฬาเล่นกลางแจ้งที่ไม่ค่อยมีการสัมผัสกัน
.
#ประเภทกีฬา
กีฬาประเภทลู่, เทนนิส, เทนนิสน็อคบอร์ด, กอล์ฟ, ไดร์ฟกอล์ฟ, พัตกอล์ฟ, โบว์ลิ่งกรีน, ยิงปืน, ยิงธนู, สนามจักรยาน, โรงเรียนสอนขี่ม้า, ลานเครื่องบินบังคับวิทยุ, ศูนย์กีฬาทางน้ำ เช่น แคนู คายัค เรือใบ เรือยอร์ช วินเซิร์ฟ เรือพาย เรือมังกร สกีน้ำ บอร์ดยืน(SUP) ดำน้ำ เซิร์ฟ, ปีนหน้าผา, เกทบอล, โต๊ะปิงปองกลางแจ้ง, คอร์ทแบดมินตันกลางแจ้ง
.
#ข้อบังคับ
ผู้เล่นกีฬาต้อง...
- สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ยกเว้นขณะออกกำลังกาย อาบน้ำ และทานอาหารเครื่องดื่ม
- ห้ามเกินกลุ่มละ 2 คน
- ต้องมีฉากกั้นระหว่างกลุ่ม
- ก่อนเล่น ต้องสแกน QR code ของแอพ LeaveHomeSafe หรือลงทะเบียนชื่อ เบอร์โทร วันเวลาที่เล่น
พนักงานต้องตรวจโควิดแบบ swap จมูกและคอทุกๆ 14 วัน
.
Source:
https://www.info.gov.hk/gia/general/202102/03/P2021020300042.htm
.
==================
❗️#อัพเดท... ขยายเวลามาตรการ Social Distancing อีก 1 สัปดาห์ ถึง 3 ก.พ. 64
.
เนื้อหายังคงเดิมค่ะ
.
Source:
https://www.info.gov.hk/gia/general/202101/27/P2021012700006.htm
.
===================
❗️#อัพเดท... ขยายเวลามาตรการ Social Distancing อีก 1 สัปดาห์ ถึง 27 ม.ค. 64
.
เนื้อหายังคงเดิมค่ะ
.
Source:
https://www.info.gov.hk/gia/general/202101/20/P2021012000034.htm
.
===================
❗️#อัพเดท... ขยายเวลามาตรการ Social Distancing อีก 2 สัปดาห์ ถึง 20 ม.ค. 64
.
#สรุป
- เนื้อหายังคงเดิม
- โรงเรียนปิดถึงหยุดตรุษจีน (ประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์)(มีรายละเอียดเพิ่มเติมด้านล่าง)
- แนวโน้มไม่น่าจะผ่อนปรนมาตรการก่อนตรุษจีน
.
#สาเหตุที่ยังไม่ผ่อนปรนมาตรการ
- แม้ยอดจะลดลง แต่เป็นการลดลงอย่างช้ามากเมื่อเทียบกับระลอกก่อนๆ
- จากข้อมูลตัวเลข(การใช้บัตรปลาหมึก) พบว่า คนยังออกจากบ้านเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะที่ผ่านมาในช่วง winter solstice คริสต์มาส ปีใหม่ และยังมีการรวมกลุ่มเพื่อสังสรรค์ในที่พัก เพราะฉะนั้น อาจเกิดการเพิ่มขึ้นของยอดผู้ติดเชื้อได้อีก
- สธ ยังขอความร่วมมือจากประชาชน ให้งดออกจากบ้านหากไม่จำเป็น เพราะอาจเกิด cluster ใหม่ต่อไปเรื่อยๆ
.
#รายละเอียด
.
(1) โรงเรียน
- งดคลาสแบบ face-to-face ในชั้นอนุบาล ประถม มัธยม ต่อไปจนถึงวันหยุดตรุษจีน (ราวกลางเดือนกุมภาพันธ์)
- ชั้นประถมและมัธยม อนุญาตให้กลับมารวมกลุ่มขนาดเล็กได้ เพื่อเรียนหรือสอบ
- ชั้นมัธยม อนุญาตให้มีคลาสแบบ face-to-face ได้ช่วงละครึ่งวัน จำนวน 2 ช่วง (เช้าและบ่าย) จำนวนนักเรียนที่กลับเข้ามาในโรงเรียน ไม่เกิน 1 ใน 6 ของจำนวนปกติ
- ชั้นประถม เหมือนมัธยม ยกเว้น face-to-face ได้แค่ครึ่งวันเช้า
.
(2) #ร้านอาหาร
- งดนั่งทานในร้าน ในเวลา 18.00-04.59 น. (แต่ยังขายแบบซื้อกลับหรือส่งตามบ้านได้)
- กฎอื่นยังเหมือนเดิม เช่น
(a) นั่งทานได้ไม่เกินโต๊ะละ 2 คน
(b) ห้ามจุคนเกิน 50% ของความจุปกติ
(c) ห้ามทานอาหารและเครื่องดื่ม และไม่สวมหน้ากากอนามัย ขณะไม่ได้อยู่ที่โต๊ะ
(d) งดการแสดงสดและการเต้นรำ
(e) ร้านอาหาร ต้องติด QR code “LeaveHomeSafe” ขนาด A4 เป็นอย่างต่ำที่ทางเข้า เพื่อให้ลูกค้าสแกนก่อนเข้าร้าน
(f) ผับ-บาร์ยังต้องปิด
.
(3) #จำกัดจำนวนคนในงานเลี้ยง ไม่เกิน 20 คน
.
(4) #ปิด13ธุรกิจ
- ร้านเกม
- Bathhouses
- ฟิตเนส
- สวนสนุก
- โรงหนัง
- ปาร์ตี้รูม
- สถานเสริมความงาม
- ไนท์คลับ
- คาราโอเกะ
- โรงเล่นไพ่นกกระจอก
- ร้านนวด
- ศูนย์กีฬา
- สระว่ายน้ำ
.
(5) #คลับเฮ้าส์ #โรงแรม #เกสต์เฮ้าส์
- หากมีบริการตามข้อ (4) เช่น ฟิตเนส สระว่ายน้ำ ฯลฯ ต้องงดให้บริการ
- ห้องฟังก์ชันรูม ห้ามจุคนเกิน 50% ของความจุปกติ
- ห้ามเข้าพักเกินห้องละ 4 คน
.
(6) #ห้ามรวมกลุ่ม เกิน 2 คนในที่สาธารณะ
.
(7) #สวมหน้ากากอนามัย ในที่สาธารณะ ยกเว้นที่ได้รับยกเว้น เช่น ในอุทยาน ฯลฯ
.
(8) #ขยายเวลา ใช้ข้อบังคับควบคุมโรคระบาด จากเดิม 31 ธ.ค. 63 เป็น 31 มีค 64 โดยมีมาตรการเหล่านี้
- กักตัวคนเข้าเมือง (21 วัน ในโรงแรมที่รัฐกำหนด)
- เปิดเผยข้อมูล
- ข้อบังคับธุรกิจต่างๆ
- การรวมกลุ่มในที่สาธารณะ
- การเดินทางเข้าเมือง
- การสวมหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะ
.
=============
#บทลงโทษ
- ผู้ฝ่าฝืนข้อ (2)-(5) สูงสุดปรับ HK$50,000 และจำคุก 6 เดือน
.
- ผู้ฝ่าฝืนข้อ (6)
(a) หากเป็นผู้จัดการรวมกลุ่มหรือเจ้าของสถานที่ สูงสุดปรับ HK$25,000 จำคุก 6 เดือน
(b) หากอยู่ในกลุ่ม ปรับคนละ HK$5,000 (เริ่ม 11 ธค)
.
- ผู้ฝ่าฝืนข้อ (7) อาจถูกปรับ 2 ต่อ (เริ่ม 11 ธ.ค.)
(a) ปรับคนละ HK$5,000 (ตามกฎทั่วไป)
(b) ปรับสูงสุด HK$10,000 จากสถานที่ที่กำหนดให้สวมหน้ากากอนามัยเมื่อเข้ามาในที่นั้นๆ
.
เครดิตภาพ: time.com
.
Source:
https://www.info.gov.hk/gia/general/202101/04/P2021010400721.htm
https://www.news.gov.hk/eng/2021/01/20210104/20210104_175415_671.html?type=ticker
.
#eatlike852 #covid19hongkong
ข้อบังคับ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
ปัจจัยที่นำไปสู่การกำเนิดกฎหมาย
เมื่อพิจารณาศึกษาถึง “กฎ” และ “กติกา” (Rule) ที่มนุษย์พัฒนามาเป็นกฎหมายได้นั้นจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ประการ ที่เป็นปัจจัยที่นำไปสู่การกำเนิดกฎหมาย คือ มนุษย์ สภาพแวดล้อมและเงื่อนไขทางสังคม ดังนี้
1. มนุษย์ที่รวมตัวกันเป็นสังคม
มนุษย์ (Human) กำเนิดขึ้นในธรรมชาติ มนุษย์ไม่อาจอยู่ได้อย่างโดดเดี่ยวในธรรมชาติ จึงต้องรวมตัวกันเพื่อแบ่งหน้าที่และช่วยเหลือซึ่งกันและกันทั้งทางตรงและทางอ้อมในปัจจัย 4 ที่จำเป็นแห่งการดำรงชีวิต อันได้แก่ อาหารเพื่อดำรงชีวิต เครื่องนุ่งห่มเพื่อปกป้องร่างกาย ที่อยู่อาศัยเพื่อความปลอดภัยและยารักษาโรคเพื่อรักษาสุขภาพ จากความต้องการปัจจัย 4 นี้เองมนุษย์จึงต้องรวมตัวกัน เพื่อต้องการความมั่นคงปลอดภัยในชีวิติและต้องการอยู่ดีกินดีมีชีวิตที่ดีขึ้น แต่เมื่อมนุษย์อยู่รวมกันในสังคมมากขึ้น ความเห็นแก่ตัวของคนแต่ละคนเกิดจากตัณหาภายในและความเสื่อมถอยแห่งคุณธรรมของคน ก็จะทำให้มนุษย์บางกคนกระทำความผิด เช่น การละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของตน การหยิบฉวยสิ่งของอันเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่นโดยไม่มีสิทธิโดยชอบธรรมหรือเจ้าของไม่ยินยอม การพรากลูกผิดเมียเขา การทำร้ายร่างกายและชีวิตของผู้อื่น ฯลฯ ความผิดเหล่านี้เมื่อมีมากขึ้นย่อมจะทำให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์โดยส่วนรวมในสังคมวุ่นวายไม่สงบ มนุษย์ส่วนใหญ่จึงจำเป็นต้องอาศัยข้อกำหนดหรือกฎเกณฑ์ข้อบังคับอันเป็นเงื่อนไขข้อตกลงที่ยอมรับร่วมกัน ดังนั้นมนุษย์เป็นบุคคลที่มีชีวิตตามธรรมชาติที่รวมตัวกันอยู่ในสังคมแบบชุมชนและรวมตัวแบบสมาคม ดังนี้
1.1 สังคมมนุษย์ที่รวมตัวแบบชุมชน
สังคมมนุษย์ที่รวมตัวแบบชุมชน (Community) เป็นสังคมมนุษย์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของมนุษย์ไม่ได้จงใจก่อตั้งขึ้นมา แต่ชุมชนได้ค่อยๆเกิดขึ้นและวิวัฒนาการผันเปลี่ยนแปลงไปในตัวเอง ดังนี้
1.1.1 ครอบครัว
ครอบครัว (Family) เป็นสังคมมนุษย์ที่เกิดขึ้นจากสัญชาติญาณของมนุษย์ได้แก่สัญชาติญาณ 2 สัญชาติญาณ สัญชาติญาณที่ 1 ของความเป็นแม่ซึ่งมีอยู่ในผู้หญิงทุกคนทำให้มารดาเลี้ยงดูบุตรผูกพันให้ผู้หญิงอยู่ร่วมกับบุตร สัญชาติญาณที่ 2 คือสัญชาติญาณที่จะสืบทอดเผ่าพันธุ์ซึ่งเป็นสัญชาติญาณทางเพศ ที่จะผลักดันให้ชายกับหญิงมาอยู่ร่วมกันอย่างถาวร อันทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาและบิดามารดา
1.1.2 โคตรตระกูล
โคตรตระกูล (Clan) เกิดจากการขยายตัวของครอบครัวอันเป็นความสัมพันธ์ทางสายโลหิต มีบรรพบุรุษเดียวกัน มีผู้สืบสันดานเดียวกัน ผูกพันเป็นโคตรตระกูลกลายเป็นเผ่าพันธุ์
1.1.3 เผ่าพันธุ์
เผ่าพันธุ์ (Trib) เป็นกลุ่มคนที่เรียกว่า “เผ่าพันธุ์” อยู่เป็นกลุ่มเป็นก้อนและมีวัฒนธรรมที่แตกต่าง เผ่าพันธุ์จึงมีความหมายเชิงการเมือง เป็นกลุ่มคนที่พูดภาษาเดียวกัน และบ่งบอกถึงพื้นที่ตั้ง จากการศึกษาทางชาติพันธุ์บ่งชี้ ดังนั้นเผ่าพันธุ์ หมายถึงกลุ่มคนกลุ่มเล็ก ๆ มีชีวิตง่าย ๆ ยังชีพด้วยตัวเอง และเป็นกลุ่มเป็นก้อน เกิดจากการขยายของโคตรตระกูลเพราะนับสืบต่อๆไปจึงกลายเป็นเผ่าพันธุ์
1.1.4 ชาติ
ชาติ (Nation) ไม่ได้เกิดขึ้นจากความตั้งใจของมนุษย์ แต่เกิดจากปัจจัยทางธรรมชาติหลายๆประการ เช่น ชาติไทย ชาติลาว ชาติจีน ชาติเยอรมัน เป็นต้น ซึ่งมีปัจจัยที่ทำให้เกิดสังคมมนุษย์ที่เรียกว่า “ชาติ” คือ ปัจจัยทางชาติพันธุ์ ได้แก่ การมีผิวพรรณ ศาสนา ภาษาพูด วัฒนธรรมอย่างเดียว จึงก่อให้เกิดความผูกพันเป็นชาติขึ้น ปัจจัยที่อยู่เหนือดินแดนใดดินแดนหนึ่ง ซึ่งทำให้รู้สึกว่ามีประโยชน์ร่วมกันขึ้นแยกกันไม่ออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประโยชน์ทางเศรษฐกิจปัจจัยการมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอย่างเดียวกัน ในลักษณะที่คล้ายกันก่อให้เกิดความรู้สึกเป็นพวกเดียวกันปัจจัยอื่น ได้แก่ เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ เช่น สงครามหรือภัยพิบัติที่ทำให้คนจำนวนมากมาตกอยู่ในภาวะเดียวกัน ก่อให้เกิดความทรงจำร่วมกันว่าเคยผ่านพ้นภัยวิบัติมาด้วยกัน ทำให้เกิดความผูกพันรักใคร่แม้ไม่ใช่สายเลือดเดียวกันปัจจัยดังกล่าวข้างต้นทำให้มนุษย์แต่ละคนรวมตัวกันขึ้นเป็นชาติ ทำให้รู้สึกตนว่าอยู่ภายในกลุ่มๆหนึ่งเป็นเอกภาพในชาติขึ้น เช่น รู้สึกว่าเราเป็นคนไทย เป็นพวกเดียวกันเป็นชาติเดียวกันผูกพันกัน เป็นต้น
1.2 สังคมมนุษย์ที่รวมตัวแบบสมาคม
สังคมมนุษย์ที่รวมตัวแบบสมาคม (Association) นั้นมีที่มา และลักษณะของประเภทของมนุษย์แบบสมาคม ดังนี้
1.2.1 ที่มาของสังคมมนุษย์แบบสมาคม
ที่มาของสังคมมนุษย์แบบสมาคม จะพบว่าเป็นสังคมมนุษย์ที่มีการจัดตั้งองค์กรอย่างเป็นกิจจะลักษณะเพื่อดำเนินการให้บรรลุความมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างที่สมาชิกอยู่ร่วมกัน และเป็นสังคมที่ไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของมนุษย์ แต่เป็นสังคมที่สมาชิกรวมตัวกันขึ้นด้วยความตั้งใจ รู้สึกถึงการรวมตัวกันขึ้นเป็นกลุ่มเป็นหมู่คณะ เช่น พรรคการเมือง เป็นต้น
1.2.2 ลักษณะของสังคมมนุษย์แบบสมาคม
ลักษณะของสังคมมนุษย์แบบสมาคม จะมีลักษณะ คือ บรรดาปัจเจกชนที่เป็นสมาชิกของสมาคมจะมีความมุ่งหมายอันร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างและบรรดาสมาชิกทั้งหลายจะถูกจัดตั้งขึ้นเป็นองค์การ เพื่อดำเนินการให้บรรลุความมุ่งหมายที่ทุกคนมีอยู่ร่วมกัน
ดังนั้นการรวมตัวของมนุษย์จะเป็นสังคมที่ก่อให้เกิดรัฐหรือประเทศได้นั้นจะต้องเป็นการรวมตัวของมนุษย์แบบชุมชนและแบบสมาคมเข้าด้วยกัน การรวมตัวแบบชุมชนอย่างเดียวหรือการรวมตัวแบบสมาคมเพียงอย่างเดียวนั้นไม่สามารถที่ทำให้รัฐที่เป็นสังคมมนุษย์ที่รวมตัวเป็นสังคมก่อให้เกิดรัฐที่สมบูรณ์ได้
2.สภาพแวดล้อมทางสังคม
สภาพแวดล้อมทางสังคม (Social Surrounding) หมายถึง องค์ประกอบตามสภาพแวดล้อมที่ปรากฏอยู่ภายนอกตัวมนุษย์ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบอย่างใดอย่างหนึ่งต่อมนุษย์ที่เกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มีข้อพิจารณาดังนี้
2.1 พฤติกรรมมนุษย์
พฤติกรรมมนุษย์ (Human Behavior) หมายถึง กิริยาอาการ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์หรือที่มนุษย์ได้แสดงในการอยู่ร่วมกัน หรือปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นกับมนุษย์เมื่อได้เผชิญกับสิ่งเร้า พฤติกรรมต่าง ๆ เนื่องจากมนุษย์มีสติปัญญา และ “อารมณ์” (Emotion) เมื่อมีสิ่งเร้ามากระทบ สติปัญญาหรือารมณ์ จะเป็นตัวตัดสินว่า ควรจะปล่อยกิริยาใดออกไปในการอยู่ร่วมกันในสังคม ดังนั้นพฤติกรรมมนุษย์จึงเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดกฎหมายขึ้น
2.2 สภาพและสถานการณ์ทางสังคม
สภาพและสถานการณ์ทางสังคมหรือเทศกาลบ้านเมืองในขณะนั้น สภาพแวดล้อมจึงมีผลกระทบต่อคนในสังคม ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับคนนั้นโดยตรงและคนอื่นในสังคมด้วย จึงต้องมีการตรากฎหมายแก้ไขปัญหาที่เกิดจากผลกระทบจากสภาพแวดล้อมในสภาพข้อเท็จจริงให้เกิดผลในทางปฏิบัติว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ อย่างไรและกฎหมายนั้นสอดคล้องกับความต้องการของคนส่วนรวมที่ยอมรับได้ในสังคมนั้นได้หรือไม่อย่างไร
ดังนั้นเมื่อมนุษย์รวมตัวเป็นสังคมซึ่งในแต่ละสังคมมีสภาพแวดล้อมนั้นจะทำให้พฤติกรรมมนุษย์ที่มีสถานภาพและสถานการณ์ทางสังคมที่แตกต่างกันกันอันเป็นเงื่อนไขทางสังคมที่จำเป็นต้องมีการกำหนดกติกาการอยู่ร่วมกันในสังคมให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
3. เงื่อนไขทางสังคม
เงื่อนไขทางสังคม (Social Conditions) หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องขัดขวางหรือสนับสนุนบุคคลให้ไปสู่เป้าหมาย เงื่อนไขทางสังคมอาจมาจากสิ่งต่าง ๆทั้งหลายด้วยกัน เช่น สภาพทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองของบุคคล อาจเป็นสถานภาพทางครอบครัวหรืออาจเป็นเพราะบุคลิกภาพเฉพาะตัว ความสามารถส่วนตัว เป็นต้น สถานภาพเหล่านี้มีเงื่อนไขทางสังคมแตกต่างกันจึงจำเป็นต้องมีข้อกำหนดให้อยู่ร่วมกันในสังคม เงื่อนไขทางสังคมเหล่านี้ ได้แก่ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ กฎเกณฑ์และคำสั่งที่เป็นลายลักษณ์อักษรอันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปของสังคม ตลอดจน “ขนบธรรมเนียม” (Convention) หรือ “จารีตประเพณี” (Custom) หรือ “ประเพณี” เป็นวิธีปฏิบัติทางสังคมส่วนใหญ่ย่อมมีความแตกต่างไปจาก “วิถีประชา” (Folkway) ที่จำกัดเฉพาะชุมชนใดชุมชนหนึ่งและไม่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในสังคม เงื่อนไขทางสังคมจึงต้องอาศัย “วิถีปฏิบัติด้วยความเป็นธรรม” (Due process) ซึ่งจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขไปตามสภาพเหตุการณ์ของสังคมในขณะนั้น เพื่อความเหมาะสมหรือตามเทศกาลบ้านเมืองอันสอดคล้องด้วยหลักใหญ่ตามเสียงส่วนใหญ่ของคนในสังคม
เมื่อพิจารณาศึกษาถึงส่วนสำคัญที่ส่วนประกอบที่ทำให้เกิดกฎหมายจะเริ่มต้นด้วยมนุษย์รวมตัวเป็นสังคมแบบชุมชนและแบบสมาคมที่มีความสัมพันธ์สภาพแวดล้อมทางสังคมตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ภายใต้เงื่อนไขทางสังคมอันเกิด กติกากันในสังคมโดยการปรุงแต่งข้อตกลงดังกล่าวเกิดกฎหมายขึ้นอันสอดคล้องด้วยหลักเสียงส่วนใหญ่ของสังคมยอมรับร่วมกันเกิด “กติกา” (Rule) ข้อตกลงกันในสังคมโดยการปรุงแต่งข้อตกลงดังกล่าวพัฒนาเป็น “กฎหมาย” (Law) ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้นมาใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมคนในสังคมให้เกิดความสงบเรียบร้อย