[爆卦]ขุนนาง คือ是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇ขุนนาง คือ鄉民發文沒有被收入到精華區:在ขุนนาง คือ這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 ขุนนาง產品中有16篇Facebook貼文,粉絲數超過178萬的網紅ลงทุนแมน,也在其Facebook貼文中提到, Encyclopédie หนังสือที่อ่านแล้ว มีโทษถึงประหารชีวิต /โดย ลงทุนแมน “นายไม่อ่านหนังสือ นายจะรู้อะไร” คำพูดของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี คงเป็นที่จดจำของใค...

 同時也有9部Youtube影片,追蹤數超過8萬的網紅Zed Cat,也在其Youtube影片中提到,อย่าลืมกระทืบไลค์555 ? รับชมสตรีม - https://www.twitch.tv/zedcatlol ? กด ? "LIKE" ? กด Share กด SUBSCRIBE เป็นกำลังใจให้ด้วยนะ วิดิโอก่อนหน้านี้ : LOL...

ขุนนาง 在 Akekluk Cherdchoo I POPDOT. Instagram 的精選貼文

2020-07-02 18:58:41

ก่อนนอนคืนนี้ขอเล่าเรื่องหนึ่งในเทียนหอมที่โปรดปรานของพระนางมารี อ็องตัวแนต สตรีผู้เลอโฉมแห่งพระราชวังแวร์ซายส์ คือเทียนจาก ซีร์ ทรูดอง (Cire Trudon) ...

ขุนนาง 在 Poomjai Tangsanga Instagram 的精選貼文

2020-06-16 16:13:33

ผมอยากจะสร้างค่านิยมใหม่ ให้ชาวบ้านหลายๆท่าน มองไร่มองนาของท่านแล้ว รู้สึกภาคภูมิใจกับมัน... มันสวยงามมาก แล้วมันก็สร้างคุณค่ามหาศาลให้กับสังคม.. ทุกว...

ขุนนาง 在 ??????????? Instagram 的最讚貼文

2020-06-03 08:40:08

die Bürokraten | ขุนนาง...

  • ขุนนาง 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文

    2021-07-05 20:00:57
    有 3,724 人按讚

    Encyclopédie หนังสือที่อ่านแล้ว มีโทษถึงประหารชีวิต /โดย ลงทุนแมน
    “นายไม่อ่านหนังสือ นายจะรู้อะไร”
    คำพูดของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี คงเป็นที่จดจำของใครหลายคน
    แต่ถ้าย้อนกลับไปในประเทศฝรั่งเศสในปี 1749
    การอ่านหนังสือบางเล่มกลับกลายเป็นสิ่งต้องห้าม

    สมัยนั้น มีหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า Encyclopédie, ou dictionnaire raisonné des sciences, des arts et des métiers ได้ถูกตีพิมพ์ให้คนทั่วไปมีโอกาสเข้าถึงจนก่อให้เกิดการพัฒนาทั้งทักษะและความคิดครั้งใหญ่

    แต่ Encyclopédie กลับถูกสั่งแบนทั้งห้ามอ่าน ห้ามจัดจำหน่าย และห้ามครอบครอง
    ซึ่งโทษสูงสุดของผู้ที่ฝ่าฝืนคือ “การประหารชีวิต”

    แล้วทำไมการอ่านหนังสือเล่มนี้ ถึงมีโทษร้ายแรง
    และหนังสือมีบทบาทสำคัญต่อโลกอย่างไร ?
    ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
    ╔═══════════╗
    Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
    ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
    แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
    Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
    ╚═══════════╝
    จุดเริ่มต้นเรื่องราวทั้งหมดนี้ เกิดขึ้น ณ ประเทศฝรั่งเศสในปี 1745
    เมื่อ André Le Breton เจ้าของสำนักพิมพ์สนใจนำหนังสือเล่มหนึ่ง
    ที่ชื่อว่า Cyclopædia: or, An Universal Dictionary of Arts and Sciences
    มาแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาฝรั่งเศสเพื่อวางจำหน่ายในประเทศ
    โดยหนังสือเล่มนี้เป็นสารานุกรมรวบรวมบทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และศิลปะ

    เขาจึงได้จ้างนักเขียนที่ชื่อว่า Denis Diderot มาทำหน้าที่ในการแปลหนังสือ
    ร่วมมือกับนักคณิตศาสตร์ชื่อว่า Jean Le Rond d'Alembert

    ต้องบอกว่าช่วงเวลานั้น รัฐมักปิดกั้นความรู้และความคิดของชนชั้นล่าง
    ขณะเดียวกันกลับส่งเสริมบารมีของชนชั้นสูง เช่น สถาบันกษัตริย์ ขุนนาง และเหล่านักบวช

    ทำให้หนังสือส่วนใหญ่เน้นเรื่องราวเกี่ยวกับชนชั้นสูงมากกว่า
    และไม่ค่อยมีหนังสือที่มีเนื้อหาที่มีประโยชน์แก่กลุ่มคนชนชั้นล่างมากนัก

    แต่ด้วยความที่ผู้แปลหรือ Denis Diderot เป็นชายที่มีหัวขบถและชอบตั้งคำถาม
    ทำให้ในเวลาต่อมาเขาเกิดตั้งคำถามกับตัวเองว่า

    ทำไมจะต้องทำแค่แปลหนังสือ
    ทำไมพวกเราไม่สร้างหนังสือขึ้นเอง
    หนังสือที่จะทำให้ผู้คนเกิดความรู้และวิธีคิดครั้งใหญ่ขึ้นมา ?

    หลังจากเกิดคำถามขึ้นในใจ
    Denis Diderot ก็ได้เริ่มเกลี้ยกล่อม Jean Le Rond d'Alembert นักคณิตศาสตร์ที่มาช่วยแปลหนังสือให้เห็นด้วยกับโปรเจกต์ใหม่ของเขาและในที่สุดโปรเจกต์ระดับมหากาฬนี้ก็ได้กำเนิดขึ้น

    โดยเป็นการสร้างสารานุกรมที่รวบรวมข้อมูลหลาย ๆ ศาสตร์เข้าด้วยกัน
    มีทั้งศาสตร์ด้านศิลปะ วิทยาศาสตร์ และงานฝีมือ ที่มีประโยชน์แก่ผู้คน
    รวมถึงแอบแฝงวิธีคิดอย่างมีเหตุมีผล และการตั้งคำถามกับสิ่งต่าง ๆ อยู่เสมอ

    แต่ทั้งคู่คิดว่าการมีผู้เขียนแค่ 2 คนคงไม่สามารถเขียนได้ครบจบทุกเรื่อง
    เพราะภาระหนักเกินไปและแต่ละคนก็ใช่ว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในทุกด้าน

    พวกเขาจึงคัดเลือกและรวบรวมผู้เชี่ยวชาญในแต่ละศาสตร์
    เพื่อมาเผยเคล็ดลับและความรู้ของตนให้ผู้คนได้รับรู้

    ซึ่งโปรเจกต์นี้เองมีผู้เชี่ยวชาญมาให้ความร่วมมือถึง 150 คนเลยทีเดียว
    และส่วนใหญ่เป็นตัวท็อปของแต่ละวงการนั้น ๆ อีกด้วย เช่น

    Claude Bourgelat สัตวแพทย์ชื่อดังของฝรั่งเศส
    Chevalier Louis de Jaucourt ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤกษศาสตร์
    Voltaire นักปรัชญาที่มีชื่อเสียงด้านความเฉลียวฉลาด

    ระหว่างทำโปรเจกต์นี้เอง Denis ก็ได้แยกตัวออกมาเขียนหนังสือของตัวเองเพิ่ม
    อย่าง Philosophical Thoughts, The Skeptic's Walk และ Letter on the Blind

    โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการไม่เชื่อในพระเจ้าหรือศาสนาคริสต์ รวมถึงมีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก
    ทำให้ Denis Diderot ถูกรัฐลงโทษจำคุกในที่สุด แต่เวลาต่อมาเขาก็ถูกปล่อยตัว
    โดยเขาสัญญาว่าจะไม่กลับมาเขียนเรื่องแนวนี้อีก

    แต่สัญญาก็ไม่ได้เป็นไปตามสัญญา
    เพราะแทนที่เขาจะหยุด เขากลับไม่ได้เพียงแค่หันมาเขียนหนังสือเช่นเดิม
    แต่กลับสร้างหนังสือที่กำลังจะสร้างผลกระทบครั้งใหญ่

    โดยตัวเขาได้เขียนเกี่ยวกับการวิพากษ์วิจารณ์ชนชั้นสูงเหมือนเดิม
    แต่ทำให้กลมกลืนไปกับเนื้อหาเรื่องอื่น ๆ ด้วยการแฝงใจความสำคัญเข้าไป

    ซึ่งหลังจากตีพิมพ์หนังสือออกมา หนังสือของเขาก็ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า
    และได้รับการตอบรับที่ดีจากชนชั้นล่าง ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ

    สำหรับเนื้อหาในหนังสือเป็นเรื่องที่ผู้คนเข้าถึงได้ง่าย สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง ซึ่งเป็นเกร็ดความรู้ของแต่ละสายอาชีพ

    เช่น ความรู้เกี่ยวกับพืชผัก ลักษณะ การปลูกและเลี้ยงดู
    การก่อสร้างอาคาร การผลิตสิ่งทอ การผลิตเครื่องปั้นดินเผา
    และอื่น ๆ อีกมากมายที่ส่งผลต่อปากท้องของผู้คน

    ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่แปลกใหม่ เพราะเวลานั้นผู้คนจะไม่ค่อยแบ่งปันเคล็ดลับให้คนอื่น
    และแม้ว่าจะมีการแบ่งปันความรู้อยู่บ้าง แต่ก็เป็นแค่ระดับคนใกล้ชิด
    จึงทำให้หนังสือฉบับนี้เป็นที่ชื่นชอบของผู้คน

    เท่านั้นไม่พอ หนังสือยังมอบมุมมองและวิธีตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องราวบนโลกใบนี้ด้วย
    อย่างความเชื่อที่ส่งต่อกันมา เราจะสามารถพิสูจน์ได้อย่างไรว่าจริงหรือเท็จ

    รวมถึงแต่ละเรื่องมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน เช่น ทำไมชนชั้นตัวเองต้องอยู่อย่างลำบาก ในขณะที่คนอีกกลุ่มอยู่อย่างสุขสบาย

    ด้วยการตั้งคำถามแบบนี้ ทำให้ผู้คนเริ่มเกิดวิธีคิดแบบใหม่
    แทนที่จะเป็นการเชื่อหรือตัดสินอะไรโดยทันที
    มาเป็นการพิจารณาและวิเคราะห์เรื่องราวนั้น ๆ ก่อน

    นอกจากนี้สารานุกรมยังยกย่องชนชั้นระดับล่างหรือแรงงาน
    ว่าเป็นผู้ที่มีเกียรติและอุตสาหะ เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ
    ไม่ได้เป็นเพียงผู้ต่ำต้อยอย่างที่เข้าใจกัน

    ในทางกลับกัน หนังสือก็ได้ตั้งคำถามถึงการมีอยู่ของกลุ่มคนชนชั้นสูงว่ามีความจำเป็นหรือไม่
    หรือกลุ่มคนเหล่านี้เป็นตัวส่งเสริมหรือขัดขวางความเจริญของประเทศกันแน่

    จากเรื่องราวทั้งหมดที่กล่าวไป ก็ทำให้ผู้คนตระหนักและเข้าใจถึงสถานการณ์ของตนเองมากขึ้น
    รวมถึงเริ่มเข้าใจถึงการแบ่งแยกชนชั้น และการถูกเอารัดเอาเปรียบ

    ส่งผลให้หลังจากการตีพิมพ์ฉบับที่ 2 ออกมาได้ไม่นาน
    พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ได้สั่งห้าม ไม่ให้ประชาชนมีหนังสือไว้ในครอบครอง
    เพื่อป้องกันการต่อต้านและตื่นรู้จากกลุ่มชนชั้นล่าง

    นอกจากนี้ พระสันตะปาปาเคลมองต์ที่ 13 เองก็มีคำสั่งให้เผาหนังสือทั้งหมด
    รวมถึงหนังสือต้นฉบับ โดยให้เหตุผลว่า มันเป็นสิ่งที่เลวร้ายและสร้างกิเลสจนเกินไป

    แต่โชคก็ยังเข้าข้าง Denis Diderot อยู่บ้าง
    เมื่อหัวหน้าผู้ตรวจที่รับผิดชอบบุกค้นบ้านอยู่ข้างเดียวกับเขา
    ช่วยให้เขาสามารถแอบเก็บต้นฉบับได้ทัน และลักลอบออกไปตีพิมพ์นอกประเทศได้สำเร็จ

    อย่างไรก็ตามหลังจากโปรเจกต์สารานุกรมโดนแบน ชีวิตของ Denis Diderot ก็เริ่มแย่ลง
    เพื่อนพ้องถอยห่างจากเขา ตัวเขาเองก็ถูกเจ้าหน้าที่คุกคาม
    และการงานอาชีพของเขาก็ค่อย ๆ ลดหายลงไป

    ด้วยความที่ Denis Diderot เป็นคนที่มุ่งมั่นและแพ้ไม่เป็น
    เขาก็ยังคงตั้งตาเขียนบทความออกมาอยู่เรื่อย ๆ รวมกันแล้วประมาณ 7,000 บทความ

    แต่ท้ายที่สุดแล้ว เขาก็ต้องพบเจอกับความผิดหวัง
    เมื่อบทความเหล่านั้นถูกเซนเซอร์เนื้อหาหลังจากตีพิมพ์
    เพราะสำนักพิมพ์ก็กลัวอำนาจของรัฐเช่นกัน
    บั้นปลายชีวิตของ Denis Diderot จึงคิดว่าโปรเจกต์ที่สร้างมาโดยตลอด น่าจะล้มเหลว..

    ซึ่งจริง ๆ แล้ว ก็ต้องบอกว่าเขาคิดผิด
    เพราะแม้ว่าหลังจากโปรเจกต์นี้จะถูกแบนไป แต่มันก็ได้ทำหน้าที่ไปเรียบร้อยแล้ว
    โดยสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น คือคนฝรั่งเศสเริ่มรู้จักใช้ความคิดอย่างมีเหตุมีผล

    นอกจากนี้ จากการที่หนังสือถูกแบน ก็เป็นตัวเร่งให้ผู้คนเกิดความสงสัย
    และอยากรู้กันมากขึ้นจนผลักดันให้พวกเขาศึกษาและหาความรู้เพิ่ม
    จากเรื่องราวทั้งหมดนี้เอง ก็เป็นส่วนสำคัญ
    ที่นำไปสู่การปฏิวัติครั้งใหญ่ในฝรั่งเศสเพื่อเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในเวลาต่อมา..
    ╔═══════════╗
    Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
    ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
    แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
    Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
    ╚═══════════╝
    ติดตามลงทุนแมนได้ที่
    Website - longtunman.com
    Blockdit - blockdit.com/longtunman
    Facebook - facebook.com/longtunman
    Twitter - twitter.com/longtunman
    Instagram - instagram.com/longtunman
    Line - page.line.me/longtunman
    YouTube - youtube.com/longtunman
    Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
    Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
    Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
    References
    -https://www.britannica.com/biography/Denis-Diderot
    -https://www.youtube.com/watch?v=jv4bWkoG4k8
    -https://library.wustl.edu/news/a-revolutionary-encyclopedia/
    -https://en.wikipedia.org/wiki/Encyclop%C3%A9die
    -https://en.wikipedia.org/wiki/Denis_Diderot
    -https://en.wikipedia.org/wiki/Encyclop%C3%A9distes

  • ขุนนาง 在 หนังโปรดของข้าพเจ้า Facebook 的最佳解答

    2021-06-05 22:00:46
    有 684 人按讚

    The Last Kingdom ซีซั่น 1 (สามารถดูได้ใน Netflix)

    เป็นอีกหนึ่งซีรีส์ที่ส่วนตัวดูรวดเดียวจบแบบไม่มีพัก จูนติดตั้งแต่ EP.1 ซึ่งสามารถอธิบายรูปแบบเรื่องทั้งหมดได้ภายในตอนเดียว 'อูเทร็ด' (Alexander Dreymon) ตัวละครนำถูกแต่งขึ้นมาให้เป็นลูกขุนนางแห่งเบบแบนเบิร์ก พ่อตาย อาแย่งตำแหน่งไป ส่วนตัวเองถูกพวกเดนส์รับไปเลี้ยงจนโต กลายเป็นคนสายเลือดแซ็กซอนแต่เติบโตด้วยมุมมองนอกรีตแบบเดนส์ พอพ่อบุญธรรมถูกฆ่าตายก็ต้องเร่ร่อนหาทางทวงคืนสิ่งที่ตัวเองเคยมี ซีรีส์ก็ใช้ระหว่างทางในการสำรวจสงครามระหว่างไวกิ้งส์ที่ยกทัพมายึดครองอังกฤษ โดยมีแนวต้านด่านสุดท้ายคือเวสเซ็ก
    .
    เปิดมาตอนแรกพอได้เห็นการแย่งชิงอำนาจ, ความป่าเถื่อนของพวกเดนส์ โชว์ความรุนแรงฟันฉับหัวขาด เล่นสนุกกับศพ, โชว์ยุทธวิธีการรบแบบโบราณ, พูดถึงนักรบสู้ขาดใจ กับพวกทรยศพวกพ้อง ยอมมีชีวิตอยู่แบบไม่มีอิสรภาพ, มุมมองคริสเตียนศรัทธาต่อพระเจ้าสุดใจ และนักรบเดนส์ท้าทายพระเจ้าของคริสเตียน, เห็นทั้งนักรบและนักคิด การศึกต้องมีทั้งสายบู๊สายบุ๋น, และแน่นอนว่าซีรีส์ย่อมมีการเมืองในการเลือกนายให้เป็น ทั้งหมดนี้พอเราเห็นใน EP.1 ก็จูนติดทันที เพราะตอนที่เหลือก็ยังคงโทนเล่าประมาณนี้แต่เข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ และสเกลใหญ่ขึ้นไปสำรวจสมรภูมิรบต่าง ๆ ระหว่างขุนพลของ 'คิงอัลเฟร็ด' (David Dawson) กับพวกไวกิ้งส์สุดโหด
    .
    ฉากรบไม่ค่อยเยอะเท่าไร พอเข้าใจได้ในแง่โปรดักชั่น ซีรีส์เลยเลือกจะชดเชยด้วยการแสดงให้เห็นแผนการรบมากกว่า ว่าแต่ละสมรภูมิมีการชิงความได้เปรียบและยุทธวิธีแบบไหนในการเอาชนะ การมีตัวเอกที่เติบโตมากับพวกเดนส์ จึงมองทะลุปรุโปร่งอ่านเกมข้าศึกออก กลายเป็นความได้เปรียบของทัพเวสเซ็ก แต่ถึงอย่างนั้นพวกเดนส์ก็ไม่ใช่เล่น ๆ ที่แค่โดนอ่านแผนรบออกไม่กี่ครั้งแล้วจะแตกพ่าย ด้วยกำลังพลยกทัพมาเสริมและความชำนาญการรบจึงเตรียมทัพมายึดครองรอบเวสเซ็กได้อย่างต่อเนื่อง
    .
    แล้วพอบทตัวเอกที่เป็นตัวละครแต่งขึ้นมา แต่งให้ซื่อเหลือหลาย เป็นนักรบและนักคิดในสนามรบ แต่เรื่องการเมืองคือเหยื่อตลอด ตอนดูนี่มีแอบหงุดหงิดหลายครา เพื่อนเตือน คนรอบข้างเตือนไม่เข้าหูเลยเฮ้ย เอาจริงก็ดีละ ไม่งั้นตัวละครนี้จะเก่งเทพเกินไป ต้องให้ตัวละครอื่นเจนจัดการเมือง โชว์ความเหี้ยมผ่านอำนาจบ้าง ที่ชอบอย่างหนึ่งคือตัวละครทุกตัวมีมิติในมุมใดมุมหนึ่งกันหมด ถึงซีรีส์จะชอบบอกว่าฝั่งคริสเตียนรับใช้พระเจ้า แต่ในมุมคนดูคือรู้สึกว่าทุกคนรับใช้ตัวเอง หาตำแหน่งที่ตัวเองจะได้เปรียบและคงอำนาจ ทั้งพวกขุนศึก ขุนนาง นักบวช ล้วนเล่นการเมืองกันหมด

    8 Episodes (เฉลี่ยตอนละ 60 นาที)
    A

    #หนังโปรดxซีรีส์Netflix

  • ขุนนาง 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文

    2021-01-18 09:16:07
    有 17 人按讚

    ความเป็นชาตินิยมของซาวิญยี่ กับแนวคิดการจัดทำประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน

    ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้มีการแสดงความคิดที่จะจัดทำประมวลกฎหมายให้ใช้บังคับแก่รัฐต่างๆในเยอรมัน แต่ได้มีความเห็นของนักปราชญ์ทางกฎหมายขัดแย้งกันอยู่ 2 ความเห็น กล่าวคือ เกิดการปะทะสังสรรค์ทางความคิดว่า “กฎหมายคืออะไร”
    เอ เอฟ เจ ทีโบน (A.F.J Thibout) ได้เสนอให้ทำการยกร่างประมวลกฎหมายเยอรมันอย่างรวดเร็วโดยวิธีการนัดนักกฎหมายประเทศต่าง ๆ มาพัฒนาจัดทำกฎหมาย เพื่อจัดทำประมวลกฎหมาย เพราะรากฐานกฎหมายที่ประเทศฝรั่งเศสจัดทำ ประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส (ประมวลกฎหมายนโปเลียน) คือ เป็นรากฐานของสกุลกฎหมายโรมัน-โรมานิค ซึ่งเป็นรากฐานกฎหมายของชาวโรมัน ทำไมเราไม่จัดทำประมวลกฎหมายของสกุลกฎหมายของเราเอง
    ซาวิญยี่ (Georg Friedrich Carl Von Savigny) ได้ต่อต้านการกระทำของ ทีโบน อย่างรุ่นแรงโดยกล่าวว่า
    “กฎหมายไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นได้ตามใจชอบแต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยตัวมันเองแล้วเติบโตเปลี่ยนแปลงคลี่คลายไปตามประวัติศาสตร์หรือลักษณะของชนชาติ เหมือนกับต้นไม้ คนหรือสัตว์ ที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะค่อยๆ เติบโตไปตามหลักเกณฑ์วิวัฒนาการ”
    การที่ ทีโบน ต้องการให้มีประมวลกฎหมายโดยเร็วนั้นเป็นการกระทำที่ไม่เข้าใจธรรมชาติของกฎหมาย ซาวิญยี่ ได้กล่าววิพากษ์วิจารณ์ในหนังสือ
    “ภารกิจในยุคสมัยเราต่อการนิติบัญญัติและนิติศาสตร์” ว่าทำการประมวลกฎหมายไม่ใช่เป็นเรื่องเล่น ๆ ที่จะทำกันด้วยสักแต่เพียงการตรากฎหมายขึ้นมาเท่านั้น เพราะกฎหมายที่แท้จริงไม่ใช่สิ่งที่ผู้มีอำนาจเขียนตามใจชอบ กฎหมายต้องเป็นข้อสรุปของพลังภายในสังคม โดยกำเนิดและเกิดขึ้นโดยประสบการณ์และหลักความประพฤติทั่วไปของประชาชนที่เรียกว่า “จิตสำนึกร่วมของประชาชน” (Common consciousness of the people) และธรรมชาติของกฎหมายนั้นเปรียบเสมือน “จิตวิญญาณของประชาชน” (The spirit of the people)
    นอกจากนั้นกฎหมายยังเปรียบได้เสมือนภาษาซึ่งกำเนิดและวิวัฒนาการจะเป็นไปเฉพาะแต่ละชาติแต่ละเผ่าพันธุ์ วิวาทะของ ซาวิญยี่ ก่อให้เกิดทฤษฎีหรือแนวคิดของสำนักกฎหมายประวัติศาสตร์ขึ้นมาและได้พยายามอธิบายว่ากฎหมายนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องเหตุผลที่เป็นสากล ไม่ใช่เรื่องธรรมชาติ ไม่ใช่เรื่องที่จะใช้ได้ครอบจักรวาล

    ดังนั้น หลักกฎหมายของประเทศอื่นจะนำมาใช้ในประเทศเยอรมันทันทีไม่ได้ เพราะโดยธรรมชาติแล้วกฎหมายจะกำเนิดเติบโตขึ้นมาจากสังคมแต่ละสังคม กฎหมายของแต่ละสังคมจะมีลักษณะเฉพาะของมันเอง ธรรมชาติของกฎหมายจะแปรสภาพไปตามสังคม ซาวิญยี่ยืนยันว่า กฎหมายนั้นไม่ได้มาจากธรรมชาติ ไม่ได้นำมาจากเจตจำนงของผู้มีอำนาจหรือรัฐาธิปัตย์แต่อย่างใดแต่กฎหมายนั้นเติบโตขึ้นมาจาก จิตสำนึกประสบการณ์ของคนในสังคมที่ได้ประสบเหตุการณ์ต่างๆ แล้วพยายามจะแก้ปัญหาต่างๆตลอดจนหาวิธีแก้ไขปัญหาร่วมกัน คือ มาจากจิตสำนึกร่วมของประชาชนที่มีจิตวิญญาณในการจัดทำกฎหมายขึ้นมาของแต่ละชุมชนที่มีความแตกต่างกัน

    ต่อมาอีกประมาณ 60 ปี ฝ่ายที่สนับให้จัดทำประมวลกฎหมายได้รับชัยชนะ กล่าวคือ ได้มีการร่างประมวลกฎหมายเยอรมันขึ้นสำเร็จใน ปี ค.ศ. 1816 พร้อมกับการสลายตัวของสหพันธรัฐเยอรมัน แต่ในสมัย อาณาจักรไรช์ที่ 2 ซึ่งเป็นจักรวรรดิ์เยอรมันที่ตั้งขึ้นใหม่ ในปี ค.ศ. 1874 ได้มีการตั้งคณะกรรมการจัดทำประมวลกฎหมายแพ่งขึ้น 11 คน ประกอบด้วยผู้พิพากษา 6 คน ข้าราชการ 3 คนและศาสตราจารย์ทางกฎหมาย 2 คน ได้จัดทำสำเร็จและจัดพิมพ์ร่างกฎหมายขึ้นในปี ค.ศ. 1888 แต่ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์กันอยู่มาก เช่น การลอกเลียนแบบกฎหมายโรมันมากเกินไป ขาดการคำนึงถึงปัญหาทางสังคมและภาษาที่นำมาใช้น่าจะเข้าใจกันอยู่เฉพาะในบรรดานักกฎหมายเท่านั้นทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจยาก ในปี ค.ศ. 1890-1895 ได้มีการตั้งกรรมการขึ้นอีกคณะหนึ่ง ประกอบด้วยกรรมการถาวร 6 นาย และกรรมการอื่นอีก 12 นาย ซึ่งไม่ใช่กรรมการถาวร คณะกรรมการชุดนี้ได้ร่างประมวลกฎหมายเยอรมันสำเร็จในปี ค.ศ. 1895 แต่มีผลใช้บังคับตั้งปี ค.ศ. 1900 เป็นต้นไป

    ข้อสังเกตบางประการ เกี่ยวกับแนวคิดของ ซาวิญยี่ ในการต่อต้านแนวคิดการจัดทำประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน

    แนวคิดของ ซาวิญยี่ ในการต่อต้านแนวคิดการจัดทำประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมันที่เสนอโดย ทีโบน ตามแนวความคิดแบบกฎหมายธรรมชาติ
    เนื่อง ซาวิญยี่ เป็นนักกฎหมายชาวเยอรมันที่มีเชื้อสายขุนนาง ซาวิญยี่สร้างแนวคิดสำนักกฎหมายประวัติศาสตร์ อาจมาจากอคติลำเอียง มีข้อสังเกตด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ
    1.เหตุผลทางการเมือง ในลักษณะที่ว่าเมื่อ ซาวิญยี่ มีชีวิตอยู่นั้นพบว่า ฝรั่งเศสประสบความสำเร็จในการสร้างประมวลกฎหมายแพ่ง ในปี ค.ศ.1804 แต่ปรากฏว่าใช้บังคับไม่ได้ เพราะว่าสังคมเยอรมันเป็นสังคมสังคมแบบศักดินาหรือสังคมแบบชนชั้น (Feuldalism) ยังคงเป็นสังคมแบบมีทาส มีนาย คนยังเพียงทรัพย์สินหาใช่มนุษย์ที่จะมีสิทธิใดๆ ความเป็นทาส คือ ความที่คนไม่ได้ทัดเทียมกันในสังคมในเชิงสิทธิส่วนบุคคล ดังนั้นประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมันแม้จะเขียนเสร็จก็นำมาใช้บังคับไม่ได้ เพราะระบบการปกครองนั้นยังไม่เปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับประมวลกฎหมายแพ่ง เยอรมันรู้สึกเสียหน้าที่ฝรั่งเศสสร้างประมวลกฎหมายแพ่งใช้ก่อนเยอรมัน ซึ่งจริงๆแล้วเมื่อศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายตะวันตก แนวคิดหรือสกุลกฎหมายโรมาโน-เยอรมานิค (ระบบกฎหมายซีวิลลอว์)นั้นเยอรมันเป็นเจ้าของตำรับ ซาวิญยี่ รู้สึกว่าฝรั่งเศสเหนือกว่าเยอรมันได้อย่างไร ฉะนั้นเมื่อฝรั่งเศสไปแนวทางนั้นแล้วเยอรมันก็ทำเองได้แต่ต้องใช้เวลาพัฒนาการทางกฎหมาย
    2.ถ้าประมวลกฎหมายแพ่งเข้าเยอรมัน สังคมเยอรมันก็จะเปลี่ยนแปลงไปจากระบบสังคมสังคมแบบศักดินาหรือสังคมแบบชนชั้น (Feuldalism ) คนที่เสียผลประโยชน์ก็คือ พวกกษัตริย์ ขุนนาง (ซาวิญยี่ นั้นก็เป็นพวกเชื้อสายขุนนางด้วย) หรือพวกพระก็ย่อมจะไม่ชื่นชม เพราะตนเองสูญเสียอำนาจและผลประโยชน์ต่างๆ เช่น สูญเสียแรงงานทาส สูญเสียอำนาจในการปกครอง เป็นต้น
    ดังนั้นด้วยเหตุ 2 ประการนี้เอง ซาวิญยี่ จึงได้เสนอทฤษฎีกฎหมายประวัติศาสตร์ขึ้นมาในเชิงปฏิเสธประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส แม้ประมวลกฎหมายแพ่งจะเป็นความสำเร็จของฝรั่งเศส ก็ใช่ว่าจะนำมาใช้ในเยอรมันได้ คือ ซาวิญยี่ ได้เน้นว่าคนเยอรมันจะต้องเป็น “ชาตินิยม”

  • ขุนนาง 在 Zed Cat Youtube 的精選貼文

    2019-07-08 20:28:39

    อย่าลืมกระทืบไลค์555
    ? รับชมสตรีม - https://www.twitch.tv/zedcatlol ?
    กด ? "LIKE" ? กด Share กด SUBSCRIBE เป็นกำลังใจให้ด้วยนะ
    วิดิโอก่อนหน้านี้ : LOLTH - Teamfight Tactics ► https://youtu.be/afgz7SpQ7bs
    ? SUBSCRIBE ชาแนลตรงนี้ ► https://youtu.be/fPsu9k46zQk ◄ เพื่อดูวิดิโอเพิ่มเติม ?
    ►คลิปใหม่ล่าสุดทั้งหมด - https://www.youtube.com/playlist?list=UU8hLZE5QwqYvGwi5FJK33cA
    ติดตามตรงนี่เพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติมและการอัปเดตทุกวัน ?
    Live stream - https://www.twitch.tv/zedcatlol
    Facebook - https://www.facebook.com/zedcatlol
    Instagram - https://www.instagram.com/zedcatlol/
    ติดต่องาน - teezc3@gmail.com

  • ขุนนาง 在 Scoop Viewfinder Youtube 的最佳解答

    2019-06-11 17:57:10

    Review The Wrath [ Viewfinder : รีวิว นางอาฆาต ]

    ทักทายร่วมกิจกรรม https://www.facebook.com/gene.rerkasem

    #Viewfinder #วิวไฟน์เดอร์ #TheWrath

  • ขุนนาง 在 Skyline channel Youtube 的最佳解答

    2018-04-21 09:30:00

    คุยกับเเม่เฒ่าเชื้อสายเจ้าเมืองขุนนางเก่า ชมเฮือนไทพวนบ้านโพธิ์สี อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี

你可能也想看看

搜尋相關網站