[爆卦]ขัณฑสกร แช่ผลไม้是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇ขัณฑสกร แช่ผลไม้鄉民發文沒有被收入到精華區:在ขัณฑสกร แช่ผลไม้這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 ขัณฑสกร產品中有2篇Facebook貼文,粉絲數超過64萬的網紅Jennis BNK48,也在其Facebook貼文中提到, วันนี้แอดก็จะมาเล่าถึงเรื่องของ #สารให้ความหวาน ทั้งในแง่ของการใช้งานและความปลอดภัยนะครับ เนื่องจากว่าหลายๆคนนั้นมีความกังวลในการบริโภคสารให้ความหว...

  • ขัณฑสกร 在 Jennis BNK48 Facebook 的最佳貼文

    2018-07-29 22:40:53
    有 3,180 人按讚


    วันนี้แอดก็จะมาเล่าถึงเรื่องของ #สารให้ความหวาน ทั้งในแง่ของการใช้งานและความปลอดภัยนะครับ

    เนื่องจากว่าหลายๆคนนั้นมีความกังวลในการบริโภคสารให้ความหวานเทียม (Artificial Sweeteners) น่ะครับ เพราะว่ากระแสข่าวและงานวิจัยต่างๆก็มีทั้งแสดงถึงข้อดี/และข้อเสียของสารให้ความหวานเหล่านี้ ทั้งในแง่ของรสชาติที่ได้รวมไปถึงผลต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและยาวด้วย

    ซึ่งสารให้ความหวานนี้สามารถแบ่งออกมาได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆนั่นก็คือ

    1.) สารให้ความหวานที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น น้ำตาลทราย (Sucrose)/ ฟรุกโตส (Fructose)/ กลูโคส (Glucose) และน้ำตาลแอลกอฮอลล์ (Sugar alcohol) ชนิดต่างๆน่ะครับ ซึ่งตรงนี้แอดก็จะขอกล่าวถึงเฉพาะน้ำตาลแอลกอฮอลล์น่ะครับ

    โดยที่น้ำตาลแอลกอฮอลล์ที่มีการใช้งานนั้น ได้แก่ Sorbitol, Mannitol, Xylitol, Isomalt, Maltitol, Lactitol และ Tagalose น่ะครับ

    สารให้ความหวานเหล่านี้จะให้พลังงานเพียงแค่ครึ่งหนึ่งของน้ำตาลแท้คือให้พลังงานเพียง 2 กิโลแคลอรี่/กรัมเท่านั้น สามารถถูกดูดซึมได้ช้าและไม่ทำให้ฟันผุน่ะครับ ซึ่งการที่มันถูกดูดซึมช้านี่เอง ก็เลยเป็นสาเหตุทำให้การเกิดการท้องเสียได้เมื่อรับประทานมากเกินไป

    โดยที่ xylitol นั้นจะถูกดูดซึมช้าสุด ก็จะทำให้ท้องเสียได้มากที่สุด ในขณะที่ sorbitol นั้นจะถูกดูดซึมมากที่สุด จึงทำให้เกิดอาการท้องเสียน้อยที่สุดน่ะครับ

    https://en.wikipedia.org/wiki/Sugar_alcohol

    2.) สารให้ความหวานที่ไม่ให้คุณค่าทางโภชนาการ หรือที่เราเรียกว่า “น้ำตาลเทียม” นั่นเอง โดยที่ทางองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) /และกระทรวงสาธารณสุขของไทยนั้นมีการรับรองให้ใช้ได้อย่างปลอดภัยนั้นจะมีอยู่ 6 ชนิด นั่นก็คือ

    2.1) Aspartame ซึ่งสามารถบริโภคได้ไม่เกิน 40-50 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวันน่ะครับ โดยที่ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยนั้นได้แก่ Equal, Slimma เป็นต้น

    ซึ่งเจ้า Aspartame นี้จัดว่าเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งดังนั้นมันจึงให้พลังงานเท่ากับ 4 กิโลแคลอรี่/กรัม เท่ากับน้ำตาลปกติและโปรตีนทั่วไปเลย แต่ด้วยความที่เค้ามีความหวานประมาณ 180-200 เท่าของน้ำตาลทราย ทำให้สามารถใช้ในปริมาณที่น้อยมาก จนถือว่าเป็นสารให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงานเลย

    Aspartame นั้นประกอบไปด้วยกรดอะมิโน 2 ชนิด คือ Aspartic acid และ Phenylalanine น่ะครับ และสามารถสลายตัวในความร้อนได้เป็นสารที่มีรสขม จึงทำให้ไม่สามารถที่จะใช้ปรุงอาหารได้ในขณะที่หุงต้มเลย

    และห้ามใช้กับผู้ป่วยที่มีภาวะ Phenylketonuria น่ะครับ เนื่องจากว่าผู้ป่วยนั้นจะไม่มีเอนไซม์ที่ใช้ย่อย Phenylalanine ได้น่ะครับ

    https://en.wikipedia.org/wiki/Aspartame

    2.2) Saccharin หรือที่บางทีเราเรียกว่า “ขัณฑสกร” นั่นเอง ซึ่งสามารถบริโภคได้ไม่เกิน 5 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวันน่ะครับ

    ซึ่งตรงนี้คุณ @Jirawat Ngoenmuang ได้ชี้แจงว่า แต่ก่อนขัณฑสกรนั้นได้มาจากต้นไม้ แต่คนเข้าใจผิดใช้เรียกแทน saccharin ดังลิงก์นี้นะครับ

    http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx…

    โดยที่ Saccharin นั้นจะให้ความหวานเป็น 300 เท่าของน้ำตาลทราย แล้วก็ไม่ให้พลังงานเลย และทนความร้อนสูงได้ดี จึงมีการใช้ผสมในน้ำเชื่อมต่างๆที่ใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องดื่มต่างๆน่ะครับ

    และด้วยข่าวลือที่ว่าเจ้า Saccharin นั้นสามารถที่จะทำให้เกิดมะเร็งในหนูได้เมื่อใช้ขนาดสูง ทั้งๆที่ยังไม่พบว่าจะทำให้เกิดอันตรายในคนได้ในปริมาณการใช้งานที่เหมาะสม ก็เลยทำให้ความนิยมในการใช้งานนั้นลดลงอย่างมากด้วย

    อันที่จริงปริมาณที่ให้ความหวานที่เหมาะสมนั้นถ้าเทียบกับน้ำตาลนั้นจะทำให้ใช้น้อยกว่าปกติถึง 1/300 เท่าของน้ำตาลทราย แถมเมื่อใช้มากนั้นจะทำให้เกิดรสหวานติดขมด้วยซ้ำ จึงเป็นไปได้ยากมากที่จะทำให้บริโภคมากกว่าปริมาณที่กำหนดได้ด้วย

    แต่อย่างไรก็ตามการใช้ Saccharin ในสตรีมีครรภ์ ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน เนื่องจากว่ามีการศึกษาบางส่วนที่เคลมว่า มันสามารถที่จะผ่านรกเข้าไปในเนื้อเยื่อของทารกในครรภ์ได้ จึงควรต้องระมัดระวังในการใช้ในสตรีมีครรภ์ด้วย

    https://en.wikipedia.org/wiki/Saccharin

    2.3) Acesulfame potassium ซึ่งสามารถบริโภคได้ไม่เกิน 15 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวันน่ะครับ โดยที่ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยนั้นได้แก่ Sweet tasty (Giffarine) เป็นต้น

    สารกลุ่มนี้จะให้ความหวานเป็น 200 เท่าของน้ำตาลทราย และทนความร้อนสูงได้ดี มักจะใช้ร่วมกับ Aspartame เพื่อลดความขมที่เกิดขึ้น โดยที่การใช้สารให้ความหวานร่วมของ Aspartame และ Acesulfame ร่วมกัน จะนิยมใส่ในน้ำอัดลมที่เคลมกันว่ามีพลังงาน 0 กิโลแคลอรี่ เช่นพวก Pepsi Max, Coke Zero เพื่อให้ได้รสหวานที่เป็นธรรมชาติขึ้น เป็นต้น

    และเนื่องจากว่าสารให้ความหวานกลุ่มนี้สามารถทนความร้อนได้ดี จึงมักจะมีการใส่ในขนมอบ (Bakery) ที่ต้องการความหวานแต่ไม่ต้องการพลังงานมากจากน้ำตาลได้ด้วย

    https://en.wikipedia.org/wiki/Acesulfame_potassium

    2.4) Sucralose ซึ่งสามารถบริโภคได้ไม่เกิน 15 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวันน่ะครับ โดยที่ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยนั้นได้แก่ Fitne sweet เป็นต้น

    สารกลุ่มนี้จะให้ความหวานเป็น 600 เท่าของน้ำตาลทราย ไม่ให้พลังงานเลย และทนความร้อนสูงได้ดี มีความคงตัวสูง สามารถให้รสชาติหวานใกล้เคียงกับน้ำตาลทรายมาก ไม่มีรสติดขม หรือว่าติดเฝื่อนปลายลิ้นน่ะครับ จึงสามารถใช้ทดแทนน้ำตาลทรายได้ดีเลย ทั้งในอาหารกระป๋องต่างๆ เบเกอรี่ ซอส และเครื่องดื่มต่างๆ เป็นต้น

    https://en.wikipedia.org/wiki/Sucralose

    2.5) Neotame ซึ่งสามารถบริโภคได้ไม่เกิน 2 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวันน่ะครับ ซึ่งจัดว่าเป็นสารให้ความหวานที่อนุญาตให้ใช้ในปริมาณน้อยที่สุด แต่ด้วยความหวานประมาณ 800-1300 เท่าของน้ำตาลทรายนั้นจึงทำให้ปริมาณที่ใช้นั้นก็ต่ำมากๆลงไปด้วยเช่นกัน

    สามารถทนความร้อนได้สูงและสามารถใช้ปรุงอาหารขณะหุงต้มได้ สามารถใช้กับอาหารและเครื่องดื่มได้ทุกประเภทเลยน่ะครับ

    https://en.wikipedia.org/wiki/Neotame

    2.6) สารสกัดจากหญ้าหวาน (stevia) ที่มีชื่อทางพฤษศาสตร์ว่า Stevia rebaudiana Bertoni โดยสารที่ให้ความหวานของหญ้าหวานก็คือ Stevioside นั่นเอง ซึ่งสามารถบริโภคได้ไม่เกิน 4 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวันน่ะครับ

    Stevioside เป็นสารที่ให้ความหวานมากกว่า 200-300 เท่าของน้ำตาล และสามารถทนความร้อนได้ดี ให้ความหวานช้าแต่ทนกว่าความหวานจากน้ำตาลทราย แต่จะให้ความหวานติดขมเล็กน้อยหากกว่าใช้มากเกินไปน่ะครับ

    https://en.wikipedia.org/wiki/Steviol_glycoside

    ซึ่งได้มีการศึกษาของ Rolls ในปี 1966 พบว่าน้ำตาลเทียมทั้งสามชนิดที่ทำการศึกษา ได้แก่ Aspartame, Saccharin และ Acesulfame นั้นก็พบว่าไม่มีผลต่อความหิว/ ความอยากอาหาร/ และน้ำหนักตัวเลยครับ

    ซึ่งปัจจุบันได้พบว่าน้ำตาลเทียมเหล่านี้สามารถใช้เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลได้อย่างปลอดภัย โดยไม่ทำให้อ้วนและไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดน่ะครับ

    อย่างไรก็ตามก็ไม่ควรทานเกินค่า ADI (Acceptable daily intake levels) ของสารให้ความหวานแต่ละชนิด เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้า Aspatame ควรหลีกเลี่ยงที่จะใช้งานกับผู้ป่วย Phenylketonuria ด้วยน่ะครับ เนื่องจากอาจจะเป็นอันตรายต่อสมองและทำให้เกิดภาวะปัญญาอ่อน (Mental retardation) ได้น่ะครับ

    สุดท้ายนี้แอดก็ขอขอบคุณรูปประกอบบทความจากลิงก์ต่างๆตามรายชื่อยี่ห้อด้วยนะครับ

    #หวานอย่างปลอดแคลอรี่
    #วันนี้เรื่องย้าวยาว 😅😅😅

  • ขัณฑสกร 在 คุณแม่ยังสวย Facebook 的最佳解答

    2013-11-30 16:41:12
    有 94 人按讚

    >> อาหารที่ไม่ควรกินระหว่างตั้งครรภ์ <<

    กาเฟอีน
    ของหมักดอง
    อาหารกระป๋อง
    เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
    ผงชูรส
    น้ำอัดลม
    อาหารไขมันสูง
    อาหารเพิ่มน้ำหนักแต่ไม่เพิ่มคุณค่า


    คุณแม่ตั้งครรภ์อาจจะนึกเปรี้ยวปากอยากกินนู่นกินนี่ก็ไม่ผิดหรอกที่จะกิน แต่ขอให้ระวังของต้องห้ามไว้บ้าง แม้จะไม่เป็นอันตรายกับคุณแม่ แต่ก็อาจจะส่งผลเสียทำร้ายทารกในครรภ์ได้

    อาหารที่ดีย่อมมีการปนเปื้อนน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ยุคนี้อาจจะต้องทำใจเพราะของที่ปนเปื้อนเยอะเหลือเกิน สำหรับคนทั่วไปแม้จะมีสารปนเปื้อนตกค้างในร่างกายบ้างก็คงไม่เป็นไร เพราะภูมิคุ้มกันในร่างกายยังทำงานได้ดี แต่สำหรับทารกในครรภ์ไม่สามารถคัดสิ่งที่เป็นสารพิษกับร่างกายได้ ได้แต่รับอย่างเดียว ความหวังจึงอยู่ที่คุณแม่อย่างเดียว


    >> กาเฟอีน
    มีสถิติจากการวิจัยออกมาว่าแม่ท้องที่ดื่มกาแฟวันละ 2-4 ถ้วย จะมีโอกาสแท้งลูกเป็น 2 เท่า ของผู้หญิงทั่วไป ซึ่งกาเฟอีนไม่ได้มีในเฉพาะกาแฟร้อนเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงโอเลี้ยง ชาดำเย็น และน้ำอัดลมบางชนิดด้วย

    สำหรับกาแฟ ถ้าดื่มมากเกินไปจะทำให้มีอาการใจสั่น นอนไม่หลับ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ต้องการการพักผ่อนมากขึ้น เพื่อความสมบูรณ์แข็งแรงของทารกกาแฟจึงเป็นสิ่งที่ควรงดหรือดื่มให้น้อยลงเท่าที่ทำได้

    ส่วนการดื่มน้ำชาแก่ๆ จะทำให้ท้องผูก คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรดื่มชาเพราะเวลาที่ตั้งครรภ์ระบบขับถ่ายอาจจะไม่ค่อยปกติ มีโอกาสที่จะท้องผูกได้ง่าย และเมื่อการขับถ่ายผิดปกติจะทำให้อึดอัด และทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวารตามมาได้

    นอกจากนี้ยังมีชาบางประเภทที่ยามท้องต้องห้าม เช่น ชาดอกคำฝอย เพราะมีฤทธิ์ทำให้มดลูกบีบตัว ซึ่งเป็นอันตรายต่อแม่ท้อง เพราะฉะนั้น ชาแต่ละประเภทก็ควรศึกษาถึงประโยชน์และโทษก่อนดื่มด้วย สำหรับคุณแม่ที่อยากดื่มน้ำหวานลองเปลี่ยนเป็นน้ำผลไม้ปั่นจะปลอดภัยกว่าเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนเยอะเลย



    >> ของหมักดอง
    ยามแพ้ท้องก็ต้องของที่เปรี้ยวจี๊ดอย่างมะยมดอง มะม่วงดอง ฯลฯ พูดแล้วน้ำลายจะไหล แต่ของดองเหล่านี้มีส่วนประกอบของเกลือและน้ำตาล หรือขัณฑสกรอยู่เป็นจำนวนมาก อาจส่งผลให้คุณแม่มีอาการบวมเพราะความเค็มที่มากขึ้น หลายครั้งที่ของหมักดองเหล่านี้ผ่านกรรมวิธีที่ไม่สะอาด เป็นเหตุให้ท้องเสีย เกิดอาการเพลียได้



    >> อาหารกระป๋อง
    เป็นอาหารสะดวกซื้อสำหรับคุณแม่ยุคใหม่ แต่อย่าลืมว่าอาหารกระป๋อง ไส้กรอก หมูแฮม แหนม ลูกชิ้น ฯลฯ ล้วนมีผงชูรส บอแรกซ์ โซเดียมไนเตรต โซเดียมฟอสเฟต โซเดียมซัคคาริน และโซเดียมตัวอื่นๆ เช่น ผงฟู

    หากราคาถูกเนื้อที่ใช้มักเป็นเกรดต่ำ และอาหารเหล่านี้มีคุณค่าด้อยกว่าอาหารสดด้วย แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ขอให้ซื้อแบบที่มีคุณภาพ กระป๋องไม่บวมไม่บุบ และไม่ใส่สีก็แล้วกัน



    >< เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
    ธรรมดายังว่าร้ายแล้ว หากคุณแม่เป็นนักดื่มตัวยง ทารกมีโอกาสที่จะคลอดออกมาแล้วน้ำหนักน้อย เติบโตช้า ศีรษะเล็ก และมีความบกพร่องทางสติปัญญา หรือที่เรียกว่า Fetal Alcohol Syndrome เนื่องจากแอลกอฮอล์ทำให้น้ำตาลกลูโคสและกรดอะมิโนผ่านทางรกได้น้อยลง รวมทั้งทำให้เส้นเลือดในสายสะดือตีบด้วย ทารกจึงได้รับสาอาหารต่างๆ และออกซิเจนไม่เพียงพอ เพราะฉะนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์จึงสมควรเลิกดื่มแอลกอฮอล์เป็นอย่างยิ่ง



    >> ผงชูรส
    ผงชูรสเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ ยังเป็นข้อสงสัยที่หลายคนให้ความสนใจใคร่หาคำตอบกันอยู่ ว่ากันตามกระบวนการผลิต นอกจากใช้มันสำปะหลังและกากน้ำตาลเป็นวัตถุดิบแล้ว ยังต้องผ่านกระบวนการทางเคมีหลายอย่าง ซึ่งในส่วนนี้ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ดังนั้น สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรงดบริโภคผงชูรสอย่างเด็ดขาด เพราะอาจเป็นตัวทำลายหรือมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของสมองทารกได้


    >> น้ำอัดลม
    ส่วนน้ำอัดลมประกอบไปด้วยน้ำและน้ำตาล บางชนิดมีคาเฟอีนเหมือนที่มีอยู่ในกาแฟ ให้ความสดชื่น กระปรี้กระเปร่า เพิ่มพลังงานจากน้ำตาล แต่ไม่มีคุณค่าทางสารอาหาร ถ้าดื่มมากๆ ก็มักจะทำให้อ้วน จึงควรหลีกเลี่ยงไปดื่มน้ำผลไม้จะมีประโยชน์มากกว่า



    >> อาหารไขมันสูง
    เป็นตัวร้ายอีกตัวที่ควรหลีกเลี่ยง เช่น อาหารทอดหรือผัดที่ใส่น้ำมันมาก ๆ เพราะความต้องการของร่างกายน้อยลง แล้วก็ย่อยยากด้วย กินมากมีแต่จะทำให้ท้องอืดเฟ้อ แน่นท้อง อึดอัด และเพิ่มน้ำหนักตัว โดยแปรไปเป็นไขมันจับอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย



    >> อาหารเพิ่มน้ำหนักแต่ไม่เพิ่มคุณค่า
    สารให้รสหวาน เช่น น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายแดง ขัณฑสกร หรือน้ำตาลเทียมชนิดต่างๆ
    ขนมหวาน เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ขนมชั้น มันเชื่อม ฯลฯ
    เครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลมแบะน้ำผลไม้กระป๋อง รวมไปถึงผลไม้กระป๋องเชื่อมต่างๆ ด้วย
    ขนมเค้ก ขนมปังที่มีแป้งเป็นส่วนประกอบหลัก
    ครีมเทียม
    ไอศกรีมรสหวานจัด
    เครื่องปรุงที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบสูง เช่น น้ำสลัด น้ำจิ้มที่มีรสหวานจัด เป็นต้น

    จาก : Momypedia : นิตยสารรักลูก : นิตยสาร ModernMom : หนังสือฉลาดรู้ดูแลครรภ์ : 40 สัปดาห์ พัฒนาครรภ์คุณภาพ โดย รศ.พญ.สายฝน-นพ.วิชัย ชวาลไพบูลย์ สำนักพิมพ์รักลูกบุ๊ค

    *** เนื้อหาบทความได้รับการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อความถูกต้องตามหลักวิชาการ บุคคลทั่วไปไม่สามารถแก้ไขหรือเพิ่มเติมเนื้อหาเองได้ การนำเนื้อหาไปปฏิบัติจริงเป็นดุลยพินิจและวิจารณญาณของแต่ละบุคคล

    ข้อมูล momypedia

你可能也想看看

搜尋相關網站