[爆卦]ขลาด หมายถึง是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇ขลาด หมายถึง鄉民發文沒有被收入到精華區:在ขลาด หมายถึง這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 ขลาด產品中有1篇Facebook貼文,粉絲數超過1萬的網紅sittikorn saksang,也在其Facebook貼文中提到, วันหยุดวันรัฐธรรมนูญ 10 ธันวา ผมหยิบหนังสือ ของ อาจารย์ภูภณัช รัตนชัย เรื่อง "นิติศาสตร์แนวพุทธ" แต่งโดย ศาสตราจารย์พิเศษพระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุ...

  • ขลาด 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文

    2013-12-10 16:43:49
    有 1 人按讚

    วันหยุดวันรัฐธรรมนูญ 10 ธันวา ผมหยิบหนังสือ ของ อาจารย์ภูภณัช รัตนชัย เรื่อง "นิติศาสตร์แนวพุทธ" แต่งโดย ศาสตราจารย์พิเศษพระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) (นามเดิม:ประยุทธ์ อารยางกูร) หรือที่รู้จักกันดีทั่วไปในนามปากกา "ป.อ. ปยุตฺโต" เกิดเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2481 ที่อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรตั้งแต่อายุ 12 ปี เมื่อ ปีพ.ศ. 2494 และเข้ามาจำพรรษาที่วัดพระพิเรนทร์ กรุงเทพมหานคร จนสอบได้นักธรรมเอก และเปรียญธรรม ๙ ประโยค ขณะยังเป็นสามเณร เป็นรูปที่สองในรัชกาลปัจจุบัน และเป็นรูปที่สี่ในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยได้รับการอุปสมบทโดยเป็นนาคหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ณ พัทธสีมาวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ) เป็นพระอุปัชฌาย์

    ในหนังสือเรื่องนี้ มีเรื่องที่น่าสนใจ เรื่องหนึ่งที่อ่านเทียบเคียงเพื่อเตือนสติของคนไทยได้ในเวลานี้ คือ
    "จะรักษาธรรมให้แก่สังคมได้ต้องรักษาดุลยภาพให้แก่ใจของตน ด้วยพรหมวิหาร 4"
    พรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตาและอุเบกขา ในส่วนนี้จะอธิบายเรื่องอุเบกขา หลักการแห่งควมจริงตามธรรมชาติ ความเป็นเหตุผลในสิ่งทั้งหลายหรือความเป็นเหตุปัจจัย การที่มนุษย์มีความสัมพันธ์กันดี ไม่พอที่จะทำให้สังคมอยู่ได้ แม้มนุษย์จะมีความสัมพันธ์กันดีใน 3 สถานการณ์ แต่ถ้าเขาไม่รักษาธรรมไว้สังคมก็อยู่ไม่ได้
    บนฐานแห่งหลักการความแท้จริงตามกฎธรรมชาตินั้น เมื่อมนุษย์เอาความรู้ในความจริงมาตั้งเป็นหลักการ เป็นกฎเกณฑ์กติกาในสังคมเราก็พลอยเรียก หลักชั้นสองที่มนุษย์บัญญัติขึ้น เรียกว่า "ธรรม"
    ฉนั้นอุเบกขาจึงเป็นข้อธรรมใหญ่ที่คุมท้าย เพราะเป็นตัวรักษาหลักการไว้ ถ้าไม่รักษาหลักการนี้สังคมนั้นจะสูญเสียดุลยภาพ
    สรุป "อุเบกขา" ที่เกิดจากปัญญา เป็นดุลภาพในจิตใจที่ช่วยให้เกิดผลภายนอก 3 ด้าน คือ
    1. "ช่วยรักษาบุคคล" ด้วยการสร้างโอกาสให้เขารู้จักรับผิดชอบต่อเหตุผลและความจริงของโลกและชีวิต เช่น คอยดูดูแลให้เด็กทำการต่างๆด้วยตนเองเพื่อช่วยให้เขาพัฒนาตนเองให้เข้มแข็ง คิดเป็นทำเป็น เป็นต้น
    2. "ช่วยรักษาสังคม" ด้วยการสนองเจตนารมณ์ของข้อตกลง(สมมติ) ที่วางไว้โดยปฏิบัติ เป็นต้น ทำให้เกิดความเสมอภาค เช่น การที่ทุกคนจะมีความเสมอภาคกันต่อหน้าหลักการกฎเกณฑ์กติกาและกฎหมาย เป็นต้น
    3. "ช่วยรักษาธรรม" ด้วยการทำให้มีการปฏิบัติตาม ไม่ถูกคนล่วงละเมิด ดำรงรักษาไว้ได้ซึ่งความถูกต้อง ความชอบธรรม ความดีงามหรืออย่างน้อยความสมเหตุสมผล (ซึ่งมักถือเอาความลงตัวโดยเหตุผลหรือการลงความเห็นตามเหตุผลและหลักฐาน ที่เรียกว่า "ความยุติธรรม" อันได้แก่ "ธรรม คือ ยุติ" หรือ "ธรรมโดยยุตติ")
    เมื่อตั้งอยู่ใน "อุเบกขา" ตัวของผู้ปฏิบัติก็พร้อมที่จะรักษาตนเองไว้ไม่ให้ล่วง "อคติ" คือ การออกนอกทางที่ควรจะไปหรือความประพฤตินอกทางแห่งธรรม ที่แปลง่ายๆว่าความว่าความลำเอียง 4 ประการ คือ
    (1) ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะ "รัก" หรือ เพราะชอบกัน
    (2) โทสาคติ ลำเอียเพราะ "ชัง" หรือ เพราะขัดเคือง
    (3) ภยาคติ ลำเอียงเพราะ "ขลาด" หรือ เพราะกลัว
    (4) โมหาคติ ละเอียงเพราะ "เขลา" หรือ เพราะหลงผิดรู้ไม่เท่าถึงการณ์
    นี้คือ ภาวะแห่งดุลยภาพในจิตใจของบุคคลที่ส่งผลออกมาทำให้รักษาดุลยภาพในสังคมไว้ได้
    (ซึ่งทุกวันนี้ปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ผมเห็นว่าคนไทยส่วนใหญ่มัก "ขาดดุลยภาวะแห่งดุลยภาพจิตในของบุคคล" ดังนั้น คนไทยควรจะหันเข้ามาศึกษาและปฏิบัติด้วย พรหมวิหาร 4 โดยเฉพาะ "อุเบกขา" ควรที่จะยึดมั่นบนพื้นฐานที่จะรักษาธรรมให้แก่สังคมได้ต้องรักษาดุลยภาพให้แก่ใจของตนเองและสังคมไทยนะครับ)

你可能也想看看

搜尋相關網站