雖然這篇การสร้างเขื่อน鄉民發文沒有被收入到精華區:在การสร้างเขื่อน這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章
在 การสร้างเขื่อน產品中有1篇Facebook貼文,粉絲數超過28萬的網紅KIM Property Live,也在其Facebook貼文中提到, วัฏจักรรอบใหญ่ของสหรัฐ ตอนที่ 1 : 1929 - 1945 ในบทที่ 5 ตอนที่ 1 ของซีรีย์ THE CHANGING WORLD ORDER เขียนโดยเรย์ ดาลิโอ ที่เป็นภาคต่อของบทที่แล้วที่เ...
การสร้างเขื่อน 在 paipartith Instagram 的精選貼文
2020-05-14 04:14:49
3 มีนาคม ของทุกปี วันสัตว์ป่าและพืชป่าโลก "World Wildlife Day" ต้องขอยืมภาพจาก Thai PBS มาบอกต่อ เพราะภาพนี้ช่างสื่อความหมายได้ดีเหลือเกิน นอกจากเหตุ...
การสร้างเขื่อน 在 KIM Property Live Facebook 的最佳解答
วัฏจักรรอบใหญ่ของสหรัฐ ตอนที่ 1 : 1929 - 1945
ในบทที่ 5 ตอนที่ 1 ของซีรีย์ THE CHANGING WORLD ORDER เขียนโดยเรย์ ดาลิโอ ที่เป็นภาคต่อของบทที่แล้วที่เล่าถึงประวัติศาสตร์เศรษฐกิจโลก 500 ปี ซึ่งหยุดไว้ที่ช่วงปลายยุคจักรวรรดิของสหราชอาณาจักร มาถึงบทนี้ที่ชื่อตอนว่า The Big Cycles of the United States and the Dollar Part 1 จะกล่าวถึงช่วง 1929 – 1945 ที่อยู่ในหน้าสำคัญของประวัติศาสตร์โลก เพราะมี 2 หายนะครั้งใหญ่เกิดขึ้นคือ
1. The Great Depression ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (1929-1933)
2. World War II สงครามโลกครั้งที่ 2 (1939-1945)
เรย์ได้เกริ่นก่อนว่าเขาไม่ใช่นักประวัติศาสตร์ แต่เขาเป็นนักลงทุน เพราะฉะนั้นงานวิจัยของเขาไม่ได้ทำเพื่อเสาะแสวงหารายละเอียดต่าง ๆ แต่มีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมโยงเหตุการณ์ต่าง ๆ ในอดีตอย่างมีเหตุมีผล เพื่อให้รู้ว่าปัจจุบันคุณยืนอยู่จุดไหนและจะเตรียมการรับมือสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างไร
สิ่งที่เรย์ต้องการสื่อในบทนี้คือ
1. การเมืองกับเศรษฐกิจเป็นเรื่องเดียวกัน ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและสงครามโลกที่เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เกิดจากการสั่งสมของปัจจัยต่าง ๆ ในอดีต
2. เรย์มองว่าสถานการณ์โลกที่เศรษฐกิจตกต่ำและมีความตึงเครียดทางการเมืองของหลายประเทศ (รวมถึงไทย) ในปัจจุบัน มีความคล้ายคลึงกันกับยุคนั้น ทำให้เรย์เขียนบทนี้ขึ้นเพื่อเอาไว้เปรียบเทียบกับความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐที่เกิดขึ้นในบทต่อไป
สาเหตุของ The Great Depression นั้นต้องย้อนไปช่วงหลังจบสงครามโลกครั้งที่ 1 คือประมาณปี 1920 ที่ประเทศใหญ่ ๆ มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างร้อนแรงผ่านกลไกของระบบทุนนิยมและธนาคารหรือเรียกง่าย ๆ ว่ากู้หนี้ นั่นทำให้วัฏจักรหนี้สินทำงานทันที แล้วฟองสบู่ก็แตกในปี 1929
ในตอนนั้นนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าวิธีการแก้วิกฤตที่ดีที่สุดคือการ “อยู่เฉย ๆ” ไม่ต้องทำอะไร รัฐไม่ต้องอัดฉีด ธนาคารกลางไม่ต้องพิมพ์เงิน ให้กลไกเสรีมันทำงานของมันเอง แต่ปัญหาคือกลไกเหล่านั้นมันทำงานช้าปีแล้วปีเล่าก็ไม่ฟื้นสักที จึงทำให้วิกฤตครั้งนั้นเกิดความขาดแคลน แร้นแค้น ยากลำบาก และมีผู้คนอดตายเป็นจำนวนมาก รวมถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำที่หนักขึ้นเรื่อย ๆ
สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความปั่นป่วนไปทั่วโลก เกิดความขัดแย้งขึ้นภายในประเทศและระหว่างประเทศ มีการประท้วง ปฏิวัติ หรือเปลี่ยนแปลงขั้วของผู้นำกันทั่วทุกมุมโลก โดยหลายคนอาจจะโฟกัสแค่ประเทศใหญ่ ๆ อย่างอังกฤษ อเมริกา เยอรมัน ญี่ปุ่น โซเวียต และจีนเท่านั้น แต่ไม่เลย สิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้นกันทุกประเทศ แม้แต่ไทยก็เป็นหนึ่งในนั้นเพราะถ้าคุณบวกลบคูณหารดูดี ๆ ก็จะพบว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 นั้นตรงกับปี 1932 ที่อยู่ในช่วงเวลานี้นี่เอง
ผู้นำคนใหม่ของแต่ละประเทศมีแนวโน้มที่จะมีแนวคิดสั่งการจากบนลงล่าง (เผด็จการ) มากขึ้นกว่าคนก่อน อยู่ที่ว่าจะเป็นเผด็จการแบบฝั่งขวา (ฟาสซิสต์) หรือเผด็จการแบบฝั่งซ้าย (คอมมิวนิสต์) เพื่อที่จะสามารถ
1. ควบคุมสถานการณ์ความขัดแย้งในประเทศ
2. มีอำนาจในการแทรกแซงกลไกตลาด
3. ก่อสงครามเพื่อยึดทรัพยากรจากประเทศอื่นได้
แฟรงคลิน ดี รูสเวลท์ ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐ ประกาศลดค่าเงินดอลลาร์ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ตลาด จึงทำให้เศรษฐกิจอเมริกาฟื้นกลับมาแข็งแกร่งได้อีกครั้ง
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ที่พึ่งรับตำแหน่งนายกของเยอรมันในปี 1933 ก็ใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างหนัก ทั้งการสร้างทางด่วนออโต้บาห์น การผลิตรถยนต์ Volkswagen การสร้างเขื่อน และการพัฒนาอาวุธ ที่ขัดกับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ในยุคนั้นว่ารัฐไม่ควรแทรกแซงกลไกตลาด แต่ผลลัพธ์ที่ได้นั้นก็ทำให้เศรษฐกิจของเยอรมันเติบโตอย่างมากและอัตราการว่างงานก็ลดจาก 25% เหลือ 0%!!! ใน 5 ปีเท่านั้น
แต่นอกจากการใช้นโยบายการเงินและการคลังแล้ว ยังมีอีกวิธีที่แก้ปัญหาความอดอยากได้รวดเร็วกว่านั้น คือ “บุกยึดทรัพยากรของประเทศอื่น” คือกว่าจะผลิตกว่าจะขาย มันช้าไม่ทันกาล ประชาชนอดตายก่อนพอดี ปล้นเอาเลยง่ายกว่า
นั่นทำให้หลาย ๆ ประเทศทุ่มงบประมาณไปกับการพัฒนาอาวุธเพื่อใช้ก่อสงคราม เช่น ญี่ปุ่นที่ใช้จังหวะนี้ที่ยุโรปกำลังอ่อนแอในการรุกรานประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย
สงครามโลกครั้งที่ 2 จึงก่อกำเนิดขึ้น ซึ่งเรย์ได้อธิบายว่าในเกือบทุกสงครามจะใช้เทคนิคด้านเศรษฐกิจคือ
1. ปิดกั้นการเคลื่อนย้ายสินทรัพย์
2. ปิดกั้นการเข้าถึงเงินทุน
3. ปิดกั้นทางการค้า
มันก็คือคำว่า "Deglobalization" ดี ๆ นี่เอง ทำให้แต่ละประเทศต้องพึ่งพาตัวเองและประเทศพันธมิตรในสงคราม เพราะฉะนั้นถ้าไม่แข็งแกร่งจริง ๆ คุณจะอ่อนแอลงเรื่อย ๆ
หากมองในมุมของการเมืองจะเห็นการต่อสู้กันระหว่างอุดมการณ์ชาตินิยมสองขั้ว แต่ถ้ามองในมุมเศรษฐกิจมันคือการแย่งชิงแหล่งทรัพยากรระหว่าง 2 กลุ่มอำนาจที่มีความสามารถในการรบพอ ๆ กัน
แต่ประเทศสหรัฐค่อนข้างได้เปรียบด้านเศรษฐกิจ เพราะมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีกว่าประเทศอื่น (เป็นประเทศเดียวที่ตลาดหุ้นไม่ปิดระหว่างสงคราม)
สุดท้ายสงครามจึงจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรและเป็นจุดเริ่มต้นของการเรืองอำนาจของสหรัฐอเมริกา เพราะในขณะที่ทุกประเทศเจ็บหนักจากสงคราม แต่สหรัฐได้รับประโยชน์จากสงครามครั้งนั้นอย่างมาก เนื่องจากมีรายได้มหาศาลจากการค้าอาวุธและการเน้นก่อสงครามนอกประเทศ ทำให้เกิดความเสียหายในประเทศน้อยมาก
กลับมาที่สถานการณ์ต่าง ๆ ในปัจจุบัน ที่เศรษฐกิจโลกกำลังย่ำแย่และมีความขัดแย้งเกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลก โดยเรย์บอกว่าถ้าลองไล่ไทม์ไลน์ของเรื่องราวต่าง ๆ แล้วมันมีหลายจุดที่คล้ายกัน ซึ่งเขาจะมาเจาะรายละเอียดกันในตอนถัดไป รอติดตามกันนะครับ
.
แอดปุง