[爆卦]การพัฒนาประเทศ是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇การพัฒนาประเทศ鄉民發文沒有被收入到精華區:在การพัฒนาประเทศ這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 การพัฒนาประเทศ產品中有2篇Facebook貼文,粉絲數超過105萬的網紅Roundfinger,也在其Facebook貼文中提到, เพลินสมองไปกับการตอบข้อสงสัยหลายข้อ และสนุกมากในช่วงอธิบายการเติบโตแบบจรวดของญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และสิงคโปร์ วกกลับมาถึงคำถามว่าทำไมเราจึงเป็นแบ...

 同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過19萬的網紅คุยการเงินกับที,也在其Youtube影片中提到,วางแผนพัฒนาประเทศต้องมองไกล ทุกคนอยากมีชีวิตที่ดีขึ้น รายได้ที่สูงขึ้น เราควรจะต้องมามองภาพระยะยาวว่าจะต้องทำอย่างไรให้ทุกคนมีความก้าวหน้าในชีวิตโดยไ...

การพัฒนาประเทศ 在 Khomkrit Duangsuwan Instagram 的最讚貼文

2020-05-11 01:15:48

“...การพัฒนาประเทศ จะบรรลุผลตามเป้าหมายได้มากน้อยเพียงใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยประกอบการหลายอย่าง อย่างแรก ต้องมีคนดี คือมีปัญญา มีความรับผิดชอบ มี...

  • การพัฒนาประเทศ 在 Roundfinger Facebook 的精選貼文

    2020-09-05 10:15:36
    有 1,332 人按讚

    เพลินสมองไปกับการตอบข้อสงสัยหลายข้อ และสนุกมากในช่วงอธิบายการเติบโตแบบจรวดของญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และสิงคโปร์ วกกลับมาถึงคำถามว่าทำไมเราจึงเป็นแบบสิงคโปร์ไม่ได้ อาจารย์วีระยุทธเขียนหนังสืออ่านง่าย กระชับ แต่ไม่ลดทอนความซับซ้อนของประเด็น

    ในโลกทุนนิยม ทุกประเทศล้วนผ่านขั้นตอนจาก 'ประเทศกำลังพัฒนา' ด้วยกันทั้งสิ้น บางประเทศเลื่อนฐานะไปสู่การเป็น 'ประเทศรายได้สูง' สำเร็จ แต่ก็ใช้เวลายาวนาน ออสเตรเลีย 119 ปี สหราชอาณาจักร 128 ปี สหรัฐฯ 93 ปี แต่พอมาถึงเอเชียตะวันออกอย่างญี่ปุ่นนั้นใช้เวลาแค่ 43 ปีเท่านั้น ฮ่องกง 33 ปี สิงคโปร์ 38 ปี ขณะที่เกาหลีใต้และไต้หวันใช้เวลาเพียง 26 ปีในการเลื่อนสถานะเป็นประเทศร่ำรวย (คำตอบคืออะไรลองอ่านได้ในเล่มครับ)

    ขอเขียนเล่าส่วนที่อาจารย์วีระยุทธอธิบายว่าทำไมไทยจึงเป็นอย่างสิงคโปร์ไม่ได้ เพราะชอบมีคนเปรียบเทียบประเทศเพื่อนบ้านขนาดจิ๋วนี้อยู่บ่อยๆ อาจเป็นเพราะพยายามหาความหวังจากการถูกปกครองด้วยระบอบการเมืองแบบ 'เผด็จการเต็มใบ' ซึ่งมีพรรคการเมืองเดียวปกครองยาวนาน มีนายกฯ แค่สามคนตั้งแต่ปี 1959 (สองในสามเป็นพ่อลูกกัน) ถึงจะรวยอันดับ 10 ของโลกแล้ว แต่ยังถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศ 'ไม่เสรี' อยู่ดี

    ผู้คนบางกลุ่มเมื่อหันไปมองสิงคโปร์ก็เหมือนได้ต้นแบบ 'ประเทศเผด็จการที่ร่ำรวย' ทำให้มีหวัง ว่าแต่--ทุกประเทศจะเป็นแบบสิงคโปร์ได้จริงหรือ?

    ...

    อ.วีระยุทธอธิบายปัจจัยสำคัญ 4 ประการที่ทำให้การเป็นสิงคโปร์ไม่ใช่เรื่องง่าย

    1. จุดเริ่มต้นที่ไร้ภาคเกษตร

    สิงคโปร์เริ่มต้นด้วยการมีสัดส่วนภาคเกษตรและประมงอยู่แค่ 3.6% ของจีดีพีในปี 1960 รัฐบาลมีเป้าหมายลดบทบาทภาคเกษตรลงจนปัจจุบันมีแรงงานในภาคเกษตรไม่ถึง 1% ต่างจากประเทศที่มีภาคเกษตรขนาดใหญ่ที่รัฐต้องซื้อใจชาวนาและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไปพร้อมๆ กับโยกย้ายทรัพยากรและแรงงานสู่ภาคอุตสาหกรรม

    2. การเปิดเสรีแบบมียุทธศาสตร์

    โดยจะเปิดเสรีการค้าการลงทุนแบบมีเงื่อนไขเสมอ รัฐบาลมีเป้าชัดว่าแต่ละช่วงต้องการส่งเสริมอุตสาหกรรมใดเป็นพิเศษ พร้อมสนับสนุนแรงงานให้มีความสามารถเฉพาะทาง แถมยังใช้รัฐวิสาหกิจอย่างมากเช่น Temasek, DBS Bank, SingTel, Singapore Airlines ทำให้ภาครัฐมีบทบาทถึงหนึ่งในสามของระบบเศรษฐกิจประเทศ สิงคโปร์จึงมิได้เปิดเสรีแบบไร้ขอบเขต

    3. การปรับตัวตามกระแสโลก

    พรรค PAP ครองอำนาจมายาวนาน มีจุดแข็งคือความยืดหยุ่น ปรับตัวเร็ว อย่างตอนเศรษฐกิจโตมากๆ ก็โหนกระแสเอาคุณค่าหลักของเอเชียมาคานกับกระแสเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศ พอเกิดวิกฤตเศรษฐกิจแล้วคำว่าเอเชียเริ่มส่อความหมายในทางทุนนิยมพวกพ้อง PAP ก็ปรับสโลแกนเป็น 'Singapore 21' เน้นความเฉพาะตัวและหลากหลายภายในของสิงคโปร์ การปรับตัวแบบนี้ต้องอาศัยความฉลาดและไม่แข็งทื่อ

    4. ร้อยรัดผลประโยชน์ระหว่างพรรค รัฐ และประชาชน

    กลุ่มต่างๆ ในสังคมต้องพึ่งพาพรรคอยู่มาก ข้าราชการที่ทำผลงานดีมักได้รับตำแหน่งสูงจากพรรค ประชาชนกว่า 80% อาศัยอยู่ในบ้านหรือที่ดินของรัฐ ที่น่าสนใจคือ เมื่อสังคมวิวัฒน์จนเกิดกลุ่มก้อนหรือประเด็นทางสังคมใหม่ๆ พรรค PAP มักเป็นฝ่ายรุกในการตอบสนองพลังเหล่านั้น เพื่อจะได้กำกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น มีการเปิดให้มี ส.ส. แบบแต่งตั้งในรัฐสภาเพื่อเป็นตัวแทน (ที่พรรคเลือกเอง) ของกลุ่มก้อนที่เริ่มมีพลังในสังคม เช่น กลุ่มชาติพันธุ์ ประเด็นสิทธิสตรี โดยไม่ต้องรอให้มีการเดินขบวนเรียกร้อง นอกจากนั้นยังเสนอผลประโยชน์ที่จับต้องได้ ทำให้กลุ่มต่างๆ ต้องหันมาพึ่งพาและสนับสนุนพรรค เช่นกัน, นี่คือความฉลาดและรับฟังเสียงความต้องการของประชาชน

    ความสำเร็จของพรรค PAP ในการสร้างสิงคโปร์จึงอยู่ที่การรักษาสมดุลระหว่างความกดขี่กับความชอบธรรม

    ...

    หันกลับมามองพี่ไทย อ.วีระยุทธเปรียบให้เห็นว่าไทยไม่เคยเจอแรงกดดันจาก 'ภัยคุกคาม' ให้ต้องเร่งพัฒนาอุตสาหกรรม ไม่มีแรงจูงใจรุนแรงให้ชนชั้นนำต้องปรับตัวและพัฒนาประเทศเพื่อความอยู่รอด (ทั้งของประเทศและตัวเอง)

    เกาหลีใต้มีเกาหลีเหนือ ไต้หวันมีจีน สิงคโปร์ก็ไม่มีทรัพยากรอะไรมากนัก เหล่านี้คือแรงกดดันให้ต้องพัฒนา

    เมื่อไทยไม่มีแรงกดดันใหญ่อย่างความมั่นคงระหว่างประเทศ แรงกดดันทางสังคมเพื่อผลักดันให้ 'ความอยู่รอดของผู้นำ' เป็นเรื่องเดียวกับ 'การพัฒนาประเทศ' จึงจำเป็น พูดง่ายๆ คือ ต้องส่งเสียงกดดันให้ผู้นำพัฒนาประเทศ หากทำได้ไม่ดีก็ไม่ควรเป็นผู้นำต่อไป เพราะมันคือเรื่องเดียวกัน ถ้าไม่มีแรงกดดันจากสังคมเลย ผู้นำอาจไหลตามน้ำไปกับ 'ทุนนิยมพวกพ้อง' หรือ 'ทุนนิยมช่วงชั้น'

    ...

    ปัญหาใหญ่ของทุนนิยมไทยคือ ขาดการแข่งขัน

    การแข่งขันสำคัญเพราะมันช่วยกระตุ้นให้ผู้ผลิตต้องพัฒนาสินค้าและประสิทธิภาพ ไปพร้อมกับเพิ่มอำนาจต่อรองให้ผู้บริโภคและลูกจ้าง

    ถ้ามีผู้แข่งน้อยราย บริษัทก็จะทำกำไรได้สูงเกินปกติ แถมยังมีแนวโน้มจ่ายค่าจ้างพนักงานต่ำและตั้งราคาสูงเกินจริงเสมอ -- โหดร้ายจริงหนอ นอกจากนั้นบริษัทที่ทำกำไรเกินปกติก็ไม่ค่อยนำเงินไปลงลงทุนต่อยอดพัฒนาธุรกิจหรือคิดค้นสินค้าและบริการที่ดีขึ้นด้วย ก็ในเมื่อไม่ต้องแข่งแล้วนี่ จะเปลืองทำไม

    อ.วีระยุทธบอกว่า เราต่างรู้กันดีว่าชีวิตคนไทยเราวนเวียนอยู่กับสินค้าและบริการแค่ไม่กี่ยี่ห้อ และในยี่ห้อน้อยนิดเหล่านี้ก็ขึ้นอยู่กับเครือบริษัทแค่ไม่กี่เครือ

    โครงการจากรัฐบาลที่ช่วยเหลือธุรกิจท้องถิ่นก็เป็นไปในรูปแบบ 'พี่ใหญ่ช่วยน้อง' คือให้ทุนใหญ่เป็นพี่เลี้ยงคอยดูแลธุรกิจชุมชน เกษตรรายใหญ่ดูแลชาวไร่ชาวนา เครือโรงแรมใหญ่ดูแลโรงแรมท้องถิ่น สิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นคือการลดการผูกขาด ส่งเสริมการแข่งขันที่เท่าเทียม

    การช่วยเหลือแบบพี่เลี้ยงนี้จะนำไปสู่ 'ทุนนิยมแบบช่วงชั้น' คือเศรษฐกิจถูกครอบงำโดยบรรษัทข้ามชาติขาหนึ่งและธุรกิจครอบครัวของเศรษฐีในประเทศอีกขาหนึ่ง

    ต่อให้มีการซื้อขายในตลาด แต่ด้วยอำนาจการต่อรองที่เอียงกระเท่เร่ ตลาดจึงกลายเป็นกลไกส่งเสริมความเหลื่อมล้ำเข้าไปอีก

    ...

    หากมองจากวิธีการเฉพาะตัวของสิงคโปร์ (ซึ่งมีส่วนที่ดีและไม่ดี) เทียบกับปัญหาทุนนิยมไทย เราอาจพอตอบได้ว่าเหตุใดจึงติดอยู่ที่กับดักประเทศรายได้ปานกลาง ไม่เขยิบฐานะเสียที

    1. รัฐบาลไม่ค่อยต้องเผชิญแรงกดดันทั้งจากภายนอกและภายใน ในระดับที่ต้องเร่งพัฒนาประเทศจริงจัง ไม่งั้นจะอยู่ไม่รอด (แต่ดูเหมือนจะกำลังเผชิญมากขึ้นเรื่อยๆ)

    2. โครงสร้างระบบเศรษฐกิจที่ทุนใหญ่ได้เปรียบมหาศาล แถมรัฐ+ทหาร+ทุนก็ใกล้ชิดสนิทสนม ซึ่งไม่ใช่บรรยากาศที่ดีนักของการแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพ

    3. เมื่อเกิดเสียงเรียกร้องจากกลุ่มต่างๆ ในสังคม รัฐเองก็ไม่ค่อยแยแส รับฟังเพื่อนำไปสร้างความร่วมมือร่วมกันให้เป็นพลังใหม่ๆ ผ่านนโยบายต่างๆ คนตัวเล็กตัวน้อยจึงตกอยู่ในสถานะผู้ถูกกระทำเนืองๆ ไม่ค่อยมีช่องทางในการเชื่อมประสานเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเศรษฐกิจการเมืองไปด้วยกัน ทั้งที่มีความคิดและพลังมหาศาล

    ทั้งหมดที่เขียนเล่ามาไม่ใช่ว่าชอบสิงคโปร์ แต่อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วคิดว่าอ.วีระยุทธแจกแจงเหตุผลต่างๆ เพื่อตอบคำถามคาใจได้โดยละเอียด จึงลองเขียนทดออกมาเพื่อทำความเข้าใจกับตัวเองหลังการอ่าน จึงขอแบ่งปันกันอ่านไปด้วยเลยครับ เผื่อเพื่อนพี่น้องจะมอบมุมมองและสติปัญญาเพิ่มเติมให้ด้วยอีกทาง

    หนังสือเล่มนี้อ่านสนุกมาก ตอบคำถามหลายเรื่อง เช่น รัฐสวัสดิการซึ่งมีหลายรูปแบบ การเติบโตที่แตกต่างของญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ลากไปถึงแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่มีประเด็นอย่างผู้สูงวัย สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี และความเป็นส่วนตัว แน่นอนว่าอ่านแล้วจะเห็นปัญหาเศรษฐกิจการเมืองไทยชัดขึ้น ทั้งสิ้นหวังและมีความหวังไปพร้อมๆ กัน

    เพจ The Curator น่าจะยังพอมีขายอยู่ ลองสอบถามดูได้ครับผม 😊

  • การพัฒนาประเทศ 在 Ing Shinawatra Facebook 的最讚貼文

    2019-03-15 23:33:27
    有 2,234 人按讚


    จากที่ผมเปิดให้ส่งคำถามในรายการ Good Monday มีคนสนใจสอบถาม มามากมายเลยครับ แบ่งคำถามได้กรอบใหญ่ๆ 5 เรื่องครับ การพัฒนาประเทศ การทำธุรกิจ การศึกษาในโลกยุคใหม่ การลงทุนในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน และการทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จในชีวิต

    แล้วก็จะมีการประกาศชื่อผู้โชคดีที่จะได้รับของที่ระลึกจากผมด้วยครับ สำหรับผู้ที่ส่งคำถามเข้ามา ขอตัวไปเตรียมตัวตอบคำถามที่ถามกันมานะครับ แล้วพบกันในวันจันทร์ที่จะถึงนี้ครับ

    #AskThaksin #ThaksinGoodMonday

你可能也想看看

搜尋相關網站