雖然這篇กลุ่มดาวหมีเล็ก鄉民發文沒有被收入到精華區:在กลุ่มดาวหมีเล็ก這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章
在 กลุ่มดาวหมีเล็ก產品中有2篇Facebook貼文,粉絲數超過4萬的網紅มติพล ตั้งมติธรรม,也在其Facebook貼文中提到, กลุ่มดาวหมีเล็ก กลุ่มดาวหมีเล็ก (Ursa Minor Constellation) นั้นประกอบขึ้นด้วยดาวสว่างเจ็ดดวงที่มีลักษณะใกล้เคียงกับดาวเจ็ดดวงที่เป็นส่วนของ "กระบวย...
กลุ่มดาวหมีเล็ก 在 มติพล ตั้งมติธรรม Facebook 的精選貼文
กลุ่มดาวหมีเล็ก
กลุ่มดาวหมีเล็ก (Ursa Minor Constellation) นั้นประกอบขึ้นด้วยดาวสว่างเจ็ดดวงที่มีลักษณะใกล้เคียงกับดาวเจ็ดดวงที่เป็นส่วนของ "กระบวย" ในกลุ่มดาวหมีใหญ่ เราจึงเรียกกลุ่มดาวนี้ว่ากลุ่มดาวหมีเล็ก
ดาวที่มีชื่อเสียง และสำคัญมากที่สุดในกลุ่มดาวหมีเล็ก ก็คือดาว "Polaris" หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของ "ดาวเหนือ" หลายคนมักจะเข้าใจผิดว่าดาวเหนือนั้นจะต้องเป็นดาวที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้า แต่นั่นไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด การที่ดาวจะเป็น "ดาวเหนือ" ได้นั้น เพียงแต่จะต้องอยู่ในตำแหน่งที่อยู่ใกล้ "ขั้วฟ้าเหนือ" เท่านั้นเอง
สาเหตุที่ "ดาวเหนือ" เป็นดาวเพียงดวงเดียวที่ไม่เลื่อนตำแหน่งไปไหนนั้น เนื่องมาจากตำแหน่งของมันที่อยู่ใกล้ขั้วฟ้าเหนือ เราทราบกันดีว่าดวงอาทิตย์นั้นขึ้นและตกไม่ได้มาจากการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ แต่เกิดขึ้นจากการหมุนของโลกเราเอง เช่นเดียวกันนั้น การหมุนของโลกของเราก็จะทำให้ดาวทุกดวงบน "ทรงกลมท้องฟ้า" หมุนไปรอบๆ แกนหมุนของโลกของเรา และดาวดวงที่บังเอิญอยู่ตรงจุดหมุนพอดี ก็จะเป็นดาวดวงเดียวที่ดูเหมือนไม่ได้หมุนไปไหน ไม่ต่างอะไรกับแกนกลางของลูกข่างที่ดูจะเป็นจุดเดียวที่หยุดอยู่กับที่
นั่นก็คือ หากเราเลือกที่จะเดินตามดาวสักดวง เช่น กลุ่มดาวนายพราน ในช่วงดาวเพิ่งขึ้นเราก็อาจจะเดินไปในทางทิศตะวันออก สักพักก็เยื้องไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ทิศใต้ ตะวันตกเฉียงใต้ และทิศตะวันตกก่อนที่กลุ่มดาวนายพรานจะตกลงไป ในลักษณะเดียวกับการขึ้นตกของดวงอาทิตย์ เนื่องจากการเคลื่อนที่ของวัตถุทั้งสองล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นเนื่องจากการหมุนของโลกทั้งสิ้น
ในความเป็นจริงแล้วดาว "Polaris" แค่ "บังเอิญ" มาอยู่ถูกที่ถูกเวลาเพียงเท่านั้น เนื่องจากตำแหน่งของขั้วฟ้าเหนือมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากการส่ายของแกนของโลก (Precession) การส่ายนี้ทำให้ตำแหน่งของขั้วฟ้าเหนือเกิดการส่ายเป็นวงกลมที่ใช้เวลา 26,000 ปีต่อหนึ่งรอบ และในสมัยกรีกโบราณนั้นไม่ได้มีดาวสว่างดวงใดที่อยู่ใกล้เคียงกับตำแหน่งขั้วฟ้าเหนือ สำหรับมนุษย์ยุคปัจจุบันนั้นบังเอิญว่าอาศัยอยู่ในช่วงที่แกนของโลกชี้ไปยังตำแหน่งที่ใกล้เคียงกับดาว Polaris เท่านั้นเอง เราจึงเรียกดาว Polaris ว่าเป็น "ดาวเหนือ" ด้วยความบังเอิญที่ว่าดาว Polaris นี้เป็นดาวที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวหมีเล็ก ทำให้เราสามารถสังเกตเห็นดาวเหนือได้ไม่ยากนัก
แม้กระนั้นก็ตาม แท้จริงแล้วดาว Polaris ไม่ได้อยู่ตำแหน่งตรงกับขั้วฟ้าเหนือเสียทีเดียว แต่อยู่เยื้องออกไปประมาณ 45 ลิปดา นั่นทำให้ความเป็นจริงแล้วดาว Polaris จะส่ายเป็นวงกลมขนาดเล็กอยู่รอบๆ ขั้วฟ้าเหนือเล็กน้อย แต่ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคกับการหาทิศทางแต่อย่างใด และดาวเหนือก็จะชี้ไปยังทิศเหนือเสมอ
สำหรับผู้สังเกตที่อยู่ในซีกโลกใต้นั้น ดาวเหนือจะไม่ปรากฏขึ้นมาพ้นขอบฟ้า ทำให้ไม่สามารถใช้ดาวเหนือในการหาทิศทางได้ อย่างไรก็ตามในซีกฟ้าใต้นั้นไม่ได้มีดาวสว่างดวงใดที่อยู่ใกล้เคียงกับตำแหน่งขั้วฟ้าใต้ เราจึงไม่มี "ดาวใต้" ที่่สามารถใช้บอกทิศใต้ได้ในลักษณะเช่นเดียวกับดาวเหนือ
กลุ่มดาวหมีเล็ก 在 มติพล ตั้งมติธรรม Facebook 的最佳貼文
กลุ่มดาวหมีใหญ่
อีกกลุ่มดาวหนึ่งที่เป็นกลุ่มดาวที่น่าจะมีคนรู้จักกันมากที่สุด ก็คือกลุ่มดาวหมีใหญ่ หรือที่ตำนานดาวไทยพื้นบ้านเรียกกันว่า "กลุ่มดาวจระเข้" ถึงแม้ว่ากลุ่มดาวหมีใหญ่จะเป็นกลุ่มดาวที่คนรู้จักดี แต่ส่วนมากเราจะสังเกตได้ง่ายๆ เพียงดาวแค่ 7 ดวงในกลุ่มดาวเพียงเท่านั้น ที่เรียงตัวในรูปของ "กระบวย" ในทางดาราศาสตร์เราเรียกดาวที่อยู่เรียงกันแต่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกลุ่มดาว เช่นกระบวยนี้ว่า "ดาวเรียงเด่น" (asterism)
กลุ่มดาวหมีใหญ่ก็เป็นอีกกลุ่มดาวหนึ่งที่สามารถใช้ชี้ตำแหน่งไปยังดาวเหนือได้ โดยวิธีการชี้นั้นก็ง่ายนิดเดียว เพียงการเชื่อมดาวสองดวงที่อยู่ตรงปลาย "กระบวย" ก็จะชี้ไปยังดาวสว่างดวงหนึ่ง (ไม่อยู่ในภาพ) ซึ่งอยู่ตรงขั้วฟ้าเหนือ จึงเรียกว่าดาวเหนือ และสามารถใช้ระบุทิศเหนือได้เสมอ
ในตำนานกรีกนั้น กลุ่มดาวหมีใหญ่มาจากหญิงสาวคนหนึ่ง ชื่อว่าคาลิสโต (Callisto) ซึ่งเทพซุส (Zeus) มาหลงใหล เมื่อเฮรา (Hera) ภรรยาของซุสรู้เข้า จึงสาปนางคาลิสโตให้กลายเป็นหมี ต่อมาเมื่ออาร์คัส (Arcas) ลูกชายของคาลิสโตได้โตขึ้นและออกไปล่าสัตว์ ได้บังเอิญเจอกับแม่ของตนที่กลายเป็นหมี ด้วยความที่ไม่รู้ว่าหมีนั้นเป็นแม่ของตน อาร์คัสจึงได้พยายามสังหารหมีตัวนั้น เทพซุสเกือบช่วยเอาไว้ไม่ทัน จึงได้แต่แปลงให้ทั้งสองเป็นหมี และจับขึ้นไปไว้บนท้องฟ้า กลายเป็นกลุ่มดาวหมีใหญ่ (Ursa Major) และกลุ่มดาวหมีเล็ก (Ursa Minor)
ในสมัยกรีกนั้น ไม่ได้มีดาวสว่างอยู่ใกล้ขั้วฟ้าเหนือเช่นทุกวันนี้ และขั้วฟ้าเหนือนั้นอยู่ระหว่างกลุ่มดาวหมีใหญ่และกลุ่มดาวหมีเล็ก ด้วยเหตุนี้ตำนานกรีกจึงเล่าว่าหมีแม่ลูกทั้งสองจะวนเวียนหากันไปเรื่อยๆ แม้บนสรวงสวรรค์ แต่ในปัจจุบันนี้ การส่ายของแกนของโลกทำให้ขั้วฟ้าเหนือมาตรงกับดาว Polaris ที่อยู่ตรงหางของกลุ่มดาวหมีเล็กพอดี เราจึงสังเกตเห็นกลุ่มดาวหมีใหญ่วนไปรอบๆ กลุ่มดาวหมีเล็ก
ดาวที่น่าสนใจดวงหนึ่งในกลุ่มดาวหมีใหญ่ ก็คือดาวที่อยู่ตรงกึ่งกลางของ "ด้ามจับ" ของ "กระบวย" เป็นดาวคู่ มีชื่อว่า Mizar กับ Alcor คนทั่วๆ ไปจะสามารถสังเกตเห็นดาว Mizar ได้ไม่ยาก แต่คนที่สายตาปรกติเท่านั้น ที่จะสามารถสังเกตเห็นดาว Alcor ที่เล็กกว่าแยกออกจาก Mizar ได้ ในสมัยยุคกลางจึงใช้ดาวคู่นี้เป็นการทดสอบสายตาของทหารในตะวันออกกลาง ในความเป็นจริงแล้วดาว Mizar กับ Alcor นั้นอยู่ห่างกันประมาณ 0.5-1.5 ปีแสง และเคลื่อนที่ไปพร้อมกัน และทั้ง Mizar กับ Alcor แท้จริงแล้วต่างก็ประกอบขึ้นจากดาวหลายดวงที่ใกล้กันเกินกว่าจะสังเกตแยกกันได้ Mizar ประกอบขึ้นจากระบบดาว 4 ดวงในขณะที่ Alcor ประกอบขึ้นด้วยดาวคู่
กลุ่มดาวหมีใหญ่นั้นอยู่ในตำแหน่งที่ค่อนข้างห่างจากจานของดาราจักรทางช้างเผือก ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่ค่อยสังเกตเห็นกระจุกดาว หรือเนบิวลาในกลุ่มดาวหมีใหญ่มากนัก และด้วยความที่ไม่ได้มีแถบฝุ่นมาบดบัง ทำให้เราสามารถสังเกตเห็นกาแล็กซีได้หลายกาแล็กซีในกลุ่มดาวนี้ เช่น M81 M82 M101 M108 M109 NGC 2787 NGC 3079 ล้วนแล้วแต่เป็นกาแล็กซีที่สามารถสังเกตได้ไม่ยากด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก
ในภาพนี้จะเป็นการจัดเรียงรูปภาพในลักษณะที่หมี "หงายท้องขึ้น" อยู่ เนื่องจากลักษณะดังกล่าวจะเป็นลักษณะที่สังเกตเห็นได้บ่อยในประเทศไทย