[爆卦]กระดูกแขน是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇กระดูกแขน鄉民發文沒有被收入到精華區:在กระดูกแขน這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 กระดูกแขน產品中有1篇Facebook貼文,粉絲數超過62萬的網紅คุณแม่ยังสวย,也在其Facebook貼文中提到, ข้อห้ามสำหรับคุณแม่ หลาก หลายข้อห้ามนี้ก็เพื่อรักษาให้สุขภาพร่างกายคุณแม่กลับมาแข็งแรงโดยเร็ว ยิ่งอยู่ในช่วงให้นมลูกแม่ต้องระวังรักษาสุขภาพมากเป็นพิเ...

  • กระดูกแขน 在 คุณแม่ยังสวย Facebook 的最佳貼文

    2013-12-14 10:27:04
    有 138 人按讚

    ข้อห้ามสำหรับคุณแม่

    หลาก หลายข้อห้ามนี้ก็เพื่อรักษาให้สุขภาพร่างกายคุณแม่กลับมาแข็งแรงโดยเร็ว ยิ่งอยู่ในช่วงให้นมลูกแม่ต้องระวังรักษาสุขภาพมากเป็นพิเศษเพราะสิ่งที่แม่ กินจะถ่ายทอดผ่านทางน้ำนมแม่ไปถึงลูกด้วย

    1.ห้ามเครียด (เกินเหตุ)

    นอกจาก จะทำให้น้ำนมน้อยแล้ว ความเครียดส่งผลกระทบต่ออารมณ์และจิตใจ ซึ่งลูกซึมซับและสัมผัสได้จากแม่โดยตรง โดยเฉพาะช่วงหลังคลอดคุณแม่อาจจะเกิดอาการซึมเศร้าหลังคลอดได้ (หากเป็นนานกว่า 4 สัปดาห์ควรพบคุณหมอค่ะ)

    คำแนะนำ :

    ทาง ที่ดีคุณแม่ควรจะหาผู้ช่วยมาแบ่งเบาภาระต่างๆ เช่น งานบ้าน การดูแลลูกคนโต ฯลฯ เพื่อที่แม่จะได้มีเวลาพักผ่อนและอยู่กับตัวเอง ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายทำให้ไม่เครียดจนเกินไปด้วยค่ะ


    2.ห้ามกินของแสลง

    งด กินอาหารประเภทหมักดอง อาหารค้างคืน อาหารที่มีสารปรุงแต่ง เพราะอาจจะทำให้ท้องเสีย เสาะท้อง หรือท้องอืดได้ง่าย ส่วนยาหรือสมุนไพรที่อวดอ้างว่ามีสรรพคุณช่วยเพิ่มน้ำนมหรือเร่งให้มดลูก เข้าอู่เร็วไม่ควรกิน เพราะอาจจะมีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์ ยิ่งอยู่ในช่วงให้นมสิ่งที่แม่กินเข้าไปก็จะถ่ายทอดไปยังลูกด้วยค่ะ

    คำแนะนำ :

    เลือกกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นผักและผลไม้ รวมถึงดื่มน้ำสะอาดเป็นประจำ

    3.ห้ามออกกำลังกาย (หนัก)

    การ ออกกำลังกายที่หนักหน่วงรุนแรง โดยเฉพาะบริเวณหน้าท้องอาจจะส่งผลกระทบต่อมดลูก ช่องคลอดและฝีเย็บ นอกจากนั้นการขยับเขยื้อนร่างกายอย่างรุนแรงและบ่อยครั้งในช่วงนี้จะทำให้ มดลูกต่ำ

    คำแนะนำ :

    หาก ต้องการออกกำลังกายควรทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป และเลืคลอดคลอดไปแล้ว ประมาณ 2-3 วัน ส่วนคุณแม่ผ่าคลอดคงต้องรอจนครบ 1 เดือนหรือให้แผลผ่าตัดสมานกันสนิทแล้วจึงเริ่มออกกำลังกายได้ค่ะ

    4. ห้ามยกของหนัก

    อย่า เพิ่งโชว์พลังยกของหนักเลยค่ะ เพราะการออกแรงยกของหนักจะต้องเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้อง ซึ่งอาจจะกระทบกระเทือนกับแผลผ่าคลอดหรือมดลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณแม่ผ่าคลอดยิ่งต้องระวังให้มากเพราะแผลผ่าคลอดอาจจะ ปริ ฉีดขาดได้ค่ะ

    คำแนะนำ :

    ปกติแล้วหลังคลอด 1 เดือน ทั้งแผลผ่าคลอดและมดลูกจึงจะกลับมาเข้าที่และแข็งแรงขึ้น ดังนั้นช่วงนี้งานหนักหรือเรื่องยกของต่างๆ ต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อไป คุณแม่เลี้ยงลูกให้นมแม่ก็พอแล้วค่ะ

    5.ห้ามมีเซ็กซ์

    การ มีเซ็กซ์หลังคลอดในช่วงที่ฝีเย็บยังไม่แห้งสนิทและน้ำคาวปลายังไหลอยู่ นอกจากจะไม่น่าอภิรมย์แล้ว ขณะร่วมเพศอาจจะเจ็บ แผลฉีกขาด เกิดการติดเชื้อได้ด้วย ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพคุณแม่อย่างแน่นอน

    คำแนะนำ :

    ให้คุณพ่ออดใจรอหลังคลอดอย่างน้อย 6 สัปดาห์ เรียกว่าเป็นการรอให้ร่างกายกลับเข้าสู่สภาพปกติ แล้วยังถือเป็นการคุมกำเนิดอย่างธรรมชาติที่สุด เพราะคุณแม่บางคนหลังคลอด 4-5 สัปดาห์ก็เริ่มมีไข่ตกแล้ว หากตั้งครรภ์ช่วงนี้จะไม่ดีต่อสุขภาพแม่ค่ะ เพราะจะทำให้ร่างกายไม่ได้พักผ่อน

    6.ห้ามดื่มแอลกอฮอล์

    หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะนอกจากแอลกอฮอล์จะส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูงแล้ว หากอยู่ในช่วงให้นมลูกอยู่แอลกอฮอล์ยังปนออกมากับน้ำนมแม่ นอกจากนั้นการดื่มแอลกอฮอล์ 1 แก้วจะทำให้ปริมาณน้ำนมลดลงถึง 23 % และการดื่มมากกว่า 2 แก้ว อาจจะยับยั้งปฏิกิริยาน้ำนมพุ่งด้วย นอกจากนั้นยังมีงานวิจัยพบว่าการดื่มเป็นประจำทุกวันจะมีผลทำให้ลูกน้ำหนัก ขึ้นช้าและกล้ามเนื้อมัดใหญ่พัฒนาช้าลงด้วยนะคะ

    คำแนะนำ :

    ดื่มน้ำสะอาด นมและน้ำผลไม้ จะช่วยสร้างความสดชื่นและมีประโยชน์กับสุขภาพมากกว่าเครื่องดื่มที่ทำให้มึนเมาทุกชนิดค่ะ

    7.ห้ามใช้ยา

    งด ใช้ยากลุ่มรักษาสิว ยาปฏิชีวนะ ยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ ยากระตุ้นฮอร์โมน หรือยารักษาโรคประจำตัว ฯลฯ รวมไปถึงยาที่อยู่ในกลุ่มสารเสพติด เช่น ยานอนหลับ ยาแก้ปวด ชนิดต่างๆ เพราะจะถ่ายทอดไปถึงลูกผ่านทางน้ำนมค่ะ

    คำแนะนำ :

    หากคุณแม่จำเป็นต้องกินยาควรปรึกษาคุณหมอก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดกับลูกและตัวคุณแม่เองค่ะ

    ข้อห้ามสำหรับเบบี๋

    เบบี๋น้อยแรกคลอดยังบอบบางมาก คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยใส่ใจดูแลในทุกเรื่องเพื่อความปลอดภัย จึงมีข้อห้ามดังต่อไปนี้ค่ะ

    1.ห้ามออกนอกบ้าน

    ลูก น้อยวัยละอ่อนภูมิคุ้มกันในร่างกายยังทำงานไม่สมบูรณ์เต็มที่ ทั้งยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ การพาเด็กไปอยู่ในสถานที่ที่เต็มไปด้วยฝุ่นละออง มลพิษ เชื้อโรคหรือฝุ่นละออง ฯลฯ ก็จะทำให้เสี่ยงที่ร่างกายจะรับเชื้อโรคและเจ็บป่วยได้ง่าย

    คำแนะนำ :

    สำหรับ เด็กแรกคลอดบ้านยังเป็นวิมานค่ะ ควรให้อยู่ในบ้านก่อนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงก่อนออกไปผจญกับโลก ภายนอก และให้อยู่ในสถานที่ปลอดภัยด้วยนะคะ

    2.ห้ามกินของอื่น (นอกจากนม)

    เด็ก แรกคลอดอาหารหลักชนิดเดียวคือน้ำนมแม่ เพราะกระเพาะอาหารและลำไส้ลูกยังไม่พร้อมที่จะรับอาหารชนิดอื่น เมื่อกินเข้าไปอาจจะทำให้ท้องเสียและเกิดป่วยได้

    คำแนะนำ :

    อาหาร ตามคำโบราณอย่าง .......... ที่คุณย่าคุณยายตั้งใจให้กินช่วงนี้ คุณแม่ควรเลี่ยงไปด้วยท่าทีที่ประนีประนอม ส่วนอาหารเสริมเริ่มให้กินได้เมื่ออายุครบ 6 เดือนที่ระบบย่อยของลูกงพร้อมแล้วค่ะ

    3.ถ้าไม่ใช่ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก...ห้ามใช้

    ผิวหนัง ลูกแรกคลอดบางใสเหมือนปีกแมงปอจนสามารถมองเห็นเส้นเลือดข้างใน แถมบนผิวก็ยังไม่มีแบคทีเรียที่ช่วยป้องกันเชื้อโรคภายนอกได้เหมือนผู้ใหญ่ ผิวลูกช่วงนี้จึงบอบบางมีโอกาสแพ้ง่ายทั้งยังเกิดแผลถลอกได้มากกว่าปกติด้วย ค่ะ

    คำแนะนำ :

    นอกจาก จะต้องสัมผัสและอุ้มลูกอย่างระมัดระวังแล้ว การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กจำเป็นค่ะ เพื่อป้องกันการระคายผิว ทั้งนี้การใช้น้ำยาซักล้าง ทำความสะอาดอุปกรณ์ของใช้ ควรเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กที่ไม่มีสารตกค้างด้วยนะคะ

    4.ท่านอนและนั่งต้องระวัง…. ประคองคอเวลาอุ้ม

    กระดูก หรือข้อต่อของลูกแรกคลอดยังไม่แข็งแรง เรียกว่าเปราะบางและมีโอกาสบิดงอได้ง่าย ทั้งยังไม่สามารถทนต่อการรับแรงกระแทก กด ทับ ดึง หรือยื้อ ได้ โดยเฉพาะส่วนที่แตกหักบ่อยที่สุดคือ กระดูกแขน ขา มือ เท้าและไหปลาร้า

    คำแนะนำ :

    การอุ้มหรือเล่นกับลูกต้องระมัดระวังช่วงข้อต่อและคอเป็นพิเศษ ส่วน ท่านอนสำหรับเด็กแรกคลอดนั้นควรให้นอนหงายโดยให้ลำตัว แขนและขาปล่อยสบายๆ ไม่ให้ส่วนใดทับหรือบิดงอ แล้วที่กังวลว่าศีรษะจะแบนนั้น ก็ยังไม่น่ากังวลเท่ากับความปลอดภัยของลูกนะคะ

    5. ห้ามกดกระหม่อม ---- ไม่จับเขย่า โยน โยกอย่างรุนแรง!!

    สมอง ของลูกวัยขวบปีแรกยังพัฒนาไม่เต็มที่ค่ะทั้งเส้นเลือดก็มีโอกาสฉีกขาดได้ ง่าย น้ำในช่องสมองมากกว่าเนื้อสมอง การได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง เช่น ถูกเขย่า ถูกโยก อาจจะทำให้เกิดภาวะ Shaken Baby Syndrom (SBS) คืออาการที่เนื้อสมองไปกระทบกับกะโหลกศีรษะจนมีเลือดออกในสมอง ซึ่งอาการนี้ส่งผลต่อพัฒนาการการเจริญเติบโต

    คำแนะนำ :

    ท่าพิสดารในการเล่นกับลูก ทั้งจับลูกโยนกลางอากาศหรือจับลูกเขย่าอย่างรุนแรง ห้ามทำเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เกิดอาการ SBS ซึ่งบางครั้งจะไม่สามารถสังเกตเห็นได้จากภายนอก คุณแม่จึงควรเลี่ยงสาเหตุที่จะก่อนให้เกิดภาวะนี้ที่มีความเสี่ยงนี้นะคะ

    หลากหลายข้อห้ามมีไว้เพื่อสุขภาพที่ดีของแม่และลูกน้อยหลังคลอดนั่นเอง เพียงดูแลให้ดีก็ไร้ปัญหามารบกวนแล้วล่ะค่ะ

    ที่มา ModernMom

你可能也想看看

搜尋相關網站