[爆卦]กฎหมายน่ารู้ 50 ข้อ是什麼?優點缺點精華區懶人包

雖然這篇กฎหมายน่ารู้ 50 ข้อ鄉民發文沒有被收入到精華區:在กฎหมายน่ารู้ 50 ข้อ這個話題中,我們另外找到其它相關的精選爆讚文章

在 กฎหมายน่ารู้產品中有8篇Facebook貼文,粉絲數超過275萬的網紅Drama-addict,也在其Facebook貼文中提到, แอดมินเพจสำนักงานกิจการยุติธรรมฝากแชร์ข้อกฏหมายประเด็นนี้มาครรับ เห็นว่าช่วงนี้ข่าวแนวนี้เยอะ ประชาชนน่าจะสนใจข้อกฏหมายที่เกี่ยวข้อง เชิญอ่าน กฎหมา...

  • กฎหมายน่ารู้ 在 Drama-addict Facebook 的精選貼文

    2020-09-03 15:54:05
    有 697 人按讚


    แอดมินเพจสำนักงานกิจการยุติธรรมฝากแชร์ข้อกฏหมายประเด็นนี้มาครรับ
    เห็นว่าช่วงนี้ข่าวแนวนี้เยอะ ประชาชนน่าจะสนใจข้อกฏหมายที่เกี่ยวข้อง เชิญอ่าน

    กฎหมายน่ารู้ 62 : หย่า...เลือกเอง โปรดอย่ามองฉันผิด ขอใช้สิทธิรักษาหัวใจ

    ปัญหาสามีภรรยาทะเลาะกันอาจฟังดูเป็นเรื่องยุ่งยาก แต่หากจัดการได้ ความสัมพันธ์ในชีวิตคู่จะมั่นคง แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ดังนั้น วิธีที่จะประคองชีวิตคู่ของคุณไม่ให้จบลงด้วยการหย่าร้างหรือแยกทาง ควรเริ่มจากคุณทั้งคู่เองก่อน คุณควรตกลงกันแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ เคลียร์ปัญหาที่ขัดแย้งกันจากสาเหตุของปัญหาเหล่านั้น

    แน่นอนว่าหากความขัดแย้งอาจจะต้องจบด้วยการหย่าร้างแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอมหรือด้วยเหตุอื่นๆ ดังนั้น ถ้าหากตกลงด้วยการพูดคุยไม่ได้ ก็ลองมาดูทางออกเรื่องการหย่าในทางกฎหมายกันบ้าง โดยคู่สมรสฟ้องหย่าได้ที่ ศาลเยาวชนและครอบครัวตามภูมิลำเนาที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน หรือที่เกิดเหตุแห่งการหย่า

    การหย่าตามกฎหมาย ทำได้ 2 แบบ คือ.....
    1️⃣ การหย่าโดยความยินยอมของทั้ง 2 ฝ่าย เป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อและมีพยาน โดยนำหนังสือหย่าไปจดทะเบียนหย่า ที่สำนักทะเบียน สำนักงานเขต/อำเภอ พร้อมพยาน เพราะกฎหมายกำหนดว่าเมื่อได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย การหย่า โดยความยินยอมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อสามีและภริยาได้จดทะเบียนการหย่ากันแล้ว (ปพพ. มาตรา 1515)

    2️⃣ การฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้หย่า ในกรณีที่ตกลงกันไม่ได้ เราก็ต้องอาศัยกระบวนการยุติธรรมให้เข้ามาช่วยเหลือ โดยสามารถติดต่อทนายความหรือปรึกษากฎหมาย ฟรี!! สายด่วนยุติธรรม 1111 กด 77 เพื่อขอคำแนะนำ

    #แต่งงาน #ทะเบียนสมรส #คู่ชีวิต #ปัญหา #หย่า #กฎหมายน่ารู้ #สำนักงานกิจการยุติธรรม #กระทรวงยุติธรรม #ชื่นใจคนไทยรู้กฎหมาย

    ที่มา : ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1501-1535

  • กฎหมายน่ารู้ 在 Drama-addict Facebook 的最佳解答

    2020-08-04 13:44:14
    有 443 人按讚


    แอดมินเพจสำนักงานกิจการยุติธรรมฝากมา ช่วงนี้มีประเด็นเรื่องผู้เยาว์กับสัญญา บลุาๆ เขาเลยอยากให้อ่านว่าผู้เยาว์จะทำสัญญาได้ยังไง ทำได้แค่ไหน ลองอ่านจ้า

    "เด็ก" ทำสัญญาซื้อขาย, สัญญากู้เงิน, สัญญาจ้างแรงงาน หรือพินัยกรรมสัญญาหรือนิติกรรมได้มั้ย ?

    ตามกฎหมายแล้วเด็กที่อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ถือว่าเป็นผู้เยาว์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของพ่อแม่ซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมตามกฎหมาย แล้วแบบนี้ถ้าทำสัญญาหรือนิติกรรม จะมีผลอย่างไร ?

    กฎหมายน่ารู้ 79 : ผู้เยาว์ (เด็ก) ทำนิติกรรม-สัญญาได้แค่ไหน?

    นิติกรรม คือ การกระทำของบุคคล โดยชอบด้วยกฎหมายและสมัครใจผูกสัมพันธ์ ระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ/เปลี่ยนแปลง/โอน/สงวน/ระงับสิทธิ และมุ่งต่อผลในกฎหมาย เช่น สัญญาซื้อขาย, สัญญากู้เงิน, สัญญาจ้างแรงงาน สัญญาให้ และพินัยกรรม เป็นต้น

    Q : อายุเท่าไหร่ทำนิติกรรม-สัญญาได้
    A : ผู้เยาว์ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว
    (1) อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
    (2) อายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ สมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย (จดทะเบียนสมรส) และพอแม่/ผู้ปกครองทั้ง 2 ฝ่ายยินยอม
    (3) อายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ ศาลอนุญาตให้สมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะมีเหตุสมควร/จำเป็น (ตั้งครรภ์)

    A : ผู้เยาว์ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะทำนิติกรรม-สัญญาด้วยตนเองลำพังไม่ได้ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม (พ่อ/แม่/ผู้ปกครอง)
    (1) เป็นหนังสือ
    (2) วาจา
    (3) ปริยาย เช่น รับรู้/ไม่ทวงติ่ง-ว่ากล่าว/ให้คำปรึกษา/ลงชื่อเป็นพยานในสัญญา/ช่วยติดต่อเป็นธุระให้

    A : ถ้าไม่ได้รับความยินยอม นิติกรรม-สัญญาจะตกเป็น “โมฆียะ”
    (1) มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายจนกว่าจะถูกบอกเลิกสัญญา
    (2) ผู้แทนโดยชอบธรรมบอกเลิกนิติกรรม-สัญญาได้
    (3) ผู้แทนโดยชอบธรรมยืนยันการทำนิติกรรม-สัญญาได้

    Q : นิติกรรม-สัญญาแบบไหน ? ที่ผู้เยาว์ทำด้วยตนเองได้

    A : (1) กิจการที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียวไม่มีทางเสียหาย (เช่น ผู้เยาว์รับทรัพย์สินที่บุคคลอื่นให้โดยเสน่หาโดยไม่มีค่าตอบแทน)
    (2) กิจการที่จะต้องทำเองเฉพาะตัว (เช่น การรับรองเด็กเป็นลูก หรือเข้าสู่พิธีสมรส)
    (3) กิจการที่สมควรแก่ฐานานุรูป (ฐานะ) จำเป็นเพื่อเลี้ยงชีพตามสมควร (เช่น ซื้อขนม เครื่องเขียน)
    (4) ทำพินัยกรรม เมื่ออายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ ถ้าอายุไม่ครบ 15 ปีบริบูรณ์ พินัยกรรมตกเป็น “โมฆะ” (ไม่มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย)

    #กฎหมายน่ารู้ #เด็ก #ผู้เยาว์ #สัญญา #นิติกรรม #พ่อ #แม่ #ผู้ปกครอง #คดีแพ่ง #สำนักงานกิจการยุติธรรม #ชื่นใจคนไทยรู้กฎหมาย #รุ้กฎหมายไว้ใช้กฎหมายเป็น

  • กฎหมายน่ารู้ 在 Drama-addict Facebook 的最讚貼文

    2020-07-15 16:30:55
    有 2,025 人按讚


    จากสำนักงานกิจการยุติธรรมครับ เรื่องน้องขมพู่น่ะ

    #ใครฆ่าหนู..? (ตอน 1)
    ข่าวดังตอนนี้ คงหนีไม่พ้นเรื่อง ด.ญ. คนหนึ่ง อายุเพียง 3 ขวบที่หายออกไปจากบ้าน.. ต่อมาพบเป็นศพอยู่บนภูเขาสูงห่างจากบ้านขึ้นไปราว 3 กิโลเมตร..
    ตอนแรก ผมก็สนใจนะครับว่า เรื่องราวเป็นอย่างไร... ก็เลยติดตามดูข่าวทางสื่อมวลชนต่างๆ...

    #ข้อเท็จจริง ในฐานะสื่อที่ควรนำเสนอโดยไม่ชี้นำสังคม.. คือ ข้อเท็จจริงดิบๆ ที่ไม่ต้องวิเคราะห์...
    เพราะประชาชนที่ติดตามข่าวคงวิเคราะห์ ติชมตามปกติวิสัยได้เอง....แต่สื่อ ก็ติดตามนำเสนอข่าวนี้ทุกวันติดต่อกันนานนับเดือน... จนไม่มีข้อมูลดิบอะไรจะนำเสนออีกแล้ว...

    #สื่อ บางช่องก็เลย เริ่มวิเคราะห์ข้อเท็จจริงในคดีเสียเอง.. ไม่ก็หาข้อมูลที่อาจจะชี้นำผลของคดีล่วงหน้า..
    ทั้งที่ ความจริงแล้ว.. ควรปล่อยให้เป็นบทบาทของพนักงานสอบสวนในการรวบรวม #พยานหลักฐาน...

    หากสื่อต้องการช่วยเหลือ #พนักงานสอบสวน ก็ควรแจ้งข้อมูลที่เกี่ยวกับพยานหลักฐานให้พนักงานสอบสวนทราบ.. ไม่ใช่มาเปิดเผยต่อสาธารณะ..
    ในต่างประเทศ ข้อมูลคดีที่สื่อนำเสนอเป็นข่าว จะต้องเป็นข้อมูลที่ได้มาโดยเปิดเผยจากพนักงานสอบสวนเท่านั้น..

    แต่ทุกวันนี้.. สื่อรวบรวมพยานหลักฐาน.. ไปตรวจที่เกิดเหตุ... ไปสอบถามพยานเอาเอง...
    ไปสอบถาม ซักไซ้ #พยาน ไม่ว่าจะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับคดี... ใช้ #คำถามนำ บ้าง... ใช้ #คำถามชี้แนะ บ้าง... ใช้ #คำถามปลายเปิด บ้าง ปลายปิดบ้าง...ยิ่งกว่าทนายความซักค้านพยานในศาลเสียอีก...
    • ถามเขาจน บางครั้ง.. ราวกับว่า ผู้ถูกถามไม่มีสิทธิในความเป็นส่วนตัว..
    • ถามจน บางครั้ง ผู้ถูกถามรู้สึกว่า ตนเองตกเป็นจำเลยไปก่อนที่จะถูกตำรวจแจ้งข้อหาเสียอีก...
    • ถามจน บางครั้ง เหมือนเป็นการขุดคุ้ยเรื่องส่วนตัวของพยานออกมาตีแผ่ให้สังคมรับรู้...
    • ราวกับ #พยานถูกเปลื้องผ้าต่อหน้าสื่อ ทั้งที่เรื่องนั้นอาจไม่เกี่ยวกับคดีเลยและเป็นเรื่องส่วนตัวเขาล้วนๆ..

    บางที ก็ถามจน พยานสับสน หวาดระแวงกันเอง.. ถามจนทำให้สังคมเกิดสงสัยใครต่อใคร มั่วไปหมด.. ซึ่งเสี่ยงต่อการทำให้ผู้บริสุทธิ์ตกเป็นแพะอย่างยิ่ง...แม้ตำรวจจะไม่สนใจข้อมูลส่วนนี้.. แต่สังคมสนใจมากก..

    ทำให้คนที่สื่อชี้นำให้สงสัยตกเป็น #จำเลยสังคม ถูก #ดูหมิ่นเกลียดชัง ไปได้ภายในข้ามคืนเดียว...และบางที ก็ถามจน.. ครอบครัวเขาแตกแยก.. จนญาติพี่น้อง คนในหมู่บ้านทะเลาะเบาะแว้งกันจนขาดความสงบสุขไปในบัดดล...

    ใครจะเป็นอย่างไร ก็ไม่ทราบนะ... แต่สื่อก็ทำหน้าที่แบบตรงไปตรงมา และไร้ซึ่งชีวิตจิตใจ... เพราะต้องทำหน้าที่เสาะหาข้อมูลมาให้มากที่สุด...
    ส่วนผลกระทบจะเป็นอย่างไรนั้น ไม่ใช่หน้าที่... ไม่ต้องรับรู้ ขอเพียงได้ข้อมูลมาทำข่าวแข่งกันทุกวันๆก็พอ..
    แม้จะมี #กฎหมายเรื่องละเมิดอำนาจศาล บังคับห้ามสื่อลงข่าวชี้นำศาล... ชี้นำพยาน... หรือชี้นำประชาชนในคดีที่ได้ฟ้องศาลแล้ว...
    และที่ผ่านมา สื่อก็ทราบดี จึงมักจะยุติการทำข่าวแบบชี้นำทันทีที่มีการฟ้องคดี... ซึ่งผมก็ดีใจนะที่ #สื่อมวลชนมีความรู้ด้านกฎหมาย ด้วย...

    แต่การชี้นำผลคดีล่วงหน้าก่อนมี #การฟ้องคดี ทั้งที่รู้ว่า อย่างไรเสีย เรื่องนี้ต่อไป ก็ต้องเป็นคดีขึ้นสู่ศาลแน่ๆ..
    มันก็คือการชี้นำสังคมก่อนศาลมีคำพิพากษานั่นเอง..
    คู่ความ.. พยาน.. และผู้พิพากษา ที่ติดตามข่าว ก็อาจถูกอิทธิพลสื่อครอบงำ ชี้นำให้เชื่อในข้อเท็จจริงไปตั้งแต่ยังไม่เริ่มสืบพยาน..

    #นักกฎหมายสายตัวบท... อาจบอกว่า... สื่อทำได้ ไม่ผิดกฎหมาย... เพราะกฎหมายเขียนไว้ว่า "สื่อที่ชี้นำคดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณาเท่านั้น" ที่เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล..
    ในเมื่อยังไม่มีคดีขึ้นสู่ศาล เพราะอัยการยังไม่ฟ้อง.. "สื่อก็ไม่มีความผิดที่ไปชี้นำสังคม.."

    แต่นักกฎหมายสายที่เชื่อมั่นว่า ความยุติธรรมสำคัญกว่าตัวบทนั้น เขาบอกว่า.. “เจตนารมย์ของกฎหมายนั้น ไม่ต้องการให้ใครมีอิทธิพลเหนือความคิดเห็นของศาลและของพยานที่จะมาเบิกความ..
    เพราะอาจเป็นการแทรกแซงให้เกิดอคติ ทำให้เสียความเป็นธรรมได้...

    • ดังนั้น #การชี้นำ ไม่ว่า #ก่อนฟ้อง หรือ #ระหว่างพิจารณาคดี ก็เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลได้เช่นเดียวกัน”
    จำได้ว่า เมื่อสักเกือบ 10 ปีก่อน ผมเคยไปบรรยายกฎหมายเรื่อง #สิทธิของเหยื่อ ให้สื่อมวลชนฟัง น่าจะเป็นที่ #สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ แห่งประเทศไทย..
    ได้พูดคุยกับ #สื่อมวลชน หลายคน ทำให้ทราบว่า.. สื่อมวลชนส่วนใหญ่นั้น ไม่รู้กฎหมายและขั้นตอนดำเนินคดี..
    • นับเป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่ผู้จัดงานให้ความสำคัญ จัดเวทีให้ความรู้ด้านกฎหมายแก่สื่อมวลชน..
    ผมเห็นว่า.. สื่อมวลชลนั้น มีหน้าที่ #นำเสนอข่าว และมีความสามารถที่จะชี้นำสังคมไปในทางที่ดีได้..
    หากสื่อมีความรู้กฎหมาย.. นอกจากสื่อจะไม่ทำผิดกฎหมายแล้ว.. สื่อยังจะ #ถ่ายทอดความรู้กฎหมาย ที่ถูกต้องให้แก่สังคมได้ด้วย..

    ถ้าสื่อมีความรู้กฎหมายพื้นฐานที่ประชาชนควรรู้... น่าจะมีประโยชน์ต่อสังคมอย่างมหาศาลนะครับ..
    ฝากผู้เกี่ยวข้องไว้ด้วย..

    • คราวต่อไป ตอน 2 ของเรื่อง #ใครฆ่าหนู.. ? จะนำเสนอว่า มี "กฎหมายอะไรที่เกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่ของสื่อ" ในเรื่องนี้บ้าง...
    ------------------------------------------------------------------
    ที่มา : ขอขอบคุณ ดร.ธีร์รัฐ ไชยอัคราวัชร์ ที่ถ่ายทอดความรู้ในเรื่องกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และอนุญาตให้สำนักงานกิจการยุติธรรมได้เผยแพร่ให้ประชาชนได้ความรู้ต่อไปครับ

    #บทความ #กฎหมาย #กฎหมายน่ารู้ #พยานหลักฐาน #น้องชมพู่ #ข่าววันนี้ #ข่าวดัง #สื่อ #ข่าวน้องชมพู่ #สถานีโทรทัศน์ #กสทช #คดีน้องชมพ่ #คดีอาญา #saveลุงพล #สำนักงานกิจการยุติธรรม #ชื่นใจคนไทยรู้กฎหมาย #รู้กฎหมายไว้ใช้กฎหมายเป็น

你可能也想看看

搜尋相關網站